ลืมไปได้เลย ! ภาพความ "อดอยาก" สัมผัสประเทศเอธิโอเปีย กับฉายาใหม่ "จีนแห่งแอฟริกา" หลังทุนจีนเปลี่ยนประเทศ

LIEKR:

ลืมไปได้เลย ! ภาพความ "อดอยาก" สัมผัสประเทศเอธิโอเปีย กับฉายาใหม่ "จีนแห่งแอฟริกา" หลังทุนจีนเปลี่ยนประเทศ

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

    หากในหัวของคุณยังคงมีภาพจำสำหรับ ประเทศเอธิโอเปีย เป็นภาพความอดอยาก ยากไร้ และขาดแคลนของคนในประเทศ นั่นเท่ากับว่า คุณรู้จักแค่เพียง อดีตของประเทศในทวีปแอฟริกาประเทศนี้เท่านั้น เพราะวันนี้ บอกได้เลยว่า ประเทศเอธิโอเปีย กำลังเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในแบบที่ชาวโลกคาดไม่ถึง

    บทพิสูจน์ข้อมูลที่บอกมาข้างต้นนี้ มาจากรายงานข่าวของสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่รายงานว่าประเทศเอธิโอเปียมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รุดหน้า โดยมี GDP ที่เพิ่มขึ้นอัตราเฉลี่ยในปีนี้ที่ร้อยละ 8.5 และมีการคาดการณ์ต่อไปว่า เศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวเฉลี่ยในปีนี้อย่างน้อยร้อยละ 6.5 ด้วยข้อเท็จจริงนี้ทำให้เอธิโอเปียสร้างสถิติใหม่ ครองตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรฐกิจโดยเฉลี่ยของประเทศถึงประมาณร้อยละ 10 จนคนทั่วโลกต่างมอบฉายา “จีนแห่งทวีปแอฟริกา” ให้กับเอธิโอเปีย เพราะความเจิดจรัสในฐานะดาวรุ่งพุ่งแรงในเศรษฐกิจโลกในแนวทางเดียวประเทศจีนนั่นเอง

 

Sponsored Ad

 

จากที่เคยเป็นแบบนี้...

ส่องแนวคิดการพัฒนา ประเทศเอธิโอเปีย vs. ประเทศจีน ว่าที่ผู้กุมชะตาเศรษฐกิจโลก

    ที่มาของการนำประเทศเอธิโอเปียมาเปรียบเทียบกับประเทศจีนในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก ทั้งสองประเทศนี้ แม้จะอยู่กันคนละซีกโลก ทว่า ทั้งจีนและเอธิโอเปียต่างมีรากฐานในการพัฒนาประเทศที่เติบโตมาจากแนวคิดที่คล้ายกัน นั่นคือ การไม่ไปกังวลกับประวัติศาสตร์หรืออดีตอันขมขื่นที่เกิดขึ้นใประเทศ และมีวิสัยทัศน์ชัดเจนกับการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยเชื่อมั่นว่าวันหนึ่งประเทศของตนจะพัฒนาขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจของโลกได้

 

Sponsored Ad

 


    นอกจากแนวทางในการพัฒนาประเทศที่มีความมุ่งมั่นในแบบเดียวกันแล้ว หากมองย้อนกลับไปในหน้าประวัติศาสตร์ยุคก่อนคริสตกาลของจีนและเอธิโอเปีย ประเทศจีนมีรากฐานแน่นหนาในฐานะชนชาติที่ผลิตทั้งความรู้ วิทยาการต่างๆ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ หลังจากยุคของเหมา เจ๋อ ตุง ที่ทุกภาคส่วนทั้งการผลิต ภาคบริการ และภาคอื่นๆ เสริมพลังกันเป็นตัวดึงให้เศรษฐกิจจีนให้เติบโตขึ้นอย่างร้อนแรง ก้าวกระโดดและต่อเนื่อง กระทั่งกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ครอบครองทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนเอธิโอเปียก็ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครตั้งแต่ยุคก่อนคริสตกาล รู้จักกันในชื่อของอาณาจักรอัคสุไมต์ ซึ่งเป็นอาณาจักรเก่าแก่และมีอารยธรรมล้ำค่าที่สั่งสมกันมาตั้งแต่ในยุคนั้น ซึ่งชาวเอธิโอเปียเองก็ภาคภูมิใจว่าเชื้อสายของตนนั้นมีความเชื่อมโยงกับกษัตริย์โซโลมอน กษัตริย์แห่งอิสราเอล ที่ครองราชย์เมื่อปี 970-931 ก่อนคริสตกาล

    ด้วยแนวคิดในการปกครองที่เป็นฐานรากอันเข้มแข็ง นำมาสู่การละทิ้งแนวคิดคอมมิวนิสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 1970 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลก และเดินหน้าพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจทุนนิยม จนประสบความสำเร็จในด้านนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมหลายๆ ด้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การพัฒนาบริการในภาครัฐวิสาหกิจอย่างสายการบิน “เอธิโอเปียแอร์ไลนส์” ให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ไว้วางใจของนักเดินทางทั่วโลก

 

Sponsored Ad

 

จีน & เอธิโอเปีย พันธมิตรเกื้อหนุน พัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตไปพร้อมกัน

    ปัจจุบัน จีนและเอธิโอเปียได้กลายมาเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยจีนเข้ามาเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศเอธิโอเปียในหลายๆ ด้าน ทั้งการลงทุนธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์รอบเมืองหลวง อาดดิส อบาบา ของเอธิโอเปีย ช่วยก่อสร้างและวางระบบรางเบาขนส่งมวลชนในเมืองหลวง ออกแบบและสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงเป็นผู้วางโครงสร้างในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมประเทศจิบูติ ทางทิศตะวันออกติดกับชายฝั่ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ เอธิโอเปีย ได้มีทางออกเชื่อมสู่ทะเลและมหาสมุทรได้

 

Sponsored Ad

 

    โดยว่ากันว่า การปรากฏตัวของพี่จีน ใน เอธิโอเปีย มีนัยสำคัญในทางการมอบความหวังให้ชาวเอธิโอเปียมีโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการมีส่วนในอภิมหาโปรเจคของรัฐบาลเอธิโอเปีย ที่วางโครงการไว้ว่าจะมีทางรถไฟยาว 2,750 กิโลเมตรในปลายปี 2020 เพื่อเชื่อมต่อเมือง 49 แห่งทั่วประเทศ ผ่านการก่อสร้างทางรถไฟหลัก 6 เส้นทางโดยรถไฟฟ้ารุ่นล่าสุดที่ยาว 752 กิโลเมตรซึ่งเชื่อมต่อใจกลางเอธิโอเปียกับเมืองท่าจิบูตี ซึ่งประเทศจีนก็เป็นพันธมิตรหลักที่จะร่วมให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนี้ให้แล้วเสร็จในเร็ววัน

 

Sponsored Ad

 

    แต่อย่างไรก็ตาม ตอนท้ายของบทความจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กก็ไม่ลืมเน้นย้ำถึงวิกฤตที่เอธิโอเปียยังต้องเผชิญอยู่ว่า ไม่มีอะไรหนักหนาไปกว่าปัญหาเรื่องการสร้างชาติและปัญหาด้านพรมแดนกับเพื่อนบ้านทางทิศเหนืออย่างเอริเทรีย ส่วนทางใต้หลายชนเผ่าก็ยังไม่สามารถเชื่อมตัวเองเข้ากับส่วนกลางจากเมืองอับดิส อบาบาได้ ทั้งยังมีการปะทะกันประปรายกับชนเผ่าโอโรเมีย และกลุ่มโซมาลี ทางทิศตะวันออก ทั้งหมดนี้ยังคงเป็นอุปสรรคที่นักลงทุนยังต้องคำนึงถึง

Sponsored Ad

    ทว่า อย่างไรเสีย ด้วยเสถียรภาพทางการเมือง ภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของแอฟริกาตะวันออก และการเจริญเติบโตที่ก้าวกระโดด ประเทศเอธิโอเปียก็ยังควรค่าแก่การเข้าไปลงทุน และเป็นประเทศที่น่าจับตามองประเทศหนึ่งของโลกในการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจทีเดียว

จากที่เคยเป็นประเทศที่ยากจนสุดๆ 

.

.

ได้ทุนจีนเข้ามาเปลี่ยนประเทศในสิบปี

.

.

มีการจ้างงานเกิดขึ้น

ประชาชนมีความสุขมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

.

.

.

.

.

.

.

.


ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก <<<

ข้อมูลและภาพจาก salika

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ