รองเท้าราคาถูก ขึ้นห้างปลอมเป็นแบรนด์หรู จากคู่ละ 600 เป็น 20,000 แต่คนกลับแห่ซื้อไม่ขาดสาย!

LIEKR:

รองเท้าราคาถูก ขึ้นห้างปลอมเป็นแบรนด์หรู จากคู่ละ 600 เป็น 20,000 แต่คนกลับแห่ซื้อไม่ขาดสาย!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

        วันนี้รองเท้าแบรนด์ดังราคาเป็นมิตรอย่าง Payless ออกมากลั่นแกล้งครั้งใหญ่ในแคลิฟอร์เนีย โดยการปลอมตัวเป็นแบรนด์รองเท้าหรูที่อัปราคาขึ้นมากว่า 30 เท่า!!

        แบรนด์ Payless สำหรับชาวอเมริกันนับว่าเป็นแบรนด์รองเท้าที่มีราคาไม่สูง แต่ล่าสุดทาง Payless ได้ซื้อต่อร้าน Armani แห่งหนึ่งในแซนตามอนิกา แล้วเปิดเป็นร้านรองเท้าสุดหรูในชื่อว่า Palessi

        มีการจัดงานเปิดร้านอยู่เล่นใหญ่ ดูยังไงๆ ก็แบรนด์หรูดูแพงชัดๆ

        ผู้คนที่เข้ามาชมในร้านนี้ก็จะคิดว่าเป็นร้านรองเท้าแบรนด์หรูน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว โดยรองเท้าแฟชั่นสวยงามในร้านแท้จริงก็เป็นรองเท้าของแบรนด์ Payless ปลอมตัวมานั่นแหละ (มีการปรับเปลี่ยนนิดหน่อยจะได้เนียนๆ)

        ที่พีกที่สุคก็คือเรื่องของ “ราคา” นี่แหละ เพราะสินค้าพิเศษของร้านก็คือรองเท้าผ้าใบราคา 19.99 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 660 บาท) ถูกนำมาวางขายด้วยราคา 640 ดอลลาร์ หรือราว 21,100 บาทเลยทีเดียว!

 

        เหล่าผู้นำแฟชั่นทั้งหลายต่างก็หลงกล Payless กันถ้วนหน้า คิดว่าสิ่งที่พวกเขาซื้อคือผลงานชั้นยอดราคาแพงจากดีไซเนอร์ชั้นนำ จึงซื้อกันไปมากมาย

        แต่สุดท้าย ผู้บริโภคทั้งหลายก็ไม่ได้เสียอะไรเลย เพราะทาง Payless ได้นำเงินมาคืนแถมยังมอบรองเท้าของพวกเขาให้กับผู้บริโภคไปแบบฟรีๆ อีกด้วย

        สุดท้าย Palessi แบรนด์หรูปลอมๆ นี้ก็กลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้นำแฟชั่นอย่างมาก เพราะพวกเขาวิจารณ์กันออกมาว่าเนื้องาน ดีไซน์ และคุณภาพของรองเท้านั้นยอดเยี่ยม ไม่แพ้แบรนด์หรูราคาแพง

        และหลังจากแผนการตลาดชั้นยอดแสนแยบยลของ Payless ครั้งนี้ประสบความสำเร็จ พวกเขาก็เฉลยว่าแท้จริง Palessi ก็คือ Payless นั่นเอง!

ชมคลิปกันเลยว่า ผู้คนมี Reaction กับการกลั่นแกล้งของ Payless อย่างไรบ้าง

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก <<<

--------------

ลูกค้าส่วนมากดูจะชอบรองเท้าของ Palessi (Payless) นะเนี่ย

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก <<<

        อย่างไรก็ตามการกระทำของ Payless ครั้งนี้ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันบนสังคมออนไลน์ ส่วนหนึ่งมองว่ามีแผนการตลาดที่ดี และเป็นการสะท้อนปัญหาการค้าแบบบริโภคนิยมไปด้วย แต่อีกฝ่ายกลับมองว่าเป็นการสนับสนุนระบบบริโภคนิยมให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลและภาพ จาก catdumb / boredpanda