LIEKR:
การบำบัดนิ้วล็อค ที่สำคัญที่สุดคือการบริหารนิ้วมือ เพื่อให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น แช่น้ำอุ่นมากๆและใช้น้ำมันหอมระเหยนวดคลึงตามนิ้วมือ ฝ่ามือทั้งด้านหน้าและหลังรวมถึงข้อมือช่วยบรรเทาอาการได้ดีค่ะ
นิ้วล็อค ปัญหาของคนใช้มือ หรือนิ้วบ่อยๆ หยิบจับสิ่งของ หรือใช้อุปกรณ์ เช่น อาชีพครูที่ต้องจับปากกาหรือชอล์กเขียนกระดาษ ช่างตัดผมที่ต้องใช้มือ นิ้ว ในการจับกรรไกร แม่ค้าส้มตำที่ต้องใช้มือกำสากตำครก และแม่บ้านที่ต้องไปจ่ายตลาด ใช้มือหิ้ว จับ ถุงพลาสติกหรือตะกร้า ฯลฯ
Sponsored Ad
อาชีพทั้งหมดนี้ล้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อคทั้งหมด หากไม่ระวังหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงอริยบถหรือการเคลื่อนไหวนะครับ
โรคนิ้วล็อค
Sponsored Ad
คือ โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบ ซึ่งเกิดจากการหนาตัวขึ้นของปลอกหุ้มเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นลำบาก จนทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างเส้นเอ็นกับปลอกหุ้ม ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบ และปวด
สำหรับคนที่เป็นนิ้วล็อคอาการเริ่มแรก จะมีอาการปวดบริเวณโคนข้อนิ้วมือ นานๆเข้าเริ่มมีอากรปวดมากขึ้น ขยับนิ้วมือ หรือกำมือไม่ได้ มีอาการเกร็งข้าง เหยียดออกไม่ได้ จนทำให้มีอาการบวม แดงร้อน ตามมา
ถ้าให้ดีนวดเลยขึ้นมาที่กล้ามเนื้อที่แขนด้วยนะคะ จะได้ป้องกันอาการเอ็นข้อมืออักเสบ สาเหตุชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้และนิ้วกลาง ใช้ท่าบริหารเดียวกันได้ค่ะ
Sponsored Ad
* ท่าที่ 1 ใช้นิ้วโป้งบีบดินน้ำมันให้ชิดติดนิ้วชี้
* ท่าที่ 2 ใช้นิ้วโป้งหนีบดินน้ำมันดันชิดนิ้วชี้
* ท่าที่ 3 ใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง ดึงดินน้ำมัน
Sponsored Ad
* ท่าที่ 4 ใช้มืองอเป็นตะขอจิกดินน้ำมัน จิกปล่อยๆ
* ท่าที่ 5 ใช้มือบีบกดดินน้ำมัน บีบปล่อย
* ท่าที่ 6 ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ บีบปล่อยดินน้ำมัน
* ท่าที่ 7 ใช้ดินน้ำมัน ดึงนิ้วชี้ขึ้นลงๆโดยนิ้วต้องตึง
* ท่าที่ 8 ใช้นิ้วตัดดินน้ำมัน ลักษณะเหมือนกรรไกร
* ท่าที่ 9 ใช้นิ้วแผ่ดินน้ำมัน ให้ยืดเหมือนพิซซ่า
นอกจากนี้ยังมีวิธีง่ายๆ แก้ นิ้วล็อค ใน 10 นาที
วิธีการง่ายๆ ที่แพทย์แผนไทย นิยมใช้รักษาและป้องกันโรคนิ้วล็อค ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ง่าย และปลอดภัยด้วย
Sponsored Ad
แช่น้ำอุ่น 5 นาที การใช้น้ำอุ่นหรือความร้อน ช่วยทำให้การปวด การอักเสบของกล้ามเนื้อ และนิ้วมือลดน้อยลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
วิธีทำ
นำไพล ขมิ้นชัน มะกรูด หั่นพอหยาบๆ ต้มลงในน้ำเดือด 15 นาที ยกขึ้น นำมาผสมน้ำเย็น จนกว่าจะอุ่นๆ แล้วใช้มือข้างที่มีอาการแช่ลงในน้ำอุ่น หรือใช้ทั้งสองมือก็ได้ แช่ไว้นาน 5- 10 นาที จากนั้นให้ใช้ผ้าขนหนูเช็ดให้แห้ง หรือพันไว้ เพื่อรักษาอุณหภูมิไว้ไม่ให้เย็นเฉียบพลัน แนะนำให้ทำทุกวันในตอนเช้า
นวดมือ 5 นาที
Sponsored Ad
การนวดมือเป็นสิ่งที่สำคัญช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ระบบไหลเวียนเลือดนำอาการไปเลี้ยงเซลล์ที่ต้องการได้ สำหรับจุดที่ต้องเน้นในการนวด คือ
จุดที่ 1 บริเวณแขนเหนือข้อมือ 2 นิ้ว (โดยการใช้สองนิ้วมือทาบ) แล้วใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 2,3 บริเวณเนินอุ้งมือที่สูงสุด ทั้ง 2 ข้าง ใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 4 บริเวณกึ่งกลางฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 5 บริเวณข้อนิ้วมือ ทุกข้อ ใช้นิ้วโป้งกดดันข้อนิ้วมือเข้าจุดศูนย์กลางข้อทั้ง 4 มุม (ล่างซ้ายขวา และบนซ้ายขวา) กดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
Sponsored Ad
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ท่าการบริหารยึดเหยียดนิ้วมือร่วมด้วย โดยการกำมือ แบมือ 10 ครั้ง ก็ได้เช่นกัน ยังไงก็ลองทำกันดูนะครับ แล้วมาแชร์ประสบการณ์กันนะคะ
ข้อมูลและภาพจาก chonburipost/goodlifeupdate