คนที่ "หัวถึงหมอน" แล้วนอนเลยอย่าชะล่าใจ! หมอเตือนอย่าอิจฉา อาจไม่ปกติ ส่อแววมีปัญหา

LIEKR:

อ้าว! นี่อิจฉามาตลอดเลยนะเนี่ย

        ปัจจุบันนี้คนจำนวนมากมีปัญหานอนไม่หลับ บ่อยครั้งที่อยากหลับแต่ก็ต้องนอนพลิกไปมาบนเตียงอยู่นาน เป็นครึ่งชั่วโมงถึงสองชั่วโมงก็เป็นไปได้ 

        ดังนั้นจึงอิจฉาพวกที่ “หัวถึงหมอนก็นอนหลับ” แต่ตามการรายงานของ Indiatimes  การที่หัวถึงหมอนแล้วนอนหลับเลยไม่ได้แปลว่าการนอนหลับจะมีคุณภาพดี แต่เพราะร่างกายติดหนี้การนอนหลับ แถมยังอาจจะมีปัญหาเรื่องความทรงจำ

 

Sponsored Ad

 

        งานวิจัยชี้ว่า คนปกติต้องใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก่อนนอนหลับตามธรรมชาติ แปลว่าร่างกายผ่อนคลายจากนั้นก็จะเข้าสู่นิทรารมณ์พักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่เมื่อร่างกายเหนื่อยล้าเกินไป สารเคมีที่เรียกว่า "adenosine" ในร่างกายอาจจะสูงขึ้น ทำให้ร่างกายทนไม่ไหวต้องการนอน เมื่ออดนอนนานวันเข้าก็กลายเป็น "หนี้การนอนหลับ" (sleep debt)

 

Sponsored Ad

 

        เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้การนอนชนิดต่างๆ Lin Zhihao นักประสาทวิทยาสมอง ได้ชี้ให้เห็น “5 มุมมองที่สำคัญ” มาดูกันว่าสัญญาณเตือนจากการที่หัวถึงหมอนแล้วหลับเลยที่อาจเป็นปัญหาสำคัญ คุณผู้อ่านอย่าเพิ่งดีใจไปว่าตัวเองนอนหลับดี

มุมมองที่ 1 หัวถึงหมอนแล้วหลับเลยอาจจะเกี่ยวข้องกับ “การพักผ่อนไม่เพียงพอในระยะยาว”

        เวลาเหนื่อยๆ แค่หัวถึงหมอนก็หลับเป็นเรื่องปกติ การที่หัวถึงหมอนแล้วหลับเลยแปลว่า “คุณเหนื่อยมาก” แต่การเหนื่อยแบบนี้อาจจะเนื่องมากจากการทำงานหรือปัญหาในจิตใจ

 

Sponsored Ad

 

มุมมองที่ 2 ข้อดีข้อเสียของการหัวถึงหมอนแล้วนอนหลับเกี่ยวข้องกับ “เวลาในการนอน”

        ถ้านอนในเวลาที่ไม่ควรนอน หรือปกติต้องใช้เวลาสักพักถึงจะนอนหลับ แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่แค่หัวถึงหมอนก็หลับ แปลว่าร่างกายกำลังประท้วงคุณ เนื่องจากปัญหาการนอนไม่หลับสะสมในระยะยาว ทำให้ร่างกายปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ

มุมมองที่ 3 หัวถึงหมอนแล้วนอนหลับไม่ได้แปลว่าร่างกายมีปัญหา

        หัวถึงหมอนแล้วหลับเลยอย่างมากก็เป็นแค่สัญญาณเตือน แค่เพียงต้องการหาสาเหตุแล้วแก้ไข เชื่อว่าจะไม่เกิดเป็นปัญหาใหญ่ อีกอย่าง การที่หัวถึงหมอนแล้วหลับเลยอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยา ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ที่หัวถึงหมอนแล้วหลับเลย ควรไปพบนักประสาทวิทยาเด็ก เพื่อตรวจสอบโรคลมชัก

 

Sponsored Ad

 

มุมมองที่ 4 มีอาการป่วยอื่นๆ ที่ทำให้หัวถึงหมอนก็นอนหลับ

        ยกเว้นความเหนื่อยล้าแล้ว โรคลมหลับ (Narcolepsy), กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome:RLS), โรคหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจะเป็นสาเหตุให้หัวถึงหมอนแล้วนอนหลับได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน แถมสาเหตุของโรคหยุดหายใจขณะหลับยังรวมถึงน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ประวัติอาการป่วยของครอบครัว ภูมิแพ้ หลอดลมเล็กเกินไป บ่อยครั้งที่จะเกิดอาการหลอกตัวเองว่าหลับดี แนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน เพื่อรับการรักษา

 

Sponsored Ad

 

มุมมองที่ 5 นอนบนเตียง ใช้เวลาจนหลับเกิน 5 นาที แต่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงถือว่าปกติ

        คนปกติต้องใช้เวลาสักพักถึงจะนอนหลับลึกถือเป็นเรื่องปกติ นับจากเวลาที่โน้มตัวลงนอนจนถึงเข้าห้วงนิทรารมณ์จะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ถ้าการนอนหลับใน 30 นาทีถือว่าปกติ ถ้าเกิดครึ่งชั่วโมงแล้วยังกลิ้งไปกลิ้งมา แปลว่าคุณเป็นคนนอนหลับยาก ถ้าในระยะยาว ต้องหาสาเหตุให้เจอ อย่าเอาแต่พึ่งยานอนหลับแก้ปัญหา

        นอกจากสภาพร่างกายแล้ว พฤติกรรมก่อนนอนก็อาจทำให้นอนไม่หลับได้เช่น การเล่นมือถือ ออกกำลังกาย การดื่ม หรือกินอิ่มจนเกินไป ล้วนทำให้นอนไม่หลับได้ง่ายๆ หลังว่าอ่านบทความนี้จบแล้วจะช่วยให้เห็นปัญหาและแก้ไขนิสัยที่ไม่เหมาะสม ทำให้คุณภาพในการนอนดีขึ้น ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นแจ่มใสในทุกๆ เช้านะคะ

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ