อาการข้อไหล่ติด หรือข้อไหล่ติดแข็ง แค่ "3 ท่า" ง่ายๆ แก้ไหล่ติด แถมช่วยบรรเทาอาการปวดตัวได้ด้วย

LIEKR:

ต้องลองหน่อยแล้ว!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

      อาการข้อไหล่ติด หรือข้อไหล่ติดแข็ง มักพบหลังจากมีการปวดของข้อไหล่ ซึ่งอาจเจ็บอยู่เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน เมื่ออาการปวดทุเลาลง จะตามมาด้วยการยกแขนได้ไม่ดีเหมือนเดิม ซึ่งจะรบกวนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่นหยิบของจากหิ้งสูง รูดซิปเสื้อหรือกระโปรงซึ่งอยู่ด้านหลัง หรือดึงกระเป๋าใส่เงินจากกระเป๋าหลังของกางเกง เป็นต้น

สาเหตุที่พบบ่อย

 

Sponsored Ad

 

        - การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิด กล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นขาด กระดูกหัก หรือ ข้อเคลื่อน

        - การใช้ข้อไหล่อย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อข้อไหล่ฉีกขาด

        - การเสื่อมตามธรรมชาติ ของกระดูก กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น

        - โรคข้ออักเสบที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น

        - เส้นเอ็นอักเสบและมีแคลเซี่ยมเกาะซึ่งเมื่อเอ๊กซเรย์ก็จะเห็นหินปูนสีขาวเป็นก้อนที่บริเวณรอบข้อไหล่

        - อาการปวดไหล่ซึ่งเป็นผลของอาการปวดร้าวมาจากที่อื่นหรือการอักเสบบริเวณใกล้เคียง เช่น กระดูกคอเสื่อม ถุงน้ำดีอักเสบ โรคของหัวใจ โรคตับ มะเร็ง เป็นต้น

 

Sponsored Ad

 

    ข้อไหล่ติดแข็ง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการปวดไหล่ ผู้ป่วยก็จะไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่ เมื่อข้อไหล่ไม่เคลื่อนไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็จะเกิดเยื่อพังผืดแทรกในข้อ และเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่ กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงและลีบเล็กลง ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก อาการสำคัญก็คือ ถ้าเคลื่อนไหวข้อไหล่จะปวดมากขึ้น ถ้าอยู่นิ่ง ๆ จะไม่ปวด

ภาพประกอบเนื้อหา

 

Sponsored Ad

 

      การบริหารข้อไหล่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันภาวะข้อไหล่ติด ทาง Thai PBS ได้นำเสนอการบริหารกล้ามเนื้อ 3 ท่าง่ายๆ ช่วยบรรเทาปวดหัว แก้ไหล่ติด โดย ป้าปุ้ม คนสู้โรค มีวิธีดังนี้

      ท่าที่ 1 เอามือแตะที่ราวนมทั้งสองข้าง กดเบาๆ แล้วหมุนแขนเป็นวงกลม สลับกลับขยับเข้า-ออก  ท่านี้จะบรรเทาอาการหัวไหล่ติดกัน แก้อาการปวดจากหัวไหล่ติดได้

 

Sponsored Ad

 

        ท่าที่ 2 เอามือประสานกัน แล้วเหยียดแขนออก ค่อยๆวาดแขนขึ้นไปเหนือศีรษะจนรู้สึกตึง แล้วค่อยๆปล่อยมือแยกออกจากกัน แล้วปล่อยแขนลงเบาๆ  ท่านี้จะบรรเทาอาการเมื่อยหลัง ปวดบริเวณกระดูกสันหลัง บรรเทาอาการปวดไหล่

 

 

Sponsored Ad

 

        ท่าที่ 3 วางมือสองข้างลงบนศีรษะโดยกางนิ้วทั้งสี่ออก ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่จอนผม ใช้นิ้วหัวแม่มือกดรีดจากจอนผมขึ้นข้างบน และลงที่ติ่งหูสลับกัน  ท่านี้จะบรรเทาอาการปวดหัว มึนงง ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

    ทั้งสามท่านี้ สามารถปฎิบัติตามได้ง่าย และทำตามได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย นอกจากนี้ ยังมีข้อปฏิบัติอื่นๆ เพื่อป้องกันภาวะข้อไหล่ติด ได้แก่

 

Sponsored Ad

 

        1.ถ้าปวดมากและทันที ควรพักการใช้ข้อไหล่ และใช้ผ้าพยุงแขนและไหล่ไว้ชั่วคราว 1-2 วัน เวลาลุกนั่งหรือเดิน

        2.ประคบไหล่ด้วยถุงน้ำแข็งเมื่อปวด วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที  หลังจากนั้นจึงประคบด้วยความร้อน

        3.อย่าบีบ นวด หรือดัดข้อไหล่ที่กำลังปวด ควรใช้ยาแก้ปวดทาบริเวณนั้นเบาๆ 2-3 ครั้ง และกินยาแก้ปวด

        4.พอทุเลา อย่าใช้แขนข้างที่ปวดยกหรือหิ้วของหนักๆ

        5.อย่ากางแขน โหนหรือเหนี่ยวนานเกินควร

        6.ถ้าปวดทันที และไม่ทุเลาใน 24 ชั่วโมง ควรพบแพทย์ ถ้าทุเลาพอทน ก็เริ่มบริหารและสามารถใช้ยาแก้ปวดได้

Sponsored Ad

ภาพประกอบเนื้อหา

      หมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อข้อไหล่ตามที่เคยปฏิบัติเรื่อยๆ หลีกเลี่ยงการยกของหนักที่เกินความสามารถของท่าน หลีกเลี่ยงการใช้มือหรือแขนทำงานเหนือศีรษะนานๆ การยกของควรยกให้ใกล้ชิดกับลำตัวและให้งอข้อศอก อย่าอ่านหนังสือหรือดูทีวีในท่านอนคว่ำแล้วใช้ข้อศอกยันรับน้ำหนักตัวไว้นานเกินไป การยืนหรือเดินควรให้ไหล่ ลำตัว ตรงในท่าอกผายไหล่ผึ่ง

แหล่งข้อมูล กายภาพบำบัดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ   

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ข้อมูลและวิดีโอจาก Thai PBSwinnews, LIEKR