ระวัง! ห้ามแช่ 3 สิ่งนี้ "ในตู้เย็น" เด็ดขาด มิเช่นนั้นอาจเป็นเหมือนบ้านนี้!

LIEKR:

ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญมาก!!

    3 สิ่งที่ไม่ควรแช่ใน "ช่องแช่แข็ง" ของตู้เย็น รีบเอาออกมาด่วน!

    ตู้เย็นระเบิดได้? เมื่อเร็วๆนี้ที่ต่างประเทศได้มีข่าวเกี่ยวกับตู้เย็นระเบิดเกิดขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของตู้เย็นหรือปัญหาการใช้ไฟฟ้า แต่เป็นเพราะนำสิ่งที่ไม่ควรแช่ไปแช่ในตู้เย็นต่างหาก

    สื่อต่างประเทศเปิดเผยสาระความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ควรแช่ในตู้เย็น เนื่องจากมีครอบครัวหนึ่งนำสิ่งเหล่านี้เข้าไปแช่ในช่องแช่แข็งเป็นเวลานานแล้วทำให้เกิดไฟลุกท่วมตู้เย็น เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง?  

.

    1. เครื่องดื่มอัดลม

    ไม่ควรวางเครื่องดื่มอัดลมในช่องแช่แข็งในตู้เย็น เช่นโคล่า สไปรท์ เบียร์ ฯลฯ โคล่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก เมื่อคุณนำโคล่าออกจากช่องแช่แข็งอุณหภูมิโดยรอบจะสูงขึ้นและก๊าซภายในโคล่าจะได้รับการปลดปล่อยออกมาจำนวนมาก ทำให้เกิดความกดดันภายในที่เพิ่มขึ้นทันที เมื่อมีการเปิดดื่มก็จะเกิดการระะเบิดเกิดได้ อาจมีผู้ได้รับบาดเจ็บได้

    2.น้ำแข็งแห้ง

    ไม่ควรเก็บน้ำแข็งแห้งไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมา อาจรวมตัวและเกิดระเบิดขึ้นได้ ที่สำคัญ!! ไม่ควรที่จะมาเก็บน้ำแข็งแห้งไว้ในตู้เย็นโดยเด็ดขาด เพราะอุณหภูมิของน้ำแข็งแห้งนั้น ต่ำกว่าอุณหภูมิของตู้เย็น ซึ่งอาจทำให้ตู้เย็นไม่ทำงาน

    3.แอลกอฮอล์,วัสดุที่ติดไฟ

    เพราะวัตถุเหล่านี้ ไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นเด็ดขาด เพราะขนาดของตู้เย็นมีข้อจำกัด หากในขณะที่ตู้เย็นเริ่มการทำงานและเกิดสะเก็ดไฟเพียงเล็กน้อย ก็อาจเกิดการระเบิดได้

สิ่งที่ควรระวัง:

    1.ด้านบนหรือบริเวณใกล้เคียงตู้เย็น ไม่ควรวางอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะตู้เย็นกลัวความร้อนมาก ยิ่งไปกว่านั้นขณะเปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำซึ่งจะทำให้เกิดการรบกวนต่อระบบทำความเย็นของตู้เย็น ทำให้เทอร์โมของตู้เย็นสับสน ทำให้ลดประสิทธิภาพของระบบทำความเย็น

    2.ขณะที่ละลายน้ำแข็งในตู้เย็น อย่าใช้ของมีคมในการแคะ แซะน้ำแข็งภายในตู้เย็น โดยเฉพาะในช่องแช่แข็ง เพราะความคมจากสิ่งของมีคม อาจจะทิ่มแทงทางเดินน้ำยาที่อยู่ในแผงของช่องแช่แข็งทำให้แตกหรือเป็นรู และน้ำยาในระบบ รวมกับน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ก็จะรั่วออกมา หากเดินเครื่องต่อไปเรื่อยๆโดยที่ไม่ทราบว่าน้ำยาไม่มีในระบบ และน้ำมันที่ทะลักตามน้ำยาออกมาก็มีน้อยจากเดิม เครื่องจะเดินนานขึ่น เพราะภายในตู้ไม่เย็นตัวควบคุมอุณหภูมิจึงไม่ตัดการทำงาน มอเตอร์ทำงานต่อไปเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่มีน้ำมันมาระบายความร้อนและหล่อลื่น การระบายความร้อนจากน้ำยาก็ทำไม่ได้ ทำให้คอมเพรสเซอร์ร้อนจัด และมอเตอร์ไหม้ในที่สุด

    ตัวอย่างผู้ประสบภัยจากการแช่เครื่องที่ห้ามแช่

ที่มา:injurylawyernewportnews

แปลและเรียบเรียงโดย Liekr