หนุ่มเผยเทคนิคเลี้ยง "แมงดานา" ในบ่อดิน ลงทุนน้อย แต่กวาดเงิน 3 หมื่นบาทต่อเดือน

LIEKR:

สุดยอดไปเลย!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        "แมงดานา" เป็นอีกหนึ่งอาหารยอดนิยมของคนไทยทุกภาค เจ้าแมงดานาตัวน้อยนี้มันสามารถสร้างรายได้ให้กับคนเลี้ยงได้สักแค่ไหนกัน และคำถามต่าง ๆ ก็เริ่มเกิดขึ้นในหัวผม และอดไม่ได้ที่จะหาข้อมูลมาให้เพื่อน ๆ ได้ศึกษาไปพร้อม ๆ กัน 

        มาดู วิธีการเลี้ยงแมงดานา แมลงเศรษฐกิจ สร้างรายได้งาม กันครับ

 

Sponsored Ad

 

ทำไมต้องเป็นแมงดานา ? 

        สิ่งแรก ๆ ที่ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ ก็คือ ทำไมต้องเป็นแมงดานา มีอีกตั้งเยอะ ๆ ตั้งแยะ ที่ให้ทำ ทั้งจิ้งหรีด เห็ด ดักแด้ พอค้นหาข้อมูลดูสักหน่อยก็ต้องบอกว่า แมงดานานี่ราคาไม่ใช่เล่น ๆ นะครับ ขายกันเป็นตัวไม่ต้องชั่งกิโล ราคาก็อยู่ราว ๆ 7-12 บาท โดยตัวผู้ที่มีกลิ่นหอม (บางคนบอกว่าฉุน) ราคา 10-12 บาท ส่วนตัวเมีย อยู่ที่ 7-10 บาท ระยะเวลาจากแรกเกิดจนถึงส่งขายใช้เวลา 30-45 วัน นั่นหมายความว่า ต้องเลี้ยง 2,500 ตัว เพื่อให้มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท อืม…น่าคิด ๆ

 

Sponsored Ad

 

แมงดานาโตในที่แบบไหน ?

        การเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงแมงดานา ขนาดบ่อสำหรับเลี้ยงแมงดานา มีความลึก 1 เมตร ขอบบ่อสำหรับให้แมงดานาขึ้นมาพักจากน้ำ กว้างจากบ่อเลี้ย 1 เมตร ก้นบ่อและปากบ่อควรทำมุม 45 องศาหรือมากกว่าเพื่อให้แมงดานาปีนขึ้นจากน้ำได้ง่าย ขนาดของบ่อควรเป็น 4 เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวเป็นสองเท่าของความกว้าง(อย่างน้อย 2 เมตร) ปริมาณน้ำในบ่อ ควรลึก 35-80 เซ็นติเมตร ปรับสภาพบ่อให้เหมือนธรรมชาติมีต้นไม้บ้าง และมีการเตรียมที่วางไข่ให้แมงดานาด้วย

 

Sponsored Ad

 

        ปีนหนีไป และป้องกันพวกนก ไก่ เป็น ฯลฯเข้าไปทำความเสียหายให้กับธุรกิจของเราด้วย มุงหลังคาให้สามารถกันแดด กันฝนได้ ไม่ควรใช้สักกะสีมุงหลังคา เพราะจะทำให้อากาศร้อนเกินไป ควรใช้ หญ้า หรือ กระเบื้องจะดีกว่าครับ

แมงดานากินอะไร ?

        อาหารของแมงดานา เป็นสิ่งที่หาได้ตามธรรมชาติ(หรือตลาดก็มีขาย) ได้แก่ ลูกปลาตัวเล็ก ๆ ลูกอ๊อด กุ้ง (ห้ามใช้ลูกคางคกเพราะมี พิ ษ )

ต้องเลี้ยงเท่าไหรถึงจะพอทำรายได้ ?

 

Sponsored Ad

 

        ในระยะแรก ๆ ให้ทดลองเลี้ยงดูก่อน ให้ทดลองที่ 10-20 คู่(ตัวผู้กับตัวเมีย ซึ่งบางครั้ง สามารถใช้ ตัวผู้หนึ่งตัว ต่อตัวเมีย 5 ตัวก็ได้ แบบนี้ค่อยสมกับเป็นแมงดาหน่อยเนอะ) ซึ่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์แต่ละรุ่นสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครับในระยะห่างกัน 1 เดือน ซึ่งพอครบ 3 ครั้งก็สามารถจับขาย และเลือกลูก ๆ ที่โตมาทำเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์รุ่นต่อไปแทน

        การวางไข่แต่ละครั้งของแม่แมงดานาจะอยู่ที่ประมาณ 100-200 ฟอง ซึ่งการเลี้ยงแม่พันธุ์ 20 ตัวก็สามารถให้ลูกแมงดาได้ 2,000-4,000 ตัวต่อการเลี้ยงหนึ่งครั้งเลยทีเดียว 

 

Sponsored Ad

 

        ดูแล้วไม่ยาก และไม่นานเกินไปแล้วใช่ไหมละครับกับผลตอบแทนระดับ 30,000 ต่อเดือน

ต้องดูแลอย่างไรบ้าง ?

 

Sponsored Ad

 

        การดูแลแมงดานา ไม่ได้ยากเย็นเลยนะครับเพราะว่าแมงดานาเป็นสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติของบ้านเราอยู่แล้ว จึงไม่ต้องห่วงเรื่องอุณหภูมิน้ำ ภูมิอากาศ แต่ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือ

        1. การถูกรบกวนจาก คน สัตว์เลี้ยง และแสงไฟ เพราะสิ่งเหล่านี้จะรบกวนการเจริญเติบโต และการพักผ่อนของแมงดานาได้

Sponsored Ad

        2. ความสะอาดของน้ำ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก ๆ 7 วัน หรือหากเริ่มมีกลิ่นเหม็น เก็บเศษอาหารที่ที่ลูกแมงดากินไม่หมด

        3. เห็บหรือไร จะมากัดแมงดาหากว่าน้ำสกปรก แมงดานามี ศั ต รู ตามธรรมชาติไหม ? แน่นอนครับว่า สัตว์ทุกชนิดย่อมมี ศั ต รู ตามธรรมชาติ และแมงดานาก็ไม่เว้น ยกตัวอย่างเช่น

        3.1 ดมจะคอยกัดแมงดานา จน ต า ย และคอยกัดกินไข่แมงดา หากว่าสามารถเข้าถึงได้

        3.2 แมงดานาเป็น ศั ต รู กันเองด้วย หากว่ามีอาหารไม่เพียงพอ ก็ทำให้ตัวอ่อนกินกันเองได้

        3.3 เห็บจะกัดตามตัวของแมงดานาขนาดใหญ่ ซึ่งมันจะดูดกิน เ ลื อ ด ของแมงดานาจน ต า ย ได้ ตัวเห็นจะมีลักษณะเหมือนไข่เล็ก ๆ สีน้ำตาลเกาะตามท้องของแมงดา การแก้ไขให้เปลี่ยน้ำให้บ่อยขึ้น ลดจำนวนแมงดาต่อบ่อให้น้อยลง

        3.4 ตัวทาก ลักษณะคล้ายปลิง ทำให้แมงดาโตได้ไม่เต็มที่

การจับแมงดานา

        1. ใช้มือจับ

        2. ใช้สวิงจับหรือช้อนตามไม้น้ำ

        3. ใช้แสงไฟล่อ ติดตั้งหลอดแบล็กไลต์บนเสาไม้ไผ่สูง ๆ ใช้ตาข่ายขึง กั้นให้สูงแมงดาจะมาเล่นไฟ

        4. ปัจจุบันมีเครื่องมือจับแมงดานาแบบพื้นบ้านซึ่งเป็นผลงานการคิดค้นของจ่าสาย ศรีสมุทร สภอ.นาแก จังหวัดนครพนม โดยการใช้สังกะสีแผ่นเรียบมาตัดต่อบัดกรีให้เรียบร้อยเป็นกรวยปากกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เมตร ความสูงของกรวย 1 เมตร และด้านล่างทำเป็นท่อกลวงขนาดกระป๋องนม ยาวประมาณ 30 ซม. 

        การติดตั้งเครื่องมือให้เลือกสถานที่ใกล้แหล่งน้ำ โดยตั้งเสาสูงประมาณ 6 เมตรติดหลอดแบล็กไลต์ไว้ล่อแมงดา ด้านล่างติดตั้งกรวยสังกะสีหงายปากกรวยขึ้น มีไฟนีออนสีฟ้าล่อไว้อีกดวงหนึ่งที่ปากกรวยนั้น ส่วนด้านล่างสุดใช้ถุงปุ๋ยที่ไม่ขาดทะลุสวมเข้าที่ท่อกลวงด้านล่างผูกติดให้แน่น ซึ่งแสงจากหลอดแบล็กไลต์จะล่อแมงดาให้มาที่นี่ ส่วนแสงสีฟ้าจากหลอดนีออนเมื่อสะท้อนจากปากกรวยสังกะสีจะดูคล้าย ๆ กับแหล่งน้ำขนาดเล็ก ดึงดูดใจให้แมงดาบินลงกรวยในที่สุด ซึ่งการจับด้วยวิธีนี้สะดวก เพราะเราไม่ต้องนั่งเฝ้า รอไว้ดูตอนเช้าเลยทีเดียว

การนำแมงดามาปรุงอาหาร

        1. ไข่แมงดานา นำมาย่างไฟหรือกินสด ๆ

        2. ตัวเต็มวัย ตัวเมียชุบแป้งทอด ทำแกงคั่วแมงดานา ตัวผู้มีกลิ่นหอมทำให้เพิ่มรสชาติอาหาร นำมาทำน้ำพริกแมงดา แจ่วแมงดานา น้ำพริกปลาร้า น้ำปลาแมงดา หรือดองแช่น้ำปลาไว้ขายราคาแพง (ตุลาคม-มีนาคม)

ชมคลิป..

จากคุณ Aa Experiments

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<

ข้อมูลและภาพจาก taibann

บทความที่คุณอาจสนใจ