ความพยายามไม่หักหลังใคร! "ป๋าเต็ด" อดีตเบ๊แกรมมี่ สู่เจ้าพ่อ Music Fest เมืองไทย!

LIEKR:

อะไรทำให้ เบ๊ กลายเป็น บอส อย่างทุกวันนี้ได้?

        มีคนเคยกล่าวไว้ว่า คนเรามักจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทุกๆ 7 ปี แต่คำกล่าวนี้อาจจะใช้ได้แค่กับบางคน เพราะมันไม่ตรงกับชีวิตของผู้ชายคนหนึ่งที่เราได้รู้จัก เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแต่ละครั้งของเขามักจะวนมาในทุกๆ 10 ปี!

        - อายุ 20 เริ่มฝึกงานในแกรมมี่ ที่ไอเดียของเด็กฝึกงานคนนี้ได้เอาไปใช้จริงในคอนเสิร์ตใหญ่อย่าง ‘แบบเบิร์ดเบิร์ด’

 

Sponsored Ad

 

        - อายุ 30 เริ่มทำคลื่นวิทยุทางเลือก ที่ปลุกกระแสเด็กอินดี้ในไทยให้บูมขึ้นมาอย่าง Fat Radio

        - อายุ 40 เริ่มทำ Music Festival ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีงานไหน มีสเกลใหญ่เทียบเท่าอย่าง Big Mountain

        - อายุ 50 เริ่มทำบริษัทใหม่ที่ใช้ชื่อว่า แก่น 555 จำกัด เน้นทำอะไรมันส์ ๆ สวนทางกับอายุของตัวเอง

        ใช่แล้ว! เขาคือ "ยุทธนา บุญอ้อม" หรือที่รู้จักกันในนามของ "ป๋าเต็ด" ที่กว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทุก 10 ปี จนเป็นที่รู้จักและกลายเป็นอีกหนึ่ง Icon ของความเกเรแบบสร้างสรรค์อย่างทุกวันนี้ได้

 

Sponsored Ad

 

        ในอดีตเขาคือเด็กกิจกรรม ที่ทำกิจกรรมเยอะจนเรียนไม่จบ ต้องรีไทร์ และถึงทุกวันนี้วุฒิการศึกษาก็คือระดับชั้นม.6 เคยเป็นดีเจในช่วง ยามไทม์ ที่จัดรายการตอนที่หลายคนเข้านอนไปแล้ว เคยเป็นเบ๊ของผู้บริหารใหญ่ในแกรมมี่ ที่ทำทุกอย่างไม่เว้นแม้แต่ชงกาแฟหรือถ่ายเอกสาร

        แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้ เบ๊ กลายเป็น บอส อย่างทุกวันนี้ได้ ข้อความด้านล่างนี้คือคำตอบ คำตอบที่จะทำให้คุณเข้าใจประโยคโหลๆ ที่ว่า ‘ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น’ ได้มากขึ้น

        “ตอนอยู่นิเทศฯ ปี 3 ที่จุฬาฯ ผมได้รับหน้าที่แสดง เขียนบท และกำกับละครเวทีของคณะ ด้วยความที่เราเป็นคนชอบทำกิจกกรรมอยู่แล้วก็เลยทำออกมาได้โอเค ทำให้ภาพรวมละครนิเทศฯ ในปีนั้นออกมาดี แล้วมีพี่ที่แกรมมี่คนนึง คือพี่เจือ สันติสุข จงมั่นคง มาดูแล้วเขาชอบ ก็เลยเรียกทีมที่ทำละครไปคุยว่าใครอยากจะมาฝึกงานที่แกรมมี่ไหม ซึ่งผมก็สนใจและเข้าไปฝึกในฝั่งของคอนเสิร์ต

 

Sponsored Ad

 

        ที่เลือกฝึกคอนเสิร์ตเพราะคิดว่ายุคนั้นเป็นช่วงที่คอนเสิร์ตไทยกำลังจะบูม เริ่มมีความเป็นสากลมากขึ้น พอเข้าไปพี่ๆ ในนั้นก็ให้เราไปเป็นเบ๊ของพี่เล็ก บุษบา ดาวเรือง (ผู้ร่วมก่อตั้งแกรมมี่)” 

        "ผมทำตั้งแต่ซื้อกาแฟ ถ่ายเอกสาร คอยช่วยจดงาน เรียกว่าตามพี่เล็กไปแทบจะทุกที่เลย พอถึงวันประชุมทีมงานใหญ่ พี่เล็กก็เซอร์ไพร์สเราด้วยการบอกกับทุกคนว่า วันนี้เต็ดจะมาเป็นคนเล่ารายละเอียดทุกอย่างให้ทุกคนฟัง ตกใจเหมือนกัน แต่พอพี่เล็กสั่ง เราก็รีบงับโอกาสนั้นไว้ แล้วเราก็เล่ารายละเอียดได้ทั้งหมดว่าภายในงานจะมีอะไร เพราะมันคือสิ่งที่เราทำ เป็นสิ่งที่เราไปค้นคว้ามาจริงๆ

 

Sponsored Ad

 

        และหลังจากวันนั้นก็เลยรู้ทันทีว่าที่พี่เล็กให้เราตามไปทุกที่ คอยช่วยนู่นช่วยนี่ มันคือกุศโลบายของเขา ที่อยากจะฝึกให้เราทำงานเป็น

        สุดท้ายไอเดียจากเด็กฝึกงานตัวเล็ก ๆ อย่างเราก็ได้เอาไปใช้จริงในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด ตอนจะบินไปให้ไกลสุดขอบฟ้า ถึงจะเอาไปใช้แค่ซีนเดียว แต่เรารู้สึกภูมิใจกับมันมาก”

        เรียนได้ 5-6 ปีก็ตัดสินใจรีไทร์ออกมา

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อฝึกงานจบ ป๋าเต็ด ก็ต้องกลับไปเรียนต่อที่มหา’ลัย แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจลาออกมา ด้วยเหตุผลที่เรียนไป 5-6 ปีแล้วเริ่มไม่ไหว เรียนไปก็รู้สึกเปลืองตังค์ เพราะเอาเวลาส่วนใหญ่ไปโฟกัสกับการทำกิจกรรม

        ซึ่งตำแหน่งแรกในฐานะพนักงานแกรมมี่ของ ป๋าเต็ด ก็คือโคโปรดิวเซอร์รายการทีวี แต่พอทำไปได้แค่สองเดือนกว่าๆ ก็รู้สึกว่าสิ่งที่หามาได้นั้นไม่พอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เงินเดือนเริ่มแรกคือ 8,500 ป๋าเต็ด จึงตัดสินใจหางานพิเศษทำ ด้วยการไปสมัครเป็นดีเจกับพี่ฉอดที่ A-Time Media และเวลาที่เขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดรายการก็คือเวลายามไทม์ที่ไม่ค่อยมีคนฟังและมีโฆษณาแค่ตัวเดียว ในเวลาต่อมาดีเจยามไทม์ ก็ได้พัฒนามาเป็นดีเจในช่วงเวลากลางวัน ที่ทำให้มีคนรู้จักเขาในฐานะของ ดีเจเต็ด มากขึ้น และจากดีเจที่เริ่มมีคนรู้จัก ก็ได้พัฒนาไปทำงานเป็นครีเอทีฟรายการวิทยุ ที่ทำให้ได้เรียนรู้การทำงานทั้งของเบื้องหน้าและเบื้องหลังอย่างครบครัน

 

Sponsored Ad

 

        สุดท้ายประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาทั้งหมด ก็ทำให้ป๋าเต็ดเป็นอีกหนึ่งในผู้ที่ทำให้ Hot Wave กลายเป็นคลื่นอันดับ 1 ของวัยรุ่น และทำให้ Green Wave กลายเป็นคลื่นอันดับหนึ่งของคนวัยทำงานในยุคนั้น

        ถึง Hot Wave และ Green Wave จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ด้วยความเป็นคนไม่หยุดนิ่ง ป๋าเต็ด จึงมีไอเดียที่จะทำคลื่นใหม่เพิ่มขึ้นมา เป็นจุดกึ่งกลางระหว่าง Hot Wave และ Green Wave คือไม่เด็กจนเกินไป ไม่แก่จนเกินไป เรียกว่าเป็นผู้ใหญ่ที่ยังมีความสนุกอยู่ในตัว และนี่ก็เป็นจุดที่ทำให้เขาตัดสินใจเดินออกมา เพื่อมาทำคลื่นวิทยุของตัวเองที่ใช้ชื่อว่า Fat Radio โตๆ มันส์ๆ เป็นจุดกำเนิดของคำว่าอินดี้ในบ้านเรา และยังได้ต่อยอดสู่ Fat Festival งานคอนเสิร์ตที่วัยรุ่นต้องไป ไปเสพย์ดนตรี ไปเสพย์ศิลปะ ไปเสพย์แฟชั่นของคนในงาน รวมไปถึง T-Shirt Festival งานขายเสื้อที่ได้รับความสนใจจากวัยรุ่นเป็นอย่างมาก !

Sponsored Ad

        ถือเป็นความนอกกระแส ที่คนในกระแสหลักยังหันไปให้ความสนใจ และด้วยความสำเร็จของ Fat จึงทำให้คุณไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม หรือที่ใคร ๆ ก็เรียกกันว่าอากู๋ ต่อสายตรงหา ป๋าเต็ด เพื่อเรียกกลับมาทำอะไรสนุก ๆ ให้แกรมมี่อีกครั้ง แม้ตอนนั้นอายุของ ป๋าเต็ด จะ 40 แล้วก็ตาม 

        “การทำคอนเสิร์ตกับ Music Festival มันไม่เหมือนกันนะ เรื่องคอนเสิร์ตแกรมมี่ถนัดอยู่แล้ว แต่เขาอาจจะยังไม่มีคนทำ Music Festival ให้ และด้วยประสบการณ์ที่เราทำ Music Festival มาเยอะ เขาก็เลยไว้ใจให้เราทำตรงนี้ พอทำพรีเซนต์ไปเสนอพี่บูลย์ (อากู๋) เขาก็เคาะ อนุมัติให้เราทำ ได้งบมา 50 ล้าน ตอนนั้นเราตื่นเต้นมาก เพราะไม่เคยทำโปรเจกต์ใหญ่เท่านี้ อย่างตอนทำ Fat Festival สเกลใหญ่สุดก็ 10 ล้าน แต่นี่คือ 50 ล้าน ซึ่ง 50 ล้านนี่เราไม่ได้หวังกำไรนะ แค่คืนทุนก็พอ แล้วหวังจะสร้าง Brand Awareness แล้วค่อยไปหากำไรในการจัด Big Mountain ครั้งที่ 2

        ส่วนคำว่ามัน ใหญ่ มาก ก็เป็นชื่อที่ผมคิดเอง มันเกิดมาจากตอนที่เราประชุมกับทีม Print แผนผังทั้งงานออกมาทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง แล้วทุกคนก็อุทานออกมาว่า เฮ้ยใหญ่มาก! ก็เลยเอาตรงนี้นี่แหละมาเป็นสโลแกนว่า มัน ใหญ่ มาก แค่ต้องเป็นคำพูดที่จำง่าย และเป็นเรื่องจริง

        ช่วงชีวิตการทำงานของ ป๋าเต็ด มักจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในทุก ๆ 10 ปี และจนถึงตอนนี้ที่อายุ 50 เขาก็ได้เริ่มสร้างความท้าทายครั้งใหม่ให้กับตัวเองอีกครั้ง ด้วยการเปิดบริษัทที่ใช้ชื่อว่า แก่น 555 จำกัด ที่ยังคงเน้นทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด นั่นก็คือการทำงานอีเว้นท์ ในรูปแบบที่พยามจะหลีกหนีไปจากสิ่งที่มีอยู่ในตลาด

        ป๋าเต็ดได้แพลนไว้ว่า เมื่ออายุ 60 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า เขาจะเกษียณตัวเองออกจากงานที่เคยทำมากว่าหลายสิบปี และจะหันไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบแบบเล็กๆ ไม่ต้องมีเรื่องเม็ดเงินขนาดใหญ่ให้มากดดันอีกต่อไป

        เมื่อถามว่าแล้วป๋าเต็ดเติมเชื้อเพลิงให้กับการทำงาน จนทำให้ตัวเองสามารถทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ได้ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็มีอายุมากกว่าหลายสิบปีได้ยังไง

        “อาจจะเป็นเพราะธรรมชาติของคนทำอีเวนท์ เราเตรียมงานมานานเป็นปี แต่พองานจบสิ่งที่เราทำ เวทีที่เราออกแบบมาตั้งนานก็หายไปในพริบตา เราเลยต้องคิดใหม่ทำใหม่อยู่ตลอดเวลาว่าถ้าจบงานนี้แล้วต้องทำไงต่อ ช่วงเวลาเริ่มต้นในการคิด Big Mountain ของผมในปีต่อไป คือเช้าวันสุดท้ายของวันงานในปีนั้น พอเป็นอย่างนี้ งานที่ผมทำมันก็เลยไม่ได้เป็นรูทีน ไม่เกิดความเบื่อ และตัวผมเองก็ยังหิวกระหายที่จะทำอะไรใหม่ ๆ อยู่ จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังคงเป็นอยู่อย่างนั้น”


ข้อมูลและภาพจาก marketeeronline

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ