สาววัย 38 โบกมือลาชีวิตมนุษย์เงินเดือน กลับบ้านดูแลพ่อแม่ ทำไร่สวนผสม สร้างรายได้ครึ่งล้านต่อปี

LIEKR:

รายได้เฉียดครึ่งล้าน! ด้วยศาสตร์ของพระราชา

        หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ ทำให้วันนี้ “น.ส.พิมพ์ธาดา จำรัส” มีความสุขกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน พร้อมอยู่กับครอบครัวอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา และได้มีเวลาดูแลพ่อแม่ที่อยู่ในวัยชรา

        น.ส.พิมพ์ธาดา จำรัส อายุ 38 ปี อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี เธอมีรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตร ต่อเดือน 30,000-40,000 บาท ซึ่งเธอและสามีนำไปขายเองตามงานต่างๆ 

 

Sponsored Ad

 

        ก่อนหน้านี้ น.ส.พิมพ์ธาดา เคยทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพฯ มา 4-5 ปี จากนั้นกลับมาทำงานที่สหกรณ์นิคมลานสัก จำกัด ในโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ทำได้ไม่นานก็ลาออก เนื่องจากพ่อแม่อายุเยอะ ไม่มีใครดูแล จึงตัดสินใจมาทำอาชีพเกษตรเต็มตัวแทนพ่อแม่

        หลายปีมานี้เธอกับสามีช่วยกันทำไร่นาสวนผสมที่มีพืชผักผลไม้หลากหลาย มีทั้งส้มโอ กล้วยไข่ สับปะรดภูแล มัลเบอร์รี่ และผลไม้นานาชนิด แถมมีนาข้าวและพืชไร่ต่างๆ ด้วย ในเนื้อที่ 100 ไร่ และยังได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วย

 

Sponsored Ad

 

        เกษตรกรสาวรายนี้เล่าว่า ด้วยความรู้ที่เคยเรียนด้านพืชจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บวกกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ ทำให้แปลงเกษตรของเธอได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด ในการประกวดแปลงเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุทัยธานี

        สำหรับเนื้อที่ 100 ไร่นั้น แบ่งเป็นนาข้าว 35 ไร่ แปลงไม้ผล 20 ไร่ และส่วนที่เหลืออีก 30 ไร่ ปลูกพวกพืชไร่

 

Sponsored Ad

 

        น.ส.พิมพ์ธาดาบอกว่า ก่อนหน้านี้รายได้หลักมาจากการทำนาข้าวและไร่อ้อย แต่ตอนนี้ปรับมาเป็นไร่ข้าวโพด และไร่มันสำปะหลัง พร้อมกันนั้นจะขยายพื้นที่ในการปลูกผลไม้ให้มากขึ้น โดยเน้นไปที่การปลูกส้มโอที่ตอนนี้มีอยู่ 200 ต้น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ขาวใหญ่ ที่นำสายพันธุ์มาจาก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และกำลังมองหาตลาดส่งออกไปที่ประเทศจีน โดยปลูกแบบอินทรีย์ และอยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อขอมาตรฐาน สหภาพยุโรป (EU)

        นอกจากจะขายพืชผักผลไม้ที่ปลูกสารพัดอย่างแล้ว เธอยังขายกิ่งพันธุ์ด้วย ตอนนี้ถือเป็นรายได้หลักเลยทีเดียว โดยเน้นขายกิ่งพันธุ์ส้มโอ ที่มีทั้งเสียบยอดและตอนกิ่ง ลูกค้าเป็นกลุ่มเกษตรกรที่อยากจะเปลี่ยนจากการทำพืชเชิงเดี่ยวมาสู่การผลิตไม้ผล เพราะการทำไม้ผลจะได้ผลผลิตที่ยั่งยืน เท่ากับปลูกครั้งหนึ่งได้ผลยาวไป 20 ปีเลย ไม่ต้องไปลงทุนใหม่ซ้ำๆ ซึ่งคุณพิมพ์ธาดาบอกด้วยว่าเคยเจอปัญหาในการทำพืชไร่เชิงเดี่ยวมาแล้ว จึงหันมาปลูกไม้ผลแทน

 

Sponsored Ad

 

        สำหรับการปรับเปลี่ยนจากการเกษตรแบบใช้สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ที่ต้องขอมาตรฐานอียูนั้น คุณพิมพ์ธาดาให้ข้อมูลว่า หากถามว่ายุ่งยากไหม อันดับแรกเลยใจต้องมาก่อน ต้องทนได้ เพราะสิ่งแรกที่ต้องเจอคือผลผลิตลดลงแน่นอน ประมาณ 50% จากเดิมหรือมากกว่านั้น สมมติชาวนาเคยทำนาปกติ ได้ข้าวที่ 900 ก.ก.ต่อไร่ ถ้ามาทำเกษตรอินทรีย์อาจเหลือแค่ 300 ก.ก.ต่อไร่เท่านั้น

        คุณพิมพ์ธาดาแจกแจงถึงวิธีการทำนาอินทรีย์ว่า ในนาปลูกข้าวกล้องสองสี มะลิ 105 ผสมมะลิแดง เริ่มแรกเลยที่จะปรับเปลี่ยน ต้องหว่านปอเทืองไป 2 รุ่น เพื่อปรับปรุงโครงสร้างดินให้มีอินทรียวัตถุเยอะๆ เสร็จแล้วก็ทำนาเหมือนปกติ ในส่วนที่บ้านทำนาดำไม่ได้เนื่องจากระบบน้ำไม่ค่อยเสถียร จึงใช้หว่านน้ำตมธรรมดา พอช่วงที่ดูแลก็ต้องฉีดน้ำหมัก ที่ทำจากโปรตีนบ่อยๆ โดยฉีดเฉลี่ย 10 วัน 1 ครั้ง อย่างพวกน้ำหมักรกหมู น้ำหมักจากปลา และน้ำหมักหอยเชอรี่

 

Sponsored Ad

 


        จากนั้นหลังจากที่หว่านข้าวไปแล้ว ทุกๆ 10 วัน ต้องพยามฉีดฮอร์โมนน้ำหมักที่มาจากโปรตีน เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตทางลำต้น ใบ พอถึงช่วงข้าวตั้งท้อง เริ่มออกรวง ให้เปลี่ยนเป็นน้ำหมักที่มาจากผลไม้สีเหลือง มะละกอ กล้วย หรือฟักทอง เพื่อให้ผลผลิตติดดี ให้ข้าวมีน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม แม้จะบำรุงดูแลปีแรกให้ดีแค่ไหน น้ำหนักข้าวต้องลดอยู่ เพราะจากที่เคยใช้เคมีมา จากที่เคยใส่ปุ๋ยยูเรีย ใส่ปุ๋ยสูตร 15 แต่เมื่อทำนาอินทรีย์ก็ไม่ได้ใช้เลย เพราะเป็นข้อห้ามของเกษตรอินทรีย์

 

Sponsored Ad

 

        สำหรับนาข้าวอินทรีย์นี้เธอทำมาเป็นปีที่ 2 แล้ว แต่จะใช้วิธีขายเป็นข้าวสารกล้อง ไม่ได้ขายเป็นข้าวเปลือก ขาย ก.ก.ละ 50 บาท จะออกขายในช่วงออกบูธตามงานต่างๆ ซึ่งลูกค้าบางกลุ่มจะนิยมซื้อข้าวกล้องเพราะจะช่วยในเรื่องของเหน็บชา แก้ปัญหาไขข้อ ถ้าคนเป็นเ บ า ห ว า นจะทำให้ทานข้าวได้น้อยลงเนื่องจากข้าวกล้องมีลักษณะแข็ง เหมือนกับว่าต้องเคี้ยวนาน ทำให้ทานได้น้อยลง แก้ปัญหาคนเป็นเ บ า ห ว า นได้

        วันนี้นอกจาก น.ส.พิมพ์ธาดาจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากผลผลิตที่หลากหลายแล้ว ไร่นาส่วนผสมของเธอก็ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยมีคณะต่างๆ รวมทั้งนักเรียนนักศึกษา เข้ามาศึกษาดูงานอยู่ตลอด เธอเองในฐานะ ยังสมาร์ตฟาร์เมอร์ก็ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การทำเกษตรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ทำให้ชีวิตมีความสุข และยังมีโอกาสในการเผื่อแผ่ความรู้และข้อมูลดีๆ ให้กับผู้สนใจด้วย

ข้อมูลและภาพจาก khaosod

บทความที่คุณอาจสนใจ