ไขข้อสงสัย เหตุใด "ร.10" ทรงเคยรับสั่งให้ชะลอการขึ้นทรงราชย์ แม้ขัดต่อมณเฑียรบาล

LIEKR:

"เกือบทั้งประเทศไม่เคยรู้" ไขข้อสงสัย เหตุใด ร.10 ทรงให้ชะลอการขึ้นทรงราชย์ แม้ขัดต่อกฎมณเฑียรบาล

        เมื่อครั้งการเสด็จขึ้นทรงราชย์ของ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” เป็นพระมหากษัตริย์ สืบราชสันตติวงศ์นั้น ได้มีเหตุการณ์หนึ่งที่ยังคงตราตรึงในหัวใจของประชาชนชาวไทยทุกคน เมื่อมีพระราชโองการในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชประสงค์ให้ชะลอการขึ้นทรงราชย์เอาไว้ก่อน 

        แม้กฎมณเฑียรบาล พระราชประเพณีและกฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ราชบัลลังก์จะว่างลงแม้แต่วันเดียวไม่ได้ "พลเอก เปรม ติณสูลานนท์" ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา จึงได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท โอกาสนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กราบบังคับทูลเชิญองค์รัชทายาท เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์

 

Sponsored Ad

 

        แต่ทว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" ทรงมีพระราชประสงค์ให้ชะลอการขึ้นทรงราชย์เอาไว้ก่อน เพราะพระองค์ทรงพระราชประสงค์ร่วมส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช-พระบรมชนกนาถสู่สวรรคาลัยพร้อมกับพสกนิกรชาวไทย

 

Sponsored Ad

 

        ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณคำสอนของพระราชบิดาที่ถักทอสืบต่อเรื่อยมาตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 10 ยังทรงพระเยาว์ เมื่อพระชนมายุได้ 4 พรรษา ในปี 2501 ถึงแม้พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ระดับอนุบาลแล้วก็ตาม แต่พระองค์ทรงได้รับการอบรมพระจริยวัตรในฐานะองค์พระรัชทายาท จากสมเด็จพระบรมชนกนาถเสมอมา

        “จิราภา อ่อนเรือง” นักข่าวหนังสือพิมพ์อาวุโส เขียนไว้ในหนังสือ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ว่า ก่อนจะลง พ ร ะ อ า ญ า ทุกครั้ง สมเด็จพระบรมชนกนาถจะทรงอธิบายและคาดโทษให้ชัดเจนเสมอ ถ้าพระองค์ยังทรงขืนทำผิดอีกก็ต้องถูกลงอาญา ไม่เคยทรงลงโทษด้วยพระอารมณ์โมโหเลย ถึงกระนั้นพระองค์ทรงขัดคำสั่ง เมื่อถูกลงโทษจริงๆ เข้า จะไม่ทรงร้องเลย แต่ไม่กล้าทำผิดอย่างนี้ซ้ำอีก พระองค์ทรงทั้งรัก ทั้งกลัวสมเด็จพระชนกนาถ

 

Sponsored Ad

 

        หนังสือสี่เจ้าฟ้า เรียบเรียงตอนหนึ่งไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงได้รับสมุดรายงานการศึกษาของทูลกระหม่อมทุกพระองค์และทรงตรวจตราวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วน ทรงเล่นกับทูลกระหม่อมทุกพระองค์ แต่ขณะเดียวกันก็จะพระราชทานความรู้ควบคู่ไปด้วย

        หลังการรับพระบรมราโชวาท ทูลกระหม่อมฟ้าชายมักทรงรำพันว่า “การเป็นเจ้าฟ้านี่ช่างลำบากเหลือเกิน จะทำอะไรก็ต้องระวังความรู้สึกของคนไปหมด ทำตามพระทัยไม่ได้”

 

Sponsored Ad

 

        ศาสตราจารย์วิลมอตต์ แรคสแดล เล่าถึงกระแสพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่า “โรงเรียนอะไรก็ไม่ดี เพราะครูๆ อาจตามใจลูกๆ ฉัน ครั้นจะจ้างครูมาสอนพิเศษก็ไม่ดีอีกนั่นแหละ ดังนั้นเราจึงตั้งโรงเรียนขึ้นในวัง สอนพวกลูกข้าราชการและคนที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น”

 

Sponsored Ad

 

        พระองค์ทรงเล่าพระราชทาน “ธุลีวัง” ตีพิมพ์ในนิตยสารดิฉัน ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม 2530 เมื่อครั้งพระองค์มีพระชนมายุ 8-9 พรรษา ได้เสด็จพร้อมกับสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประพาสประเทศสวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา ว่า “เมื่อนึกถึงตอนเด็กๆ จะมีความสุขมาก เมื่อทูลหม่อมพ่อและสมเด็จแม่พาพวกเราไปนั่งรถปิกนิกกันอย่าง family เมื่อนึกถึงทีไร ก็นึกถึงสิ่งที่อบอุ่นเรื่องนี้ตลอดเวลา เมื่อทูลหม่อมพ่อขับรถไป สมเด็จแม่ก็จะทรงเล่าประสบการณ์ที่พระองค์ได้พบเห็นในต่างประเทศ ในต่างแดน ทรงเล่าถึงพระองค์เอง เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ เมื่อติดตามท่านพ่อของพระองค์ ซึ่งเสด็จไปเป็นทูตไทยประจำประเทศต่างๆ ในยุโรป ทรงเล่าให้ฟังว่าเมืองอังกฤษมีสนามหญ้าที่เขียวสวยงามเพียงไร ตลอดเวลาที่ลูกๆ ได้ฟังก็ตื่นเต้นกันมาก”

 

Sponsored Ad

 

        แม้กระทั่ง เมื่อครั้งเสด็จตามสมเด็จพระบรมชนกนาถและพระราชชนนี เยี่ยมเยียนราษฎร ในพื้นที่ ทุ ร กั น ด า ร แ ร้ น แ ค้ น พระองค์ทรงได้รับพระราชทานคำสอน บันทึกไว้ในหนังสือ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ตอนหนึ่งว่า “ยังทรงจำได้ดีว่า ทูลหม่อมพ่อและสมเด็จแม่ของพระองค์มักจะประทานคำสั่งสอนอยู่เสมอว่า ความสุขของพระองค์ท่านทั้งสองนั้นจะไม่มีสิ่งใดยิ่งไปกว่าการที่ได้ทรงเห็นพระราชโอรส พระราชธิดา มีความผูกพันรักใคร่กัน ช่วยเหลือกันและเป็นกำลังสำคัญของพระราชวงศ์ในการที่จะรับใช้บ้านเมือง”

Sponsored Ad

        พระองค์ทรงได้รับคำสอนและเป็นแบบอย่างที่ดี ดังการพระราชทานสัมภาษณ์แก่นิตยสารดิฉันบางช่วงบางตอน ว่า “พระองค์ท่านทรงเป็นตัวอย่างอันประเสริฐ แล้วเราก็มีหน้าที่ที่จะต้องรับใช้พระองค์ท่านตามความสามารถของเรา อาจจะเป็น silly answer ของเรา เราก็มีความจงรักภักดีใต้เบื้องพระยุคลบาท แล้วก็ยึดพระองค์เป็นหลักชัย แล้วก็ถวายการรับใช้สุดความสามารถของเรา”

        “เวลาตามเสด็จก็ได้เห็นสิ่งที่พระองค์ท่านปฏิบัติ หรือได้เห็นพระราชกรณียกิจ หรือพระราชจริยวัตร ตลอดจนได้ทราบพระราชปณิธานอันแรงกล้าของล้นเกล้าฯทั้ง 2 พระองค์ ในเรื่องของความห่วงใยประชาราษฎร์ หรือในความใกล้ชิดหรือความผูกพันที่พระองค์มีต่อพสกนิกรของท่าน อันนี้ข้าพเจ้าก็ถือว่า เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่รับใช้สนองพระเดชพระคุณอยู่ก็พยายามเท่าที่ความสามารถจะมีอยู่ที่จะสนองพระราชปณิธานเท่าที่กำลังสติปัญญาจะทำให้ได้”
“ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครบรอบ 60 พรรษา ตั้งใจที่จะปฏิบัติงานสนองพระเดชพระคุณในหน้าที่ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คือ ในฐานะเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน คือ ความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงของประเทศชาติ และพสกนิกรของพระองค์ท่าน”

        ทรงพระราชทานคำตอบถึงความสนพระทัยการทรงบินเครื่องบินรุ่น F-5E ว่า “เพราะมีความรักมีความชอบในเรื่องแบบนี้พอสมควร แล้วก็เป็นพระราชพาหนะที่จะนำข้าพเจ้าไปสู่ประชาชนได้อย่างทันท่วงที เพื่อจะได้ทำงานสนองประเทศชาติและพระมหากษัตริย์” ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ตราบจนปัจจุบัน ทรงเอาพระทัยใส่สนองพระราชกรณียกิจต่างๆ และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อทรงแบ่งเบาพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระชนกนาถและสมเด็จพระชนนีเสมอมา 

        ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่ง บันทึกไว้ในหนังสือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในฐานะพระราชโอรสและพระราชบิดา ว่า “จะปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณตามสติปัญญาและความสามารถที่มีอยู่ จะพยายามทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเท่าที่ทำได้”

ข้อมูลและภาพจาก welovemyking