"จากนี้ประเทศไทยเราไม่มีวันเหมือนเดิม" ย้อนบทสัมภาษณ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

LIEKR:

ย้อนฟังบทสัมภาษณ์ "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ" จากนี้ประเทศไทยเราไม่มีวันเหมือนเดิม

    ย้อนบทสัมภาษณ์ที่ตราตรึงหัวใจของพสกนิกรไทยทุกคน ครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้สัมภาษณ์กับ BBC เรื่อง ข้อคิดวันพ่อไม่อยู่

    1. จากนี้ประเทศไทยของเรา จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีก อาจมีหลายสิ่งเปลี่ยนไป รอยต่อของคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่อาจชัดเจนขึ้น มันคือวันที่เปลี่ยนผ่านในวันที่พ่อไม่อยู่ ทุกคนมีสิทธิ์เสียใจและควรเสียใจ ทุกคนมี สิทธิ์กลัวและควรกลัว แต่จงตระหนักเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้วยสติปัญญา 

    2. พ่อคือตัวแทนของความพอเพียง เป็นต้นฉบับของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในวันที่ประเทศไทยกำลังถูกปั่นด้วยกระแสความโลภ จงหยิบภูมิปัญญาของท่าน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จดจำหลอดยาสีฟันของท่าน ไว้ จดจำการแต่งกายที่เรียบง่าย ของท่านไว้ อะไรที่ประหยัดได้ จงประหยัด อะไรที่พึ่งพาตนเองได้ จงพึ่งพา อะไรที่แบ่งปันได้ จงแบ่งปันเมื่อยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้แล้ว เราจะพึ่งพาผู้อื่นน้อยลง 

    3. พ่อเป็นผู้ที่มีความเพียรดุจพระมหาชนก ท่านเป็นผู้ว่ายน้ำาข้ามมหาสมุทร โดยไม่ถามว่าเมื่อไรจะถึงฝั่ง ความคิดเช่นนี้ทำาให้ท่านทำงานที่ยิ่งใหญ่ได้ ฝากถึงคนไทย อย่าทำงานด้วยตัณหา อย่าขับเคลื่อนชีวิตด้วยความอยากมี อยากได้อยากเป็น อย่าให้อำนาจวัตถุบังตาจนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี จงขับเคลื่อนชีวิตและการงานด้วย ฉันทะ ความรัก ความเมตตา ด้วยประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เหมือนที่พ่อทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง 

    4. พ่อยืน เคียงข้างคนยากจนเสมอ คนจนอยู่ที่ไหน ท่านก็อยู่ที่นั่น ท่านเดินบุกป่าฝ่าดง ไปเยี่ยมพวกเขาถึงบ้าน เป็นพระราชาผู้อยู่ง่าย กินง่าย ไม่ยึดติดความหรูหรา เมื่อพ่อไม่อยู่แล้ว เรา อย่าหลงลืมปณิธานข้อนี้ อย่าทอดทิ้งคน ยากจนจงหยิบยื่นโอกาสให้ผู้ด้อยกว่า อย่า ใช้ช่องว่างทางกฎหมายซ้ำเติมและเอาเปรียบผู้อื่น 

    5. ไม่มีท่าน เราจะมานั่งทะเลาะกันเหมือนในอดีตไม่ได้ เพราะไม่มีใครจะมาห้ามเราได้ ไม่มีใครอีกแล้วที่เราจะเกรงใจ รับฟังเหมือนกับที่เคยรับฟังท่าน ถ้าทุกฝ่ายไม่คิดถึงข้อนี้ให้มาก ถ้ายังเอาแต่ความคิดของตนเป็นใหญ่ ประเทศไทยที่เรารักย่อมตกอยู่ฐานะอันตราย เมื่อพ่อไม่อยู่แล้วจงรักและถนอมน้ำใจกันให้มากกว่าที่แล้วมา 

    6. สิ่งที่พ่อทิ้งไว้ ไม่ใช่เพียงอิฐ หิน ปูน ทราย แต่เป็นความรู้ขั้นปรีชาญาณ เราอาจรักษาร่างกายท่านไว้ไม่ได้เพราะนั่นคือกฎธรรมชาติ แต่เราสามารถรักษาภูมิปัญญาของท่านไว้ได้ จงค้นคว้าข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ ฝนเทียมเกิดขึ้นได้อย่างไร กังหันน้ำชัยพัฒนาคืออะไร มันมีความน่าทึ่งยังไงในมิติทางวิศวกรรมการเพาะปลูก โดยไม่พึ่งสารเคมีทำได้อย่างไร การพัฒนาที่ดิน รักษาน้ำ ชุบชีวิตป่าเป็นอย่างไร ทำไมท่านจึงไม่สนับสนุนให้ ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำไมท่านจึงส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักห่มดิน ท่านเคยสร้างรากฐานอันใดไว้ให้วงการเกษตรกรรมของชาติ สิ่งเหล่านี้ควรสนับสนุนให้มีการเล่าเรียนกันเป็นระบบในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย ถ้าเราทำเช่นนี้ได้ ภูมิปัญญาที่ท่านคิดค้นมาหลายสิบปีจะไม่สูญหายไปจากสังคมไทย 

    7. จากนี้ไปจะมีคนอีกมากที่ออกมาแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง อาจมีคนที่ไม่เข้าใจท่าน ออกมาพูดในสิ่งที่เราไม่ชอบจงใช้สติ อดทน ไม่โต้ตอบ เหมือนที่ท่านได้กระทำมาชั่วชีวิต พระพุทธเจ้าตรัสไว้เสมอ ไม่เคยมี สันติภาพใดเกิดจากความรุนแรงและคำาด่าทอ 

    8. พ่อเป็นผู้ค้ำชูศาสนาโดยแท้ ไม่ใช่ด้วยคำพูด หรือแค่เม็ดเงินบริจาค แต่ท่านคือผู้พิสูจน์ธรรมะด้วย กายใจ ในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม ท่านคือนักภาวนาที่หาตัวจับยาก เป็นผู้มีอานาปานสติเป็นวิหารธรรม ทำไมพ่อ ทำงานหนักแต่ยังมีเวลาภาวนา ทำาไมเราทำางานน้อยกว่าท่าน แต่เรากลับอ้างว่าไม่มีเวลา สิ่งนี้ต้องคิดให้มาก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง 

    9. พ่อคือครูผู้ยิ่งใหญ่ ที่สอนด้วยชีวิตและการกระทำ ชีวิตคือธรรมะ และ ธรรมะคือชีวิต ที่ตั้งอยู่ในความธรรมดาที่เกิดขึ้นกับเราทุกคน พ่อกำลังบอกเราว่า จงดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ทำให้ดีที่สุดในวันนี้ จะต้องไม่ติดค้างเสียใจในภายหลัง 

    10. แม้วันนี้พ่อจะไม่อยู่ แต่ขอให้ชาวไทยจงวางใจว่า สถานที่ที่ท่านเดินทางไปนั้น น่าอยู่และงดงามกว่านี้หลายเท่า ท่านคือพระโพธิสัตว์ผู้ผ่านมาสร้างแสงสว่าง การเกิดของท่านในชาตินี้ เป็นการเกิดที่สมศักดิ์ศรี แห่งความเป็นมนุษย์ และเราทั้งหลายควรภูมิใจไปกับท่าน ท่านคงไม่อยากให้เราคนไทย ถูกทับถมด้วยทะเลแห่ง ความเศร้า อย่าทิ้งหน้าที่ อย่าทิ้งการงานและสิ่งต่างๆ ที่รับผิดชอบอยู่ จงตั้งสติให้มั่นคง เป็นกำาลังสมาธิ เป็น ความสว่างเบิกบาน เพื่อน้อมส่งท่านสู่สวรรคาลัยด้วยหัวใจแห่งความรักของเราชาวไทยทุกคน

ที่มา : จดหมายข่าวชมรมข้าราชการอาวุโส กสส. ปีที่ 21 ฉบับที่ 140