กระจ่าง! เปิดสาเหตุ ทำไม "ราคาน้ำมันพม่า" ถูกกว่าไทยลิบลับ!

LIEKR:

กระจ่าง! เปิดสาเหตุ ทำไม "ราคาน้ำมันพม่า" ถูกกว่าไทยลิบลับ!

    เปิดสาเหตุที่พม่าน้ำมันถูกกว่าไทย โดยกระทู้ดังกล่าวถูกโพสต์โดยสามชิกเฟสบุครายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า น้องปอสาม โดยกระทู้ดังกล่าวถูกโพสต์ระบุเอาไว้ จนได้พบกับคำตอบ อ๋อ! มันเป็นอย่างงี้นี่เอง

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

เห็นแชร์กันเยอะมาก เรื่องป้ายราคาน้ำมัน เมียนมาร์ ของบริษัทนึง (ตามภาพแหละครับ) ขอไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง อธิบายตามหลักความเป็นจริงเรื่องพลังงานล้วนๆนะครับ

       – ถามว่านี่ราคาจริง หน่วยเป็นอะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น

ก็ตอบตามจริงว่า เป็นราคาจริง หน่วยเป็นเงินบาท ขายแถวชายแดนฝั่งเมียนมาร์ ปั๊มนี้อยู่ที่เมียววดี

    – ส่วนราคาทำไมถูกกว่าไทยเรา

ก็เหมือนเดิมครับ เหตุผลหลักๆ คือ

    1. เมียนมาร์เก็บภาษีน้ำมันน้อยมาก (ถ้าไทยทำตาม รัฐอาจไปหาทางออกกับการเพิ่มภาษีกับสินค้าชนิดอื่นๆ รวมถึงการเก็บภาษีส่วนบุคคลเพิ่ม) (ไม่ขอพาดพิงในส่วนของเมียนมาร์นะครับ)

    2. ไม่มีการส่งเสริมพลังงานทดแทน (ที่ผสม เอทานอล ไบโอดีเซล ถ้าไม่ส่งเสริม ก็เดียวชาวไร่ ชาวสวน ออกมาโวยวายว่ารัฐไม่มีการส่งเสริม ให้ช่วยพยุงราคาหน่อย แถมดันมีการเอาไปหาเสียงอี๊ก)

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

    3. มาตรฐานการปล่อยมลพิษของน้ำมันค่อนข้างแย่กว่าเรา อันที่เกิดฝุ่น PM2.5 ก็เป็นส่วนนึงนี่แหละ เอาแค่ปริมาณการใช้น้ำมันของไทยก็ชนะเพื่อนบ้านเราแล้ว ถ้าเราไปใช้มาตรฐานเดียวกับเค้า ฝุุ่นในไทยจะเยอะกว่านี้มากขนาดไหนคงไม่ต้องพูด

    – ในเมียนมาร์มีหลายเจ้า หลายยี่ห้อ เช่น Max Energy / PTTOR(เป็นการซื้อแบรนด์ไปดำเนินการเอง) / Petrochina / SPC / PPCL / Denko Pokkan / Shell และ อีกเพียบ

    – ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่โยงการเมือง ก็นานาจิตตัง คงห้ามไม่ได้ที่จะคิด บอก Fact เฉยๆ

เคยโพสต์ลงเพจไปเมื่อนานมาแล้ว

    – น้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่นำเข้าจาก Singapore, มีเพียงส่วนน้อยที่นำเข้าจากประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เพียงบริเวณชายแดนไทยพม่า น้ำมันส่วนใหญ่ในเมืองใหญ่ เช่น Yangon, Mandalay มาจาก Singapore

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

    – โครงสร้างราคาในปัจจุบันไม่มีการเก็บเงินเข้ากองทุนใดๆ มีเพียงการเก็บ Custom duty 1.5% บนราคา Import Price และ Commercial tax อีก10% (ข้อมูลเก่ามาก)(ล่าสุดคือเก็บแค่ 5%) (Commercial tax มีลักษณะคล้าย VAT กับ Excise tax รวมกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย)

    – ปัจจุบันราคาหน้าปั๊มจะถูกตั้งโดยสมาคมกลุ่มผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ (Myanma Petroleum Trade Association – MPTA) โดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ (Myanma Petroleum Product Enterprise – MPPE) จะดูแลราคาไม่ให้ผู้นำเข้าตั้งราคาสูงเกินไปจากราคาตลาดโลก (ไม่ต่างกับประเทศไทย โดยมีกระทรวงพลังงาน รวมไปถึง กรมธุรกิจพลังงาน กำกับดูแล ให้ผู้ค้าทำตามกฎหมาย มาตรา 7 และ ปตท. / บางจาก ที่คอยคานราคาขึ้นช้าลงเร็ว)

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

    – ในส่วนของราคาดีเซลของเมียนมาร์ มีราคาถูกกว่าไทยเนื่องจาก มาตรฐานน้ำมัน (ยูโร) ต่างกัน ในส่วนของ P-HSD = Premium HSD Sulfur content 10-50 ppm (EURO 4); HSD = Regular HSD Sulfur content 500 ppm (Euro 2) ถ้าของไทย Premium HSD จะเป็น EURO 5 และมีการผสมน้ำมันปาล์ม B100 ให้เป็นไบโอดีเซล ตามสัดส่วน 6-7% ส่วนไทยมีเพิ่มอีก ได้แก่ B20 และ B10 แต่เพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน ช่วยเหลือเกษตรกร และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมพลังงานทดแทนตามโครงการพระราชดำริ

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

    แหล่งขุดเจาะน้ำมันที่ประเทศพม่า เป็นการบริหารจัดการของประชาชน ที่เป็นเจ้าของประเทศ นำขึ้นมาใช้เอง และขายเอง ไม่ผูกขาดกับระบบรัฐ หรือบริษัทสัมปทาน ไม่ต้องจบวิศวกร ธรณีวิทยา ก็สามารถขุดเจาะน้ำมันได้

.

ข้อมูลและภาพจาก น้องปอสาม