เปิด 9 คำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ ที่หลายคนยังไม่เข้าใจ ทำไมเข้าวัดบ่อยแล้ว แต่ยังไม่มีความสุข

LIEKR:

สาธุ

        หากจะเอ่ยถึงนามของ ท่านพุทธทาสภิกขุ เชื่อว่าคงไม่มีพุทธศาสนิกชนคนใดในประเทศไทยที่ไม่ทราบนามของท่าน ผู้อุทิศตนให้กับศาสนาจนขนานนามตัวท่านเป็น "พุทธทาส" นำธรรมะมาสู่ชีวิตพร้อมร่วมเผยแผ่ธรรมะออกไปสู่ประชาชนอย่างสร้างสรรค์และเข้าใจง่าย ตลอดจนเรียงร้อยภาษาธรรมออกมาในรูปแบบร้อยกรองอย่างไพเราะ 

        อีกทั้งยังเป็นผู้จัดตั้งสถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และสวนโมกข์นานาชาติ ในคราวนี้เราจึงนำประวัติ ท่านพุทธทาสภิกขุ มาร่วมเผยแพร่ให้ได้ติดตามกัน

 

Sponsored Ad

 

        ท่านพุทธทาสภิกขุ เคยให้โอวาทธรรม เผยความจริงคำสอนในพระพุทธศาสนาที่หลายคนเข้าใจผิด ๆ มาโดยตลอดว่า..

        1) ความเข้าใจผิด เข้าใจผิดว่า ทำดี ต้องได้ดี ทำบุญต้องได้บุญ

 

Sponsored Ad

 

        2) เข้าใจผิดว่า ดีกับใคร คนนั้นต้องดีตอบ ที่ถูก คือ เรามีหน้าที่ดี ใครจะดีกับเรา ไม่ดีกับเรา ไม่ใช่เรื่องของเรา

        3) เข้าใจผิดว่า ให้อะไรใคร ต้องได้กลับคืน ที่ถูก คือ การ "ให้" คือยินดีเสียสละ ให้แล้วคาดหวัง..ไม่ใช่การให้ อ้างบุญคุณไม่ได้

        4) เข้าใจผิดว่า แก่แล้วทำอะไรก็ได้ ที่ถูก คือ แก่แล้วต้องยิ่งสำนึก ทำชั่วไม่ได้ เวลาเหลือน้อย

        5) เข้าใจผิดว่า ต้องทำเพื่อความมั่นคงของชีวิตในภายหน้า ที่ถูก ความมั่นคงไม่มีในโลก จากไปได้ทุกเมื่อได้ทุกเมื่อ

 

Sponsored Ad

 

        6) เข้าใจผิดว่า ความต้องการของตัวเองสำคัญที่สุด เราสำคัฐที่สุด ที่ถูก คือ ไม่มีความต้องการนั่นแหละสำคัญที่สุด ไม่มีเราต่างหากสำคัญที่สุด

        7) เข้าใจผิดว่า เข้าวัด ใจสงบ ที่ถูก คือ วัดอยู่ในใจ ใจสงบจบข่าว

        8) เข้าใจผิดว่า ความสบายเลือกได้ ที่ถูก คือ เกิดมาก็ทุกข์แล้ว มันเลือกไม่ได้ ไม่มีใครสบายตลอดชาติ

        9) เข้าใจผิดว่า สิ่งของ คนของเรา ตัวตนของเรา เราต้องยึดไว้ รักษาไว้ ที่ถูก คือ ไม่มีอะไร หรือใครให้ต้องยึด ต้องรักษา ทุกอย่างไม่ใช่ของเราและที่สุดแล้วก็ไม่มี

สำหรับ พุทธทาสภิกขุ กับเส้นทางสายธรรม

 

Sponsored Ad

 

        ชีวิตในช่วงเด็ก เงื่อม พานิช ร่ำเรียนจนถึงชั้น ม.3 แล้วต้องออกมาทำงานค้าขาย จากนั้นได้เริ่มบวชเรียนเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2469 ขณะอายุได้ 20 ปี ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น ได้รับฉายาว่า "อินทปญฺโญ" ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

        เดิมตั้งใจจะบวชตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่ด้วยความสนใจและซาบซึ้งในความรู้สึกเป็นสุข สนุกในการศึกษาและเทศน์แสดงธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก ในต่อมาจึงได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร สอบได้นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค

ที่มา : siamnews