หนุ่มโรงงาน "ทำงาน 8 ปี ออมเงินได้ 2.6 ล้าน" พร้อมเผยวิธีจัดการเงินเดือนให้อยู่หมัด!

LIEKR:

จาก "หนุ่มโรงงาน" ลูกชายคนขายยาคูลท์ มุ่งมั่นเก็บเงินจนได้ 2.6 ล้านในแปดปี พร้อมเผยวิธีจัดการเงินเดือนให้อยู่หมัด!

        หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องราวของสาวย าคูลท์ประจำศูนย์รังสิต 5-4 จ.ปทุมธานี “พี่สายันห์” ในวัย 58 ปี หญิงแกร่งที่ “อดทน-อดกลั้น-อดออม” ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี เธอรู้จักแบ่งเงินไว้ซื้อที่ดินมากถึง 60 ไร่ พร้อมกับสอนวิธีออมเงินให้กับลูกชายจนมีเงินเก็บ 2.6 ล้านบาท! (อ่านเพิ่มเติม : สาวใหญ่จบ ป.7 ขายยาคูลท์ เก็บเงินซื้อที่ 60ไร่ สอนลูกดีคิดได้จนมีเงินเก็บ 2.6 ล้าน!)

        เงินล้านสำหรับ “มนุษย์เงินเดือน” อาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ถ้าไม่รู้จักคำว่า “วินัย” และ “รับผิดชอบ” วันนี้เราจะมาเปิดแนวคิดของลูกชายหญิงขายย า คูลท์คนเก่ง ว่าทำอย่างไร ถึงสามารถเก็บเงินได้มากถึง 2.6 ล้านภายในเวลาแค่ 8 ปี ทั้งที่ทำงานโรงงาน

 

Sponsored Ad

 

        “ว่าที่ร้อยตรีธนาพล ธุรีวรรณ์” หรือ คุณอ๊อด บอกว่า “ผมสามารถบอกได้ทั้งหมดนะครับ ผมทำงานมา ปี ตอนนี้อายุ 32 ครับ ผมไม่ได้มีวิธีพิเศษอะไรเลย แต่ขึ้นอยู่กับเรานำเงินเดือนไปใช้ทำอะไรครับ” โดยปัจจุบันนี้เขาทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนเหมือนคนทั่วไป อยู่ในฝ่ายวิศวกรรมเครื่องกลของโรงงานอุสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ย่านรังสิต

        ทว่านิสัยการออมที่ติดตัวมาถึงทุกวันนี้ เขาบอกว่าแม่ของเขาเป็นผู้สอนให้รู้จักกิน รู้จักใช้ และรู้จักเก็บ อย่าฟุ่มเฟือยจนเกินตัว “ท่านบอกว่า ถ้าเราอยากกินหรืออยากได้อะไร แต่สตางค์ไม่พอก็ให้รอต้นเดือน ผมไม่รู้หรอกว่าที่อยากกินแพงแค่ไหน แม่ครับอยากกินนี่ กินนั้น เช่น พิซซ่า ทุเรียน แต่แม่ไม่บอกว่าแพงเลยนะครับ แต่จะบอกว่ารอไปก่อน มีเงินเราค่อยซื้อกิน แปลกดีที่ผมเข้าใจโดยไม่งอแง” เขาจึงมีความอดทนต่อ “กิ เ ล ส ” ที่พุ่งเข้ามาได้อย่างสบาย ๆ ต่างจากหลายคนที่ยังวิ่งไล่ตามให้ทัน กิ เ ล ส ของตัวเอง

 

Sponsored Ad

 

        แต่ช่วงที่เป็นจุดเปลี่ยน คือ การสอบเข้าเรียนชั้น ม.1 รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ และเขาได้เป็นนักบาสตัวแทนโรงเรียน มันเหมือนจุดไฟในตัวเขา จากที่ไม่ชอบตัวเลข แต่ต้องแก้โจทย์ ทำ ล า ย กำแพงสูตรคณิตศาสตร์ จนเริ่มสนุกที่จะเรียนรู้ไปกับการเรียน โดยที่เขาจะได้เงินไปโรงเรียนสัปดาห์ละ 200 บาท ในจำนวน 200 บาทแรกจะเก็บไว้ซื้อขนม เมื่อเริ่มสัปดาห์ใหม่ถ้าเงิน 200 บาทแรกยังเหลืออยู่ ในหัวของเขาจะคำนวนออกมาว่า อีก 200 บาทในสัปดาห์ที่ 2 จะต้องฝากไว้ที่สหกรณ์ทั้งหมด ฉะนั้นในหนึ่งเดือนจะฝากได้สูงสุด 600 บาท เพราะทางโรงเรียนมีอาหารกลางวันจัดให้กินอิ่มอยู่แล้ว

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อครบ 1 ปีเงินที่ฝากไว้ในสหกรณ์ ทางโรงเรียนก็จะสรุปยอดคืนให้กับผู้ปกครองของเด็ก ๆ และทุก ๆ ปีคำถามเดิม ๆ ที่ลูกชายจะต้องตอบแม่คือ “ไม่กินอะไรเหรออ๊อด” ซึ่งคำตอบเดิม ๆ ที่เขาอธิบายให้แม่ฟัง คือ แบ่งเงินอย่างไร ใช้ซื้อขนมเท่าไหร่ ซึ่งหนุ่มคนนี้ยืนยันว่า “ผมไม่ได้ออมเงินเพราะอดนะครับ แค่ผมช่วยแบ่งเบาพ่อแม่ เงินไม่ใช่เงินผม ทุกบาทเป็นเงินท่าน บางครั้งท่านมีปัญหาเรื่องงาน ผมแอบได้ยิน มีอะไรช่วยแบ่งเบา ผมก็จะทำครับ”

        ในขณะที่พ่อกับแม่ของเขาชาว จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้เขา “สายันห์ ธุรีวรรณ์” จบเพียงชั้นป.7 แต่ขวนขวายพัฒนาตัวเองเป็นแบบอย่างให้ลูก ในวัย 40 ปีได้ไปสมัครเรียนที่ กศน. ซึ่งขณะนั้นลูกชายกำลังเรียนชั้นม.ปลาย เขาจึงกลายเป็นผู้สอนภาษาอังกฤษให้แม่ แต่วิชาคณิตศาสตร์ “บวก-ลบ-คูณ-หาร” แม่ของเขาถนัดอยู่แล้ว ส่วนพ่อของเขา “อนุรักษ์ ธุรีวรรณ์” อายุ 61 ปี จบชั้นป.4 จึงเลือกทำงานในแผนกฝ่ายผลิต ของโรงงานแห่งหนึ่ง

 

Sponsored Ad

 

        “ผมจำได้...ผมเอ็นทรานซ์เป็นรุ่นสุดท้าย แต่ก่อนเลือกได้ 3 วิชาเองนะ ผมเลือกวิศวะ 2 อันดับ และประมงอันดับ 3 สุดท้ายได้อันดับ 1 เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต ม.เกษตรศาสตร์”

        เขาพูดอย่างภาคภูมิว่า ที่เขาทำได้ก็เพราะ...พ่อกับแม่ ทั้ง 2 ท่านสอนให้เขามี “วินัย” และรู้จัก “รับผิดชอบ” โดยเหตุผลที่เขาพูดออกมาเช่นนั้น ไม่ทำให้แปลกใจเลยถ้าได้รู้ว่า สมัยก่อนพ่อของเขาจะใช้เงินเพียง 20 บาท/วัน เพราะห่อข้าวไปกินที่โรงงาน และจะซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ออกไปพร้อมกับแม่ ซึ่งหลายท่านอาจจะสงสัยว่า รถมอเตอร์ไซค์ของสาวยาคูลท์ จะนั่งไปกัน 2 คนได้อย่างไร ในเมื่อมีถังย าคูลท์วางอยู่ท้ายรถมอเตอร์ไซค์

 

Sponsored Ad

 

.

        เขาอธิบายว่า สมัยก่อนตัวถังย าคูลท์จะต้องไปติดตั้งที่ศูนย์จำหน่าย ดังนั้นพ่อของเขาจึงสามารถนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ไปพร้อมกับแม่ของเขาได้ และในจำนวนเงิน 20 บาทนั้น ถ้าพ่อของเขาไม่ซื้ออะไรก็จะเหลือกลับบ้านเท่าเดิม เพราะขากลับหลังเลิกงานจะมีรถของโรงานไปส่งละแวกใกล้บ้าน

        ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยเขาเลือกนั่งรถเมล์จากรังสิต 18-20 บาท ใช้เงินซื้อข้าวอย่างมากก็ 2 มื้อ ทำให้สามารถอยู่ได้ด้วยเงินวันละ 100 บาท แต่ช่วงนี้เขาก็ยังเจียดเงินเก็บออมเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการออมไว้เพื่อจะได้ไม่ต้องขอสตางค์แม่ เพราะจริง ๆ ตอนนั้นครอบครัวเขาก็ไม่ได้รวย ยังใช้เงินเดือนชนเดือนเหมือนอีกหลายครอบครัว

 

Sponsored Ad

 

        กระทั่งวันที่เขาจบการศึกษา เขาเริ่มงานเป็นเซลล์ขายสินค้าให้กับโรงงานต่าง ๆ ราว 4 เดือน จากนั้นปี 54 น้ำท่วมใหญ่ลาออกมาสมัครเป็นพนักงานฝ่ายวิศวเครื่องกลของโรงงานอุสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นโรงงานเดียวกับที่พ่อทำอยู่ ใกล้บ้านและประหยัดค่าเดินทาง

        สำหรับวิธีที่เขาสามารถออมเงินล้านได้สำเร็จในวัย 30 ปี โดยเงินเดือนจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

Sponsored Ad

        1. กำหนดค่าใช้จ่ายที่จำเป็น 4-5 พัน เพื่อใช้จ่ายในกิจวัตรประจำวัน

        2. เงินใช้จ่ายพิเศษ (ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย) 4-5 พันบาทมีไว้เพื่ออุ่นใจ เก็บออมเดือนเว้นเดือนก็ได้

        3. เงินออมยามฉุกเฉิน เจ็บป่วย เดือนร้อนต่าง ๆ ซึ่งจะฝากไว้ที่สหกรณ์ของบริษัทจำนวน 3 พันบาททุก ๆ เดือน

        4. เงินเก็บลืม 6 พันบาทต่อเดือน โดยเป็นการออมแบบหุ้น ตั้งแต่ต.ค. ปี 54 จนถึงปัจจุบันก็สามารถนำ 6 พันคูณเข้าไปก็จะทราบตัวเลขกลม ๆ ของเงินสดที่มี

        ในปี 57 พ่อของเขาเกษียณอายุ ตลอดระยะเวลาการทำงานมีเงินออมที่เก็บเป็นหุ้นในบริษัท 1 ล้าน 1 แสนบาท และทุก ๆ สิ้นปีจะได้ดอกเบี้ยราว ๆ 5 หมื่นบาท ส่วนของเขาเฉพาะเงินออมเป็นหุ้นที่จับต้องได้ราว 2.6 ล้านบาท แต่ต้องเข้าใจว่าเขา “ผมไม่ต้องจ่ายค่าที่พัก ไม่มีค่ารถ มีแต่รถมอเตอร์ไซต์” ดังเช่นคำสอนของแม่เขา “ถ้าไม่เก ไม่เล่น ไม่ สู บ ไม่การ พ นั น มีรายได้ไม่มาก แต่ไม่ฟุ่มเฟือย เงินถึงจะเหลือ” นี่แหละลูกไม้หล่นใต้ต้น

        “มันก็เป็นไปได้ที่คนจะมองเคร่งมากเกินไป แต่ผมไม่เคยคิดว่าคนภายนอกจะมองแบบนั้น เวลาผมไปทำงานขึ้นวินมอเตอร์ไซต์ 15 บาท ขากลับรถบริษัทไปส่ง ต่อวินกลับบ้านอีก 10 บาท ถามตัวเองว่าเก็บเพื่ออะไร แรก ๆ ผมแนะนำให้ทำบัญชี จะได้รู้ว่าเราใช้เท่าไหร่จากเงินเดือน เพราะจุดประสงค์การเก็บเงินแต่ละคนแตกต่างกัน”

        ว่าที่ร้อยตรีธนาพล ยังบอกเคล็ดลับระงับกิเลสว่า หากต้องการซื้ออะไรสักอย่าง 1.ให้มองถึงความจำเป็นมาเป็นอันดับแรก 2.คุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียหรือไม่ 3.ซื้อแล้วมีประโยชน์แค่ไหน ตอบโจทย์ความคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องเสียไปหรือไม่ 4.ถ้ารอได้ควรตั้งใจเก็บเงินซื้อ และ 5.ลองจินตนาการว่าได้สิ่งที่ต้องการ เเล้วสิ่งนั้นมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง ชั่งน้ำหนักแล้วค่อยตัดสินใจ

        หนุ่มวิศวเครื่องกล กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมอยากจะฝากข้อคิดไว้สำหรับคนที่ตั้งใจจะออมเงินนะครับ การออมเงินนั้นเหมือนมีชีวิตที่สอง หากวันใดเราสูญเสียทุกอย่างไปเรายังมีโอกาสตั้งตัวได้จากเงินที่เราออมไว้ และถ้าเงินออมนั้นช่วยเราได้ วันนั้นเราจะขอบคุณตัวเองที่เราไม่ลืมที่จะออมเงิน”

ข้อมูลและภาพจาก dailynews

บทความที่คุณอาจสนใจ