"เราสองคนไม่สนว่าคนอื่นคิดอย่างไร" ท่านผู้หญิงเจนเซนเปิดใจ ว่าด้วยทูลกระหม่อมแม่ และชีวิตข้าราชการ

LIEKR:

"เราสองคนไม่สนว่าคนอื่นคิดอย่างไร" ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเปิดใจ ว่าด้วยทูลกระหม่อมแม่ และชีวิตข้าราชการครั้งแรก!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        "ท่านผู้หญิงสิริกิติย า เจนเซน" พระธิดาคนเล็กใน "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

        “มั่นใจในสิ่งที่ทำ-กล้าตั้งคำถาม-กล้าคิด-ไม่กลัว” ลักษณะนิสัยอย่างน้อย 4 ประการ ที่ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน บอกว่าเป็นสิ่งที่เธอมีเหมือนทูลกระหม่อมแม่ อาจด้วยนิสัยและวิธิคิดเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านผู้หญิงสิริกิติย าหรือที่เพื่อนร่วมงานและสื่อมวลชนเรียกสั้นๆ ว่า “คุณใหม่” มีความมั่นใจและมีความสุขกับการทำโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคลหรือ วังหน้า” ที่เธอเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงมานานแรมปี

 

Sponsored Ad

 

        คุณใหม่ยอมรับว่าตอนที่เริ่มทำโครงการ มีคนตั้งคำถามเหมือนกันว่าแน่ใจหรือว่าจะทำงานนี้ เพราะประวัติศาสตร์วังหน้าเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก รูปแบบที่นำเสนอก็ไม่เคยมีใครทำมาก่อน อาจจะมีคนไม่เข้าใจหรือไม่เห็นด้วย

        “แต่เราไม่เคยคิดแบบนั้นเลย เพราะเป็นคนที่มั่นใจ ถ้าเลือกที่จะทำอะไร แปลว่าคิดมานานหลายวัน คิดมานานหลายเดือนแล้ว ที่ทำแบบนี้เพราะว่าเรามั่นใจในสิ่งที่ทำไป” คุณใหม่กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น

 

Sponsored Ad

 

        ถึงวันนี้ เมื่อได้ยินชื่อ “คุณใหม่” หลายคนจะคิดถึง “วังหน้า” เพราะเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่เธอขลุกอยู่กับงานนี้ทั้งในฐานะคนที่หลงใหลในประวัติศาสตร์ ในฐานะนักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กรมศิลปากร และในฐานะผู้มีเชื้อสายราชวงศ์จักรี

        จากงานแรก คือ นิทรรศการวังน่านิมิต ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ (มิ.ย. 2561) สู่งานที่สอง คือ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องวังหน้าผ่านการตีความของศิลปินร่วมสมัย ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (มี.ค.-เม.ย. 2562) จนมาถึงผลงานล่าสุดคือการนำเสนอนิทรรศการวังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา ในรูปแบบ “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” บนแพลตฟอร์มของกูเกิลอาร์ตแอนด์คัลเจอร์ (ก.ย. 2562) พลังและความมุ่งมั่นของคุณใหม่ไม่ได้ลดลงเลย แม้เธอจะแอบบอกเราว่า “บางทีก็ท้อบ้าง เพราะงานมันยาก” แต่เมื่อได้เห็นคนไทยแม้เพียงหนึ่งคนสนใจประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง เธอก็มีแรงฮึดขึ้นใหม่ทุกครั้งไป

 

Sponsored Ad

 

        เหนือสิ่งอื่นใด งานทั้งหมดนี้ ทำให้เธอได้รู้จักและเข้าใจตัวเองดีขึ้น เพราะด้วยความที่เกิดและเติบโตในสหรัฐอเมริกา คุณใหม่รู้สึกว่ามีบางส่วนในชีวิตที่ขาดหายไป การกลับมาเมืองไทยและศึกษาประวัติศาสตร์ไทยคือการเติมเต็มชีวิตของเธอ

        คุณใหม่ให้สัมภาษณ์พิเศษในวันเปิดตัวนิทรรศการวังหน้านฤมิตฯ ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ดิจิทัลเมื่อ 17 ก.ย. 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เธอทำงานในฐานะข้าราชการกรมศิลปากรครบ 3 ปีพอดี ต่อไปนี้คือความรู้สึกนึกคิดและสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จก้าวแรกของเธอ

 

Sponsored Ad

 

        “ท่านไม่เคยห้าม ไม่เคยจำกัด และท่านให้ออกไปสัมผัสโลกภายนอกตลอดเวลา เพราะท่านรู้ว่าถ้าไม่ให้ออกไปเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือไปเจออุปสรรค เราก็ไม่โต ท่านค่อนข้างใจกว้างและสนับสนุนทุกอย่าง ถ้าจะทำอะไร และคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนวิธีคิด ช่วยอะไรได้เยอะก็ทำ”

        “ทุกอย่าง” ที่ว่านี้ รวมถึงการออกจากงานที่บริษัทแฟชั่นแบรนด์ดังในนิวยอร์ก มาอยู่เมืองไทยและรับราชการที่กรมศิลปากรเมื่อปลายปี 2559 ด้วย

 

Sponsored Ad

 

        คุณใหม่ ซึ่งเรียนจบด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ตัดสินใจเข้ารับราชการที่กรมศิลปากรตามคำแนะนำของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หลังจากที่เธอค้นพบตัวเองว่าอยากทำงานที่ช่วยให้เข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตัวเองได้มากขึ้น

        แม้ได้ทำงานในสิ่งที่รักและชอบอย่างแท้จริง แต่ชีวิตการทำงานในเมืองไทยก็ไม่ง่ายนักสำหรับคุณใหม่ และผู้ที่ช่วยให้เธอผ่านเรื่องยากๆ ไปได้ก็คือทูลกระหม่อมแม่ “มีอะไรก็ปรึกษาแม่ เวลาไม่เข้าใจอะไรหรือรู้สึกเครียด เพราะไม่เคยทำงานในระบบที่เป็นไทย ไม่เคยทำงานกับคนไทย บางทีวัฒนธรรมมันแตกต่างกัน ก็ปรึกษาว่าควรจะคิดยังไง ควรจะทำอะไรต่อ ควรจะเดินหน้าอย่างไรในฐานะคนที่ท่านทำงานมานานกว่า”

 

Sponsored Ad

 

        “แม่มาดูทุกงาน ดูอยู่นานเกิน 2 ชม. จริงๆ แม่เป็นคนที่สนใจประวัติศาสตร์พอสมควร แม่ศึกษาและตั้งคำถามเยอะ เราไม่ได้ตามอินสตาแกรมของแม่ แต่มีคนบอกว่าท่านจะโพสต์รูปและเขียนบรรยาย (เกี่ยวกับนิทรรศการวังหน้านฤมิตฯ) ยาว”

        - คุณใหม่บอกว่าเธอกับทูลกระหม่อมแม่มีอะไรที่เหมือนกันหลายอย่าง

Sponsored Ad

        “เป็นคนที่กล้าตั้งคำถามเหมือนกัน เป็นคนที่กล้า เป็นคนที่ไม่กลัว ถึงแม้ว่าคนอื่นจะไม่เคยทำมาก่อน หลายคนอาจจะคิดว่าโอ๊ย ทำดีเหรอ เราทั้งสองคนจะไม่ค่อยสนใจว่าคนอื่นคิดยังไง…ถ้าเลือกที่จะทำอะไร แปลว่าเราคิดมาหลายวัน คิดมานานหลายเดือนแล้ว ที่ทำแบบนี้เพราะว่าเรามั่นใจในสิ่งที่ทำไป ถ้าไม่มั่นใจ คนจะไม่เชื่อในสิ่งที่เราทำ ซึ่งคล้าย ๆ กันกับแม่ จะเป็นคนที่มั่นใจ คือว่าถ้าตัดสินใจแบบนี้ เราก็ต้องมั่นใจ บางทีถ้าคนจะไม่ชอบเรา เราทำอะไรดีเท่าไหร่ เขาก็จะไม่ชอบอยู่ดี เราก็คิดแบบนี้ สองคนก็คล้ายๆ กัน”

        - กรมสมเด็จพระเทพฯ เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อวิธีคิดและการทำงานของคุณใหม่ โดยเฉพาะงานด้านการศึกษาประวัติศาสตร์

        “วิธีทำงานคล้ายๆ กันมากเลยทีเดียว ก็เลยปรึกษาเรื่องงานเยอะ ท่านทรงให้ความสำคัญกับเรื่องวิธีการถ่ายทอดและการศึกษา จริงๆ วิธีถ่ายทอดหรือสอนประวัติศาสตร์ของเราสองคนคล้ายกันมากเลย เช่น หาวิธีถ่ายทอดผ่านสื่ออื่นๆ ที่ไม่ใช่หนังสือ เช่น อาหาร ดนตรี หรือพาคนเข้าไปในพื้นที่จริง”

        คุณใหม่ฝึกงานในกลุ่มงานวิชาการการอนุรักษ์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรตั้งแต่เดือน ก.ย. 2559 จนกระทั่งเดือน พ.ค. 2560 ก็ได้รับการบรรจุเป็นนักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ ซึ่งเธอบอกว่าได้ทำงานหลายอย่างจนค้นพบว่างานที่ชอบจริงๆ คือการถ่ายทอดและสื่อสารประวัติศาสตร์ให้คนทั่วไปรับรู้ เข้าถึงและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์นั้น

        “หลายคนมองว่ากรมศิลป์ฯ จะตกยุคอยู่รอมร่อแล้วแต่ท่านเลือกที่จะมาทำงานที่นี่ เป็นสิ่งที่ชาวกรมศิลป์ฯ ภูมิใจกันมาก โครงการต่างๆ ที่ท่านผู้หญิงทำ เช่น การจับมือกับ Google ในการทำพิพิธภัณฑ์ดิจิทัลจะนำพากรมศิลป์ฯ ไปสู่โลกของคนรุ่นใหม่ และนำคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานมรดก ศิลปวัฒนธรรมของชาติ” อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวนิทรรศการวังหน้านฤมิตฯ ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล

        “พอกลับมาเมืองไทยก็รู้ว่าตัวเองอยากทำงานอะไรก็ตามที่ช่วยให้เข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยได้มากขึ้น อยากทำงานอนุรักษ์ อยากทำงานประวัติศาสตร์ กรมสมเด็จพระเทพฯ เลยแนะนำให้ทำงานกรมศิลป์ฯ ตอนที่เข้าไปไม่ได้มี expectation (ความคาดหวัง) อะไรและไม่ได้กลัวอะไรเลย”

คุณใหม่บอกว่าช่วง 1-2 ปีแรกเป็นช่วงของการเรียนรู้ทุกอย่าง เธอจึงเปิดใจและความคิดรับฟังทุกสิ่งทุกอย่างจากทุกคนในกรมศิลป์ฯ พร้อมกับตรวจสอบความคิดของตัวเองอยู่เสมอ

        - ถึงตอนนี้ คุณใหม่เข้าใจและรู้จักตัวเองมากขึ้นหรือยัง?

        “ก็เข้าใจมากขึ้น รู้สึกว่ามั่นใจในสิ่งที่อยากทำ รู้ว่าอยากทำอะไร รู้ว่าอะไรสำคัญ แต่เราไม่ได้เลิกที่จะเรียนรู้…ทุกวันนี้เราก็ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น ถ้าจะบอกว่ารู้จักตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วก็ไม่ใช่หรอก เดือนหน้าอาจจะไปเจออะไรที่ทำให้เราเปลี่ยนความคิดก็ได้” คุณใหม่ทิ้งท้าย

        - Top tips ศึกษาประวัติศาสตร์แบบคุณใหม่

        ความรู้ที่ได้ส่วนใหญ่มาจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์และผู้คน คุยกับคนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค่อย ๆ เก็บข้อมูล อาจใช้เวลานานหลายเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถ่องแท้ จากนั้นนำข้อมูลทุกอย่างมาวิเคราะห์หาจุดเชื่อมโยง เพราะทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกัน เราเพียงต้องหาจุดนั้นให้เจอ

        คนเรา ถ้าชินอยู่กับการทำงานอยู่ในพื้นที่ ทำงานกับสิ่งที่จับต้องได้ก็จะชินอยู่กับการทำงานในแบบเดิม ๆ แต่ถ้าเปลี่ยนแพลตฟอร์ม เราต้องคิดใหม่หมด ทั้งวิธีจัดแสดงและวิธีถ่ายทอดข้อมูล

        ถ้าอยากเข้าใจประวัติศาสตร์ให้ดีขึ้น ต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนั้น

คนที่ทำงานด้านการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ มักคิดถึงเรื่องเครื่องมือในการเสนอก่อนที่จะคิดถึง story นี่คือสิ่งที่เป็นปัญหา จริง ๆ แล้วเราต้องสร้าง story ขึ้นมาก่อน เราต้องรู้ว่าใครเป็นพระเอกของเรื่องนี้และเราต้องการเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟัง ทั้งหมดนี้จะบอกถึงเครื่องมือที่เราต้องใช้ มันอาจจะต้องใช้เวลาและยากลำบาก แต่ทั้งหมดนี้จะทำให้เราเลือกเครื่องมือได้ถูกต้อง

        ต้องฟังเยอะๆ ถ้าเราไม่ฟัง เรามัวแต่จะพูดๆ อย่างเดียว จะทำให้เราให้สิ่งที่เราเข้าใจเป็นแค่มุมมองของเรา แต่จริงๆ มันเป็นสิ่งที่ผิดไป เพราะจริงๆ แล้วประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยหลายมุมมอง ถ้าเรามัวแต่จะพยายามที่จะบังคับให้เรื่องราวเป็นไปในทางเราที่เราคิด มันก็จะผิด

ชมคลิปเพิ่มเติม 

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ข้อมูลและภาพจาก khaosod

บทความที่คุณอาจสนใจ