เปิดภาพ อุโมงค์เชื่อมผืนป่าเขาใหญ่- ทับลาน มรดกโลกของประเทศไทย เพื่อรักษาชีวิตสัตว์ป่า

LIEKR:

อุโมงค์เชื่อมผืนป่ามรดกโลกแห่งแรกของประเทศ ปลื้ม "สัตว์ป่า" ใช้ข้ามจำนวนมาก!

    ผู้อำนวยการกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักแผนงานกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย ผลการเปิดใช้ทางหลวงหมายเลข 304สาย อ.กบินทร์บุรี-อ.ปักธงชัย โครงการทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก ที่เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค.62 จนถึงปัจจุบัน

    น.ส.ธัญญาภรณ์ ทันโตภาส ผู้อำนวยการกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักแผนงานกรมทางหลวง (ทล.) เผยว่า ผลการเปิดใช้โครงการทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก บริเวณหลังคาของอุโมงค์และใต้ทางยกระดับ พบรอยเท้าและมูลสัตว์ป่าข้ามไป-มาทั้งสองผืนป่าระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานจำนวนมากและหลากหลายชนิด

 

Sponsored Ad

 

โครงการทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก

    โดยพิสูจน์ได้จากกล้องวงจรปิดที่เก็บภาพสัตว์ป่านานาชนิดได้อย่างชัดเจน ในส่วนของบนอุโมงค์อุโมงค์พบรอยเท้าและมูลสัตว์อาทิ หมีควาย กวางป่า เก้ง เลียงผา แมวดาว กระทิงหมาจิ้งจอก อีเห็นธรรมดา หมูหริ่ง หนูหวาย และตัวเงินตัวทอง ส่วนใต้ทางยกระดับเชื่อมผืนป่าพบนกเขาชวา ลิงกัง พังพอนธรรมดา พังพอนเล็ก เม่นใหญ่ หมูป่า และหมาจิ้งจอก

    เนื่องจากบนอุโมงค์และใต้ทางยกระดับเชื่อมผืนป่าได้ออกแบบรองรับระบบนิเวศน์ทั้งการปลูกหญ้า เถาวัลย์ ทำโป่งเทียม และบ่อน้ำให้สัตว์ป่าได้หากินรวมถึงอุปกรณ์ความปลอดภัยให้สัตว์ป่าเช่น ตาข่ายกั้น มนุษย์ไม่ให้รบกวนสัตว์ป่าทำให้สัตว์เกิดความไว้วางใจ

 

Sponsored Ad

 

    น.ส.ธัญญาภรณ์ กล่าวต่อว่า ทล. กับทางอุทยานฯ ได้ร่วมกันบูรณาการทำงาน และติดตามประเมินผลโครงการเชื่อมผืนป่าอย่างต่อเนื่องทั้งด้านประโยชน์ที่สัตว์ใช้งานได้จริง ความคุ้มค่าในการก่อสร้าง ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นต้องปรับปรุงแก้ไขทันที ติดตามประเภทของสัตว์ป่าที่มาใช้ประโยชน์ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน รวมถึงการกระจายตัวในแต่ละพื้นที่ อนาคตมีแนวโน้มสัตว์ป่ากลุ่มอื่นๆ มาใช้ประโยชน์หรือไม่

 

Sponsored Ad

 

.

    เบื้องต้นถือว่าโครงการประสบความสำเร็จและได้รับผลตอบรับดีทำให้อุโมงค์และทางยกระดับเป็นต้นแบบที่จะนำไปพัฒนาและใช้ประโยชน์ในงานทางของ ทล.เพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศในอนาคต

    ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทางเชื่อมผืนป่าได้ออกแบบอุโมงค์ชนิดดินตัดและถมกลับ(Wildlife Overpass) บริเวณ กม.194+485ถึง กม.194+990ระยะทาง 505 เมตร โดยถมดินด้านบนอุโมงค์ปลูกต้นไม้เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบนิเวศเพื่อจูงใจให้สัตว์ป่าเข้ามาใช้ประโยชน์ ข้ามฝั่งไป-มาได้

 

Sponsored Ad

 

.

หลากหลายชนิดเลย

.

อุดมสมบูรณ์มากๆ

เพื่อรักษาชีวิตสัตว์ป่า

    นอกจากนี้ยังสร้างสะพานทางยกระดับเป็นทางลอดสัตว์ป่า (WildlifeUnderpass) ที่ กม.192+935 ถึง กม.193+505 ระยะทาง 570 เมตร และ กม. 209+483 ถึง กม. 209+823 ระยะทาง 340 เมตร ให้รถวิ่งบนทางยกระดับสัตว์ป่าลอดใต้สะพานไป-มาได้อย่างปลอดภัย เพื่อรักษาไว้ซึ่งมรดกทางธรรมชาติ ส่งเสริมระบบนิเวศซึ่งเป็นคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลของผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่

ที่มา : matichon

บทความที่คุณอาจสนใจ