เบี้ยวหนี้ กยศ. 1.1 ล้านรายเตรียมตัว ประกาศหักเงินเดือนพนง.รัฐ-เอกชน อีก 3 แสนคน

LIEKR:

ล่าสุด รายชื่อ เบี้ยวหนี้ กยศ.พุ่ง 1.1 ล้านราย

    เป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก สำหรับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. หลังพบว่า มีนักเรียนจำนวนมากที่เรียนจบออกมาแล้ว ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามสัญญาที่ตกลงไว้

    ล่าสุดนิด้าโพลเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้กู้เงินที่เบี้ยวหนี้ กยศ. ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นสูงสุด หักหนี้จากบัญชีเงินเดือนโดยอัตโนมัติ

 

Sponsored Ad

 

    หนี้ กยศ. นั้นจะให้ผู้กู้ผ่อนชำระในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งจ่ายแค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ย้ำว่าปีละ 1 ครั้งเท่านั้นคือชำระเงินก่อนวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี และรอให้ผู้กู้ทำงานไปแล้ว 2 ปีถึงจะเริ่มให้มาชำระหนี้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 1 เท่านั้น ถึงเริ่มให้จ่ายหนี้ โอโห้! ช่วยกันมากขนาดนี้ แต่ก็ยังไม่มีคนจ่ายเลย

 

Sponsored Ad

 

    กยศ. เผยตัวเลขนักเรียนนักศึกษาที่เบี้ยวหนี้&กลุ่มผิดนัดชำระแต่ยังไม่ถูกดำเนินคดี 1.1 ล้านราย เงินค้างชำระ 2 หมื่นล้านบาท กลุ่มถูกดำเนินคดีแล้ว 1.1 ล้านราย เงินค้างชำระ 5.4 หมื่นล้านบาท….สาเหตุ ขาดจิตสำนึก ขาดวินัยทางการเงิน บางส่วนตกงาน

    กยศ. ก็ยังไม่ใจร้ายขนาดนั้น ถึงน้องยังไม่จ่าย เขาก็จะออกหนังสือเชิญมาเจรจากันหน่อยสิว่าทำไมถึงยังไม่จ่าย ติดปัญหาอะไรตรงไหนหรือเปล่าบอกกันได้นะ ยังไม่มีงานทำ หรือมีหนี้ล้นมือเกินกว่าจะจ่ายได้ก็มาเจรจากันหน่อยว่าจะตกลงกันแบบนี้

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งเงื่อนไขก็อยู่ที่จะคุยกับทาง กยศ. เองว่าไหวไหมจ่ายเมื่อไหร่ดี และไม่ได้หนีเนอะ ขั้นตอนนี้จะยังไม่ถึงขั้นการฟ้องร้องดำเนินคดี แต่อยู่ในช่วงเจรจากันก่อน ตอนมากู้ยังมาคุยได้เลยเนอะ เขาเรียกให้มาเจรจาก็มาเถอะเนอะ

    ถ้ายังเบี้ยวอีกเตรียมเจอดอกเบี้ยบาน ส่งจดหมายไปเตือนแล้ว เรียกมาเจรจาแล้วก็ยังเฉยอยู่จากนี้ไป กยศ. จะไม่ทนและเริ่มใช้ไม้แข็งดังนี้

 

Sponsored Ad

 

    ส่งฟ้อง ศ า ล ก่อนพร้อมยกเลิกสัญญาเงินกู้ฉบับเดิมที่คดดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 1

    เมื่อถูกฟ้อง ศ า ล ผู้กู้จะต้องถูกบังคับให้ปิดหนี้ภายใน 9 ปี หรือ 108 งวด แต่ถ้าไม่ไปขึ้น ศ า ล ผู้กู้จะโดนคำสั่ง ศ า ล ให้จ่ายหนี้ครั้งเดียวจนหมด

 

Sponsored Ad

 

    การชำระหนี้โดยคิดเป็น เงินต้นที่ค้างชำระ x ดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี x ดอกเบี้ยค่าปรับร้อยละ 18 ต่อเดือน = หนี้ทั้งหมดที่ต้องจ่าย

    ระหว่างนั้นจะเสียเบี้ยปรับค้างชำระ ซึ่งคิดดอกเบี้ยค่าปรับคิดเป็นรายวัน และจะคิดไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้กู้จะชำระค่าปรับหมด หรือจ่ายครบตามจำนวนดอกเบี้ยค่าปรับ เช่นสมมติว่าไม่ได้จ่ายเงินไป 4 ปี โดนค่าปรับไปทั้งหมด 40,000 บาท เงินที่จ่ายมาจะไปหักลบกับค่าปรับก่อน

 

Sponsored Ad

 

    จากนั้นจึงไปลบกับดอกเบี้ย เหลือเท่าไหร่ถึงมาหักเงินต้น ซึ่งก็เริ่มต้นจากการหักเงินต้นที่ค้างนานที่สุดก่อน ถ้าอยากจะกลับเข้าสู่การผ่อนแบบปกติต้องเคลียร์ค่าปรับก่อนนะ

    ยกเว้นคนที่ค้ำประกันตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2558 ขึ้นไป มีกฎหมายฉบับใหม่ที่คุ้มครองผู้ค้ำประกันออกมาคือผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบเสมือนผู้ค้ำ และผู้ให้กู้ต้องไปตามลูกหนี้ให้เจอก่อนอย่างสุดความสามารถ ถึงค่อยมาไล่บี้กับผู้ค้ำประกันอีกที

Sponsored Ad

    อย่างไรก็ตามคนที่ค้ำประกันเขาก็อยากจะให้คนกู้เรียนไปจนจบ และมีงานทำ มีชีวิตที่ดี ไม่ได้หวังว่าจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับเงินของท่าน ดังนั้นถ้าไม่อยากให้คนค้ำประกันเดือดร้อนก็ ไปจ่ายเถอะ

    สำหรับคนที่เป็นหนี้ กยศ. และอยากจะรู้ว่าตอนนี้สถานะเป็นอย่างไร มียอดเงินคงเหลือเท่าไหร่ โดนค่าปรับไปเท่าไหร่ และจ่ายเงินยังไงบ้างสามารถทำได้สองวิธีคือ

    ติดต่อไปที่ธนาคารที่เรากู้ซึ่งก็คือธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย แล้วแจ้งว่าจะชำระเงินกู้ กยศ. ถ้าไม่มีใบแจ้งหนี้ก็ยื่นบัตรประชาชนไปเท่านั้น จบเลย

    เข้าไปที่เว็บ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ติดต่อไปที่ธนาคารที่เรากู้ซึ่งก็คือธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย แล้วแจ้งว่าจะชำระเงินกู้ กยศ. ถ้าไม่มีใบแจ้งหนี้ก็ยื่นบัตรประชาชนไปเท่านั้น จบเลย

ข้อมูลและภาพจาก bltbangkok

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ