ดังไกลถึงอิตาลี! คุณพ่อ "น้องสายฟ้า-น้องพายุ" หวานใจ "ชมพู่" ดีกรีไม่ธรรมดา!

LIEKR:

ดังไกลถึงอิตาลี! คุณพ่อ "น้องสายฟ้า-น้องพายุ" หวานใจ "ชมพู่ อารยา" ดีกรีไม่ธรรมดา!

        ดังไกลถึงอิตาลี โปรไฟล์ คุณพ่อ ‘น้องสายฟ้า-น้องพายุ’ นักธุรกิจหนุ่มสุดสมาร์ท อย่าง น็อต-วิศรุต รังษีสิงห์พิพัฒน์ กรรมการบริหารบริษัท เรเซอร์การไฟฟ้า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผลิตหลอดไฟฟ้าอันดับหนึ่งของประเทศ

        หนึ่งในนักธุรกิจรุ่นใหม่ผู้โดดเด่นที่สุด ผู้สามารถนำ Racer Group เปลี่ยนผ่านจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าเพื่อป้อนแบรนด์อื่น หรือ OEM (Original Equipment Manufacturer) ไปสู่การเป็นแบรนด์หลอดไฟครบเช็ต Racer ซึ่งอยู่ระดับชั้นนำของภูมิภาค

 

Sponsored Ad

 

        จุดเริ่มต้นทำแบรนด์ Racer อย่างที่ทราบคือเราทำ OEM ให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อจากเริ่มทำบัลลาสต์ ทำหลอดไฟ ทำสตาร์ทเตอร์ ทำเซ็ตตัวรางขาไฟ ขายเป็นเซ็ตสำเร็จรูปไป

 

Sponsored Ad

 

        พอบริษัทโตมาในระดับหนึ่งเราก็เห็นว่าเราผลิตสินค้าดี มีคุณภาพ ต้นทุนถูก แต่คนอื่นเขาซื้อชุดหลอดไฟของเราไปในราคา 100 บาท เขาเอาไปขายในห้างได้ 200-300 บาท เพราะคนอื่นเขามีแบรนด์ ในขณะที่เราไม่มีแบรนด์ของตัวเอง

        ยิ่งกว่านั้น ทุกปีลูกค้าจะมาบอกตลอดว่าต้องลดต้นทุนนะ เศรษฐกิจไม่ดีเราก็ต้องลดราคาทุกปี ทั้งๆ ที่สินค้าในตลาดราคาเพิ่มตลอด สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามองว่ามาร์จินที่ต้องหายไปเพราะลดต้นทุนนั้น

 

Sponsored Ad

 

        เราควรเอาไปลงทุนสร้างแบรนด์เพื่อให้มันเป็นสินทรัพย์ของเราดีกว่า มันถึงจะเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทได้มากขึ้น อย่างน้อยๆ มันก็จะสร้างมูลค่าให้กับบริษัทเราในเรื่องสินค้า

 

Sponsored Ad

 

        กล้าลุกขึ้นมาทำแบรนด์ ผมมองว่าการที่เราเป็น OEM ก็เหมือนการเช่าบ้านอยู่ แต่การสร้างแบรนด์ของตัวเองมันเหมือนการผ่อนบ้าน พูดง่ายๆ คือ OEM มันเป็นรายได้เลี้ยงธุรกิจได้ไปวันๆแต่มันไม่ได้สร้างมูลค่าให้กับองค์กร

        สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ยังไม่อยากลุกขึ้นมาทำแบรนด์ ก็อาจเป็นเพราะพื้นฐานแนวคิดที่ต่างออกไป เหมือนเช่าบ้านอยู่มันไม่มีภาระ แต่ถ้าเกิดผ่อนบ้านก็มีภาระ ต้องไปดาวน์บ้าน เช่นเดียวกัน ก่อนจะสร้างแบรนด์ได้ก็ต้องลงทุน

 

Sponsored Ad

 

        คนอื่นอาจมองว่าอย่าไปลงทุนเลย สร้างแบรนด์ ถ้าไม่ติดก็เสียดายเงิน ไหนจะความเสี่ยงที่ต้องไปอธิบายกับลูกค้าว่าเราจะสร้างแบรนด์มาแข่งกับเขาหรืออย่างไร คนเลยไม่กล้า

 

Sponsored Ad

 

        แต่ผมเชื่อว่าถ้าเรารู้จักคำนวนความเสี่ยงแล้วโอกาสประสบความสำเร็จมันเยอะกว่าเพราะถ้าเป็น OEM เราไม่มีทางรู้ว่าลูกค้าจะเดินจากเราไปเมื่อไหร่ เราต้องพึ่งคนอื่นหายใจ แต่ปัจจุบันนี้ เราสร้างแบรนด์ของตัวเอง

        และก็สร้างช่องทางจากโรงผลิตไปถึงลูกค้าด้วยตัวเอง ซึ่งสำหรับผมมันก็พิสูจน์แล้วว่าคุ้มค่า เมื่อก่อน OEM คือ 80% ของรายได้ ทุกวันนี้มันเหลือ 30-40% ของรายได้ ต่อไปมันน่าจะเหลือ 10-20% ทั้งๆ ที่เราเพิ่งเริ่มทำการตลาดมาได้แค่ 3-4 ปี

Sponsored Ad

        บางคนอาจคุ้นเคยการทำธุรกิจที่เป็น OEM รับจ้างทำ เอาราคาถูกเข้าสู้ แต่ว่าผมมองว่าในระยะยาว มันเป็นธุรกิจที่แข่งกันไปตาย ผมไม่อยากรอให้ถึงวันที่ผมไม่มีทางเลือก แล้วค่อยกระโดดลงมาเล่น

        ความสำเร็จครั้งใหญ่ของชีวิต ตอนผมกลับมาทำงานใหม่ๆ ตั้งแต่ปี 2543 ผมอยากจะมีโรงงานที่ทันสมัยเพื่อจะแข่งขันได้ในเวทีโลก ดังนั้นช่วง 7-8 ปีแรกก็พยายามศึกษา พยายามอัพเกรดโรงงานและระบบบริหาร พยายามเอามาตรฐานสากลเข้ามา

        ผมมองว่าชีวิตคนเราน่าจะมีอะไรได้มากกว่านี้ จะบริหารงานใหญ่ไม่ได้แปลว่าต้องทำงานหนักขนาดนี้ ผมจึงพยายามสร้างทีมขึ้นมา ซึ่งยากมาก เพราะช่วงแรกๆ มาตรฐานเรายังสู้บริษัทญี่ปุ่นไม่ได้ เราจึงไม่สามารถจ้างคนเก่งได้ ได้แต่คนที่คนอื่นเขาไม่เอา บางคนที่เขาเป็นมืออาชีพเขาก็จะบอกเลยว่าไม่อยากทำกับธุรกิจครอบครัว

        เพราะฉะนั้นมันใช้เวลามาก เราค่อยๆ เอานํ้าเสียออก นํ้าดีเข้า ปรับระบบจนกระทั่งโรงงานเราทันสมัย สวย ใช้เครื่องจักรไฮเอนด์ทั้งหมด สภาพแวดล้อมการทำงานสะอาด ภาพลักษณ์ทุกอย่างดูดี คราวนี้เราถึงเริ่มได้คนดี อยากจะจ้างใครก็จ้างได้ ตอนนี้ แต่ละคนที่ผมสร้างมาอยู่กับผมมาเป็นสิบๆ ปี หลายคนตัดสินใจได้ 95% เหมือนที่ผมคิดเลย อีก 5% เป็นแค่คอมเมนต์ปลีกย่อยเท่านั้นเอง อันนี้คือความภูมิใจอันหนึ่ง

.


ข้อมูลและภาพจาก truststoreonline

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ