ย้อนชมประวัติ ต้นสกุล "เทพหัสดิน ณ อยุธยา" เชื้อสายเจ้า ขุนศึกคู่ใจ วางรากฐานมหาวิทยาลัยชื่อดัง

LIEKR:

ย้อนชมประวัติ ต้นสกุล "เทพหัสดิน ณ อยุธยา" เชื้อสายเจ้า ขุนศึกคู่ใจ วางรากฐานมหาวิทยาลัยชื่อดัง

        ราชสกุล “เทพหัสดิน ณ อยุธยา” ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ในช่วงนี้ วันนี้เราจะนำทุกท่านมาไล่เรียงประวัติศาสตร์น่ารู้เกี่ยวกับต้นสกุล “เทพหัสดิน ณ อยุธยา” ราชสกุลดังที่คนไทยรู้จักคุ้นหูมานานหลายสมัย

        เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี(พี่สาว) สองพระองค์ด้วยกันคือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระเทพสุดาวดี ทรงมีพระราชโอรสต้นราชสกุล “นรินทวรางกูร ณ อยุธยา”

 

Sponsored Ad

 

        สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระศรีสุดารักษ์ ทรงมีพระราชโอรสต้นราชสกุล “เทพหัสดิน ณ อยุธยา”, มนตรีกุล ณ อยุธยา” และ “อิศรางกูร ณ อยุธยา”

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

 

Sponsored Ad

 

        ต้นราชสกุล “เทพหัสดิน ณ อยุธยา” ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระศรีสุดารักษ์ และเจ้าขรัวเงิน มีพระนามว่า สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ อันเป็นต้นราชสกุล “เทพหัสดิน” ซึ่งเป็นทหารคู่พระองค์ของรัชกาลที่ 1

        เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ทรงมีพระโอรสพระธิดา 7 พระองค์ หม่อมเจ้าชายฉิม, หม่อมเจ้าชายมาก, หม่อมเจ้าชายนิ่ม, หม่อมเจ้าชายหนู, หม่อมเจ้าชายน้อย, หม่อมเจ้าพุมเสน และหม่อมเจ้าหญิงหนู ส่วนอีกคนคือ หม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน ยังคลุมเครือว่าเป็นพระราชโอรสเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ หรือเป็นพระนัดดา

 

Sponsored Ad

 

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีในวัยทำงาน

        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงถือว่า หม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน เป็นแค่หลาน หรือพระนัดดา ในเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ จึงมีศักดิ์เป็นเพียงหม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน หรือพระยาราชภักดี ต่อมามีบุตรชาย นามว่า หม่อมหลวงเจียม เทพหัสดิน หรือ พระยาไชยสุรินทร

        หม่อมหลวงเจียม เทพหัสดิน หรือ พระยาไชยสุรินทร มีบุตรชายนามว่า สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา

 

Sponsored Ad

 

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา

        โดย สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 และได้ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ กลับมารับราชการในกรมศึกษาธิการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงไพศาลศิลปศาสตรแล้ว เลื่อนเป็น พระไพศาลศิลปศาสตร

        ต่อมา ในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขั้นเป็นพระยาไพศาลศิลปศาสตร และขึ้นเป็น พระยาธรรมศักดิ์มนตรี

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อกรมศึกษาธิการเปิดโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเข้าเป็นนักเรียน และต่อมาได้รับประกาศนียบัตรครู และถูกเลือกให้เป็นองค์ปาฐกสอนวิชาครูให้กับครูในโรงเรียนหลวงในกรุงเทพฯ และได้รับพระราชทานทุนหลวงไปศึกษาวิชาครู ณ ประเทศอังกฤษ

ภาพล้อเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อกลับมาพร้อมประกาศนียบัตรครูของประเทศอังกฤษ จึงได้จัดวางระเบียบการศึกษาในกรุงเทพฯ ซึ่งภายหลังมีหน้าที่เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน พระยาธรรมศักดิ์มนตรี ตั้งใจจัดวางระเบียบขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น รัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น มหาวิทยาลัย โดยพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

        อย่างไรก็ดี เทพหัสดิน เป็นราชสกุลใหญ่ ซึ่งมีเชื้อสายที่สืบต่อกันหลายชั่วอายุคน และตลอดระยะสมัยรัตนโกสินทร์ ลูกหลานแห่งราชสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้สร้างคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติเป็นอันมาก และมีบุคคลในราชสกุลที่มีชื่อเสียงหลากหลายด้าน ดังที่ปรากฏเป็นข่าวตลอดมา

        อ้างอิง: ม.ร.ว.มาลินี จักรพันธุ์. (ปี 2551) วารสารสยามรัฐ. ต้นกำเนิดที่เกิดเหตุ สัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 7


ข้อมูลและภาพจาก thairath

บทความที่คุณอาจสนใจ