บริษัทผลิตชอล์กญี่ปุ่น ร้อยละ 70 ของพนักงาน เป็นผู้ผิดปกติทางสติปัญญา

LIEKR:

สุดยอดค่ะ บริษัทสร้างสุขที่แท้จริง

    บริษัทเกือบทุกบริษัท ต่างก็เลือกคัดพนักงานที่มีคุณสมบัติ ตรงตามความต้องการของงาน จากศักยภาพหรือลักษณะบางอย่าง ที่เป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า หากเลือกใช้คนให้ถูกกับงานก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพจากการทำงานสูงสุด แต่บริษัทนี้กลับเลือกพนักงานส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีความแตกต่างทางสติปัญญาเข้าทำงาน

    บริษัทผลิตชอล์กญี่ปุ่นแห่งนี้ เป็นบริษัทเล็กๆ นามว่าโรงงาน Nihon Rikagaku Industry ของคุณ โอยามะ ยาสึอิโระ ที่มีพนักงานไม่มากนัก มีโรงงานอยู่ 2 แห่งตั้งอยู่ที่ Kawasaki และ Hokkaido ก่อตั้งมาแล้วมากกว่า 75 ปี แต่เรื่องที่น่าสนใจ กลับเป็นเรื่องของพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทนี้ เพราะในจำนวนพนักงานทั้งหมด 83 คน มี 65 คนหรือคิดเป็น 70% ของบริษัทเป็นผู้ที่บกพร่องทางสติปัญญา

    แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ โรงงานเเห่งนี้ กลับมีผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีผลกำไรเเละความเจริญก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นทุกปี มีส่วนแบ่งทางการตลาดของชอล์กกว่า 30% ของประเทศ รวมถึงสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ จนได้รับรางวัลด้านผลิตภัณฑ์ระดับประเทศด้วย และยังเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมของผู้จ้างงานบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของญี่ปุ่น ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 300 องค์กร

    แต่ที่หลายคนสงสัยคือ เป็นไปได้อย่างไร ที่คนพกพร่องทางสมองจะสามารถทำกำไรให้กับโรงงานได้ขนาดนั้น ความจริงก็คือ กระบวนการทำงานของโรงงานนี้เป็นลักษณะการทำงานเเบบซ้ำๆ อย่างการติดป้ายต่างๆ บนตัวสินค้า การบรรจุสิ่งของ เเละการทำงานอื่นๆ ซึ่งไม่ต้องอาศัยความคิดที่ซับซ้อนมากนัก

    ซึ่งคนที่มี "สมองปกติ" เวลาต้องทำงานอะไรซ้ำๆ จะทำให้เกิดอาการเหม่อลอยเเละคิดถึงเรื่องอื่นๆได้ง่ายมาก เพราะสมองที่ปกติ จะมีการสร้างจินตนาการเเละขุดคุ้ยความทรงจำเก่าๆ ตลอดเวลา เเละมักจะหมกหมุ่นอยู่กับอดีต หรือ กังวลไปกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึงอยู่เสมอ แต่กับคนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะทำงานซ้ำๆได้อย่างรวดเร็ว และผิดพลาดได้น้อยกว่าปกติมาก 

    ทั้งนี้ คุณโอยาม่า (Oyama) สงสัยมาตลอดว่า ทำไมผู้ทุพพลภาพ ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเหล่านี้ ถึงเต็มใจที่จะมาทำงานในโรงงานแบบนี้ ทั้งๆ ที่เมื่อจบจากโรงเรียนไปแล้ว ในประเทศญี่ปุ่นมีสถานรับเลี้ยงดูพวกเขา สามารถไปอยู่กับหน่วยงานที่รับดูแลหรือสถานรับเลี้ยงผู้ที่มีความบกพร่องก็ได้ น่าจะมีความสุขและสบายกว่าการนั่งรถไฟแน่นๆ มาทํางานแบบนี้ทุกวัน จนวันหนึ่งคุณโอยาม่าไปงานเลี้ยงและเผอิญได้นั่งที่นั่งติดกับพระรูปหนึ่ง เขาเล่าเรื่องเด็กผู้หญิงทั้งสองคนให้พระรูปนั้นฟัง

พระรูปนั้นบอกเขาว่า... “มนุษย์จะรู้สึกมีความสุขมาก ๆ เมื่อพบเหตุการณ์ต่อไปนี้

    1.ได้รับความรักจากผู้อื่น

    2.ได้รับคําชมจากผู้อื่น

    3.รู้สึกว่าตนเองมีประโยชน์แก่ผู้อื่น

    4.รู้สึกว่าตนเองเป็นที่ต้องการของผู้อื่น

และทุกสิ่งที่อาตมากล่าวมานี้เป็นสิ่งที่เด็ก ๆ ได้จากการทํางานที่บริษัทคุณนะ”

    คุณโอยาม่าจึงเข้าใจว่า ความสุขของเด็ก ๆ ไม่ใช่การอยู่ดีกินดี ได้เที่ยวเล่นไปวัน ๆ แต่คือการได้รับความรักและรู้สึกว่าตนมีค่านั่นเอง หลังจากนั้นคุณโอยาม่าก็รับผู้ทุพพลภาพทางสติปัญญาเข้าทํางานที่บริษัททุกปี โดยปรับกระบวนการผลิตให้เรียบง่ายในทุก ๆ จุด เพื่อให้เธอและเขาเหล่านี้เข้าใจและปฏิบัติตามคําสั่งได้ เมื่อทําได้เขาก็ชื่นชม และทุกเย็นหลังเลิกงาน คุณโอยาม่าจะกล่าวขอบคุณพนักงานทุกคน

    ประโยคว่า “วันนี้ขอบคุณเธอมากนะ” อาจเป็นคําพูดธรรมดา ๆ สําหรับคนทั่วไป ยิ่งหากได้ยินทุกวันเราคงรู้สึกเฉย ๆ กับคําพูดนี้ แต่คุณโอยาม่ารู้ดีว่า คําพูดสั้น ๆ เช่นนี้มีความหมายกับพนักงานพิเศษเหล่านี้มากแค่ไหน เด็ก ๆ ยิ้มตอบด้วยท่าทางดีอกดีใจทุกครั้ง

ที่มา : เป็นเลิศและยั่งยืน