ซื้อของออนไลน์บ่อยๆ จะกลายเป็นโรคโดยไม่รู้ตัว สาวเล่าประการณ์ รู้อีกทีแทบล้มละลาย

LIEKR:

อาการเบื้องต้นของ Shopaholic กัน ถ้าเข้าข่ายละก็ ไปหาหมอ

    สมาชิกเว็บไซต์พันทิป ได้ขอคำแนะนำ “เหมือนตัวเองจะเป็นโรคเสพติดการ ซื้อของออนไลน์ แก้ไขยังไงดีคะ” พร้อมเล่าวความทุกข์ว่า เวลาเห็นของลดราคาในเพจ หรือกำลังจัดโปรลดแลกแจกแถม มันไม่ไหวจริงๆ หัวใจมันเต้นรัว เหงื่อออกมือ สายตาพร่ามัว รู้ตัวอีกที จบดีล โอนเงินไปแล้ว

    ในทางการแพทย์นับว่าการที่เราชอบการช้อปปิ้งมากเกินไปจนกลายเป็นเสพติดการช้อปปิ้งนั้นเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องได้รับการรักษาเลยทีเดียว เพราะถ้าไม่รักษาอาจจะทำให้มีปัญหากับคนรอบตัวและมีภาระหนี้สินตามมาจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยนะ โดยโรคนี้มีชื่อว่า Shopaholic หรือ โรคเสพติดการช้อปปิ้งนั่นเอง 

 

Sponsored Ad

 

    โรคเสพติดการช้อปปิ้งหรือ Shopaholic นั้นเกิดจากการที่บุคคลนั้นชื่นชอบ หลงใหลในการช้อปปิ้งเป็นพิเศษค่ะ พวกเขาจะมีความสุขมากเมื่อได้เดินเลือกซื้อของต่างๆ และซื้อของโดยที่ " ไม่จำเป็น "  

    โดยที่สำคัญคือ จะรู้สึกผิดทุกครั้งหลังซื้อสินค้านั้นมาแล้วค่ะ กลุ่มคนที่มีอาการดังกล่าวจะไม่สามารถยับยั้งชั่งใจในการซื้อของได้ ( อารมณ์เห็นอะไรถูกใจก็ซื้อ มีบัตรก็รูดกระจายย ) ซึ่งลึกๆ แล้วอาการเหล่านี้เกิดจากความเศร้าลึกๆ ภายในจิตใจหรือภาวะซึมเศร้านิดๆ พอพบว่าการช้อปปิ้งทำให้คลายทุกข์ได้ขณะหนึ่ง พวกเขาก็จะใช้วิธีนี้ในการบำบัดความทุกข์ของพวกเขาเรื่อยๆ จนการเป็นการเสพติดค่ะ ถ้าหากเป็นนานๆ เข้า ไม่รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะมีปัญหาตามมาได้ เช่น มีปัญหากับที่บ้าน ปัญหาหนี้สิน ถ้าหนักๆ เข้าผู้ป่วยสามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยนะ 

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งกรณีดังกล่าวเหมือนกับเป็นปัญหาที่อยู่ใกล้ตัว หลายคนคงพบเจอเหตุการณ์เหล่านี้ สมาชิกหมายเลข 1705440 แนะนำว่า แนะนำให้แยกเงินเป็นกองค่ะ

    กิน ใช้ ออม เที่ยว ช็อป ค่าโดยสาร ลงทุน บริจาค ฉุกเฉิน สัตว์เลี้ยง ฯลฯ ตามการใช้ชีวิต แล้วใช้ตามกองโดยไม่หยิบกองอื่นมาปน มั่ว สลับกัน

 

Sponsored Ad

 

    แยกใส่ถุงไว้เป็นถุงๆก็ได้ค่ะ เราก็ทำแบบนั้น หรือแยกเก็บ ใส่ธนาคาร ซื้อสลากฯ แปลงเงินให้ใช้ยากๆ มันช่วยได้เยอะ มีระบบ และมีเงินเหลือ แถมยังได้ซื้อของบ้างในปริมาณจำเป็น ถ้าเงินส่วนไหนหมดก็ไม่ต้องใช้ต่อ ถ้าเงินกิน ค่ารถหมดก็ค่อยๆใช้เงินฉุกเฉิน แต่ไม่ควรทำบ่อยๆจะเสียนิสัย
    เทคนิคของเราคือ เงินซื้อของคือเงินเหลือเก็บจากค่ากิน พอรับรู้ถึงเวลาในการเก็บ เวลาซื้อของก็จะคิดมากขึ้นค่ะ การไม่มีเงินออม คือความฉิบ***ของชีวิต เราเคยเจอกับตัวเลยขยายเลยค่ะ

 

Sponsored Ad

 

    สมัยก่อนกินเที่ยวช็อป เผาเงินเก่งมาก พอล้มครืนลงมาพึ่งพาตัวเองไม่ได้นี่เจ็บใจมาก ว่าทำไมเราไม่ประหยัดๆเก็บเงินบ้างต้องคิดถึงความไม่แน่นอนในอนาคตด้วยค่ะ
    อะไรที่สั่งมาแล้วให้ใช้เสีย แล้วเก็บให้ดีๆ อย่างเสื้อผ้าก็ซักสะอาดๆขายเป็นของมือ 2 ทำรายได้เสริมค่ะจะได้สมดุล เรานี่ขาดทุนไปเยอะ ไม่ได้ใช้แถมไม่ได้ขายอีก

    ส่วนคุณ เรื่องนี้ผมถนัด บอกว่า เป็นอาการเสพติดนั่นแหละ รู้สึกมีพลัง ได้ช้อป ได้จ่าย โดยเฉพาะได้ราคาถูกกว่าปกติ รู้สึกชนะ (หากซื้อแล้ว แม้ว่าจะถูกกว่าปกติ แต่หากมีถูกกว่าที่เราซื้อ จะรู้สึกแพ้นิดๆ) เคยเป็นเหมือนกัน(ตอนนี้ก็เป็น) แก้ไม่ได้ ถ้ายังมีเงินจ่าย และยังเข้าไปดูโปรต่างๆ วิธีบรรเทา คือ ขายเองซะเลย ขายทุกอย่างที่ขายได้ แล้วได้กำไร

 

Sponsored Ad

 

อาการเบื้องต้นของ ' Shopaholic ' กันดีกว่าาา ถ้าเข้าข่ายละก็ ไปหาหมอ ( หล่อๆ ) กันด่วนๆ เลยนะ >< 
    1. ไม่สามารถหยุดตัวเองในการช้อปปิ้งได้ เรียกได้ว่า ห้างไม่ปิดก็ไม่กลับกันเลยทีเดียว
    2. มีความสุขมากกกกกก เมื่อได้ถือถุงช้อปปิ้งเยอะๆ 
    3. ซื้อของซ้ำๆ กัน เช่น แบบเดียวกันแต่คนละสี หรือ ลืมไปแล้วว่าซื้อมาแล้วกลับบ้านมาพบว่า อ้าวว คอลเลคชั่นนี้ฉันมีแล้วนี่น่าาา 
    4. ไม่ยอมบอกราคาจริงกับคนอื่น ( อ๋ออออ มันเซลล์น่ะ ฉันเลยซื้อมา // ความจริงคือราคาเต็มแถมใช้คะแนนบัตรเครดิตลด Top Up ไม่ได้อีกต่างหาก T_T )

 

Sponsored Ad

 

    5. แค่เห็นป้ายเซลล์ ก็วิ่งเข้าหาทันที 
    6. รู้สึกผิดทุกครั้งที่ซื้อสินค้านั้นมา ( ฮือออ ไม่น่าซื้อมาเลยอะ ถ้าไม่ซื้อนะ ฉันจะมีเงินใช้ไปทำอย่างอื่น )
    7. หาเรื่องซื้อของใหม่ได้ทุกทีสิน่าาาาา 
ใครมีมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอด่วนๆ เลยจ้าาาาาา

Sponsored Ad

    ทั้งนี้อย่าตื่นกลัวหรือวิตกไป ขึ้นชื่อว่าเป็นอาการป่วยย่อมมีวิธีการรักษาน้าาาา  โรค Shopaholic ก็เช่นกันค่ะ มีคุณหมอที่อเมริกาได้คิดค้นยารักษาอาการ Shopaholic ขึ้นมาแล้ว ซึ่งยาตัวนี้นั้นอยู่ในกลุ่มของยาที่รักษาอาการอัลไซเมอร์ค่ะ ยาตัวนี้ไม่ส่งผลข้างเคียงใดๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์น้าา แต่ในที่สุดแล้ว นอกจากจะรับการรักษาจากคุณหมอแล้ว เรายังต้องฝึกควบคุมจิตใจของเราไม่ให้ฟุ้งซ่านจนเกินไปด้วยนะ รับรองหายขาดแน่ๆ :) 

ข้อมูลและภาพจาก today.line.mekhaosod