เด็กหญิงวัย 14 ขอแก้ "พ.ร.บ.สุขภาพจิต" ให้เด็ก "พบ จิ ต แ พ ท ย์" โดยไม่มีผู้ปกครอง !

LIEKR:

ไปหาจิตแพทย์ไม่ได้แปลว่าบ้า ผู้ปกครองควรเข้าใจเด็กบ้าง บางบ้านพ่อ-แม่ห้ามไม่ให้ไปหาหมอ จะเพราะกลัวจะอับอาย เสียชื่อ ซ้ำร้ายยังจะบังคับลูกไปเข้าวัด-หาหมอผีอีก

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปข่าวเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

   “ผู้ใหญ่เขาคิดว่าเด็กจะเครียดอะไรหนักหนา จะมีเรื่องอะไรที่เครียดจนถึงขั้น ฆ่ า ตั ว ต า ย ได้เลยเหรอ” ประโยคแรกที่ออกมาจากเด็กสาววัย 14 ปี ญา–ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เมื่อพูดถึงปัญหาสุขภาพจิตของเด็กไทยในปัจจุบัน ญาเริ่มต้นทำงานช่วยเหลือเด็กด้านสุขภาพจิตเมื่อตอนที่เธออายุ 12 ปี ทำให้เธอได้คลุกคลีและเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น

ญา-ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ เด็กสาววัย 14 ปี ผู้ทำงานช่วยเหลือสุขภาพจิตของเด็กไทย

 

Sponsored Ad

 

       เหตุผลที่ทำให้เธอสนใจเรื่องสุขภาพจิตต้องย้อนกลับไปในช่วงที่ญาอยู่ ป.2 เธอสนใจอยากเรียนเกี่ยวกับอะตอม แต่ครูกลับตอบเธอว่าให้รอขึ้น ป.6 ก่อน จุดดังกล่าวทำให้ญาเก็บมาปรึกษากับแม่ว่าการเรียนในโรงเรียนไม่สามารถตอบความต้องการของเธอได้ ญาจึงตัดสินใจลาออกและมาเรียนแบบโฮมสคูล (Homeschool) กับแม่ของเธอแทน

       การเรียนด้วยระบบดังกล่าว ญาสามารถเรียนรู้ตามความต้องการของตนเอง หนึ่งในนั้นเธอได้เรียนเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ ทำให้เธอรู้วิธีจัดการกับอารมณ์ของตนเอง เธอมองว่าเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่เด็กๆ ควรรู้ แต่เพื่อนของเธอหลายๆ คนไม่เคยรู้ทางด้านนี้

 

Sponsored Ad

 

       “ปัญหาที่เด็กส่วนใหญ่เจอมาจากครอบครัว ด้วยสภาพเศรษฐกิจในสังคม ทำให้บางครอบครัวพ่อแม่ต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้าตรู่และกลับบ้านตอนมืด ทำให้แทบไม่มีเวลาปฎิสัมพันธ์กันในครอบครัว เด็กเห็นแค่ตอนที่พ่อแม่เครียดกับเรื่องค่าใช้จ่ายหรือเครียดกับค่าเทอม ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวถ่วง การที่พวกเขาเกิดมาสร้างภาระให้กับพ่อแม่”

 

Sponsored Ad

 

       เมื่อเด็กต้องเผชิญกับปัญหาที่เข้ามากระทบกระเทือนจิตใจ ส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีที่จัดการกับอารมณ์เหล่านั้น ทำให้มันค่อยๆ ก่อตัวสะสมเก็บไว้ภายในใจ บางครั้งอาจผลักดันให้เด็กหาทางออกด้วยการ ฆ่ า ตั ว ต า ย

       “ลองนึกภาพคนที่ยืนอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมมืดๆ แล้วไม่เห็นประตู ไม่เห็นอะไรเลยที่จะพาเราออกไปข้างนอก เราไม่รู้ว่าจะออกจากห้องนี้ไปได้อย่างไง จนทำให้เราคิดว่าการออกไปจากห้องนี้มันคงจะมีวิธีเดียว คือการที่เราตาย ถ้าเราไปเกิดใหม่ มันอาจจะอยู่ในที่ๆ ดีกว่าจุดนี้ก็ได้”

 

Sponsored Ad

 

       ญาได้ลงพื้นที่ไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียน โดยเธอจะให้เด็กทุกคนหลับตาแล้วตอบคำถามของเธอว่าในระยะเวลาที่ผ่านมา 7 วัน มีใครเคยคิด ฆ่ า ตัว ต า ย บ้าง ผลลัพธ์ทำญารู้สึกตกใจเพราะมีเด็กห้องละไม่ต่ำกว่า 2 คน ที่คิดอยาก ฆ่ า ตั ว ต า ย

       “เด็กบางคนเราเคยไปทำกิจกรรมด้วยแล้วเห็นเขาร่าเริง แต่ข้างในเขาคิด ฆ่ า ตั ว ต า ย มันเป็นปัญหาที่ถ้าเราไม่ตั้งใจมองเราจะไม่เห็นจริงๆ”

 

Sponsored Ad

 

       ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นแรงผลักดันในการทำงานของญาช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิตของเด็กไทย เป้าหมายของญาต้องการให้มีบรรจุวิชาสร้างภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ในหลักสูตรโรงเรียนและแก้ไขพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 เพื่อทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถเข้ารับคำปรึกษาและรักษาปัญหาสุขภาพจิตได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้ปกครอง

       “ปัญหาส่วนใหญ่ที่ไปเจอมาครอบครัวแยกทางกันแล้วมาลงที่ลูก ทำให้เด็กบอกพ่อแม่ไม่ได้ว่าเขาเป็นโรคซึมเศร้า มันปิดช่องทางการรักษาของเขา เด็กหลายๆ คนที่ไปคุยมาบอกว่าถ้ารักษาไม่ได้ก็ไม่ต้อง ปล่อยให้มันเป็นแบบนี้ไป บางคนบอกเดี๋ยวก็คงจะหายไปเอง เดี๋ยวลาเรียนไปเที่ยวก็หาย แต่โรคนี้ถ้าเราไม่รักษาแบบจริงจังมันก็จะไม่หาย ถ้าเราไม่เปลี่ยนสภาพแวดล้อมเราก็จะต้องอยู่ตรงนั้นไปเรื่อยๆ”

 

Sponsored Ad

 

       ในการทำงานส่วนนี้สิ่งที่ญาต้องเผชิญ คือ ทัศนคติของผู้ใหญ่ โดยเหตุการณ์หนึ่งเป็นตอนที่เธอถูกเชิญให้ไปเข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชนของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ญาเป็นเด็กคนเดียวอยู่ท่ามกลางผู้ใหญ่นับสิบคน

       “มีศาสตรจารย์คนหนึ่งบอกกับญาว่า วิชานี้ไม่ต้องมีก็ได้ มีแค่พระพุทธศาสนาก็ช่วยได้ เขาอธิบายว่าคนเราควรที่จะปลงมีใครมาพูดอะไรกับเราก็ควรที่จะไม่ไปใส่ใจมัน การ ฆ่ า ตั ว ต า ย มันบาป เด็กเรายังไม่เรียนรู้พอก็เลยไปฆ่ า ตั ว ต า ย  ญาพยายามจะบอกให้เขาเข้าใจว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้ช่วยทุกคนได้ เขาเลยบอกว่าสิ่งที่เราทำไม่ถูกต้อง ควรจะพาเด็กไปปฎิบัติธรรม”

Sponsored Ad

       ผู้ใหญ่ยังคงมองว่าเด็กเป็นแค่เด็ก ไม่ควรมีเรื่องเครียดมากมาย ญาบอกว่าอาจเป็นเพราะเธอเป็นเพียงแค่เด็กคนเดียวในวันนั้น พวกผู้ใหญ่มองไม่เห็นเด็กคนอื่นๆ ที่อยู่หลังเธอ คนที่ต้องพบเจอปัญหาและไม่สามารถหาทางออกได้

       สุดท้ายแล้วญาในวัย 14 ปีได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า อยากให้ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญกับเสียงของเด็ก มองเห็นเสียงของพวกเขาและให้พวกเขามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

       “หนูเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่มีรากเป็นเด็กที่ฝากความหวังให้เราพูดเรื่องนี้”

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ข้อมูลและภาพจาก workpointnews

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ