แม้ไม่สมบูรณ์ แต่เอื้อเฟื้อเพื่อนมนุษย์! เปิดใจ "ทิน บุญมี" พ่อค้าแจกฟรีแซนด์วิชให้ผู้คน!

LIEKR:

ชายผู้ไม่คิดแพ้โชคชะตา! ชายคนนี้ไม่ได้ทำดีเพื่อหวังดัง หากแต่ตลอดระยะเวลา 40 ปี เขานั้นทำดีเสมอมา...

        เปิดชีวิตอดีตขอทานนอนใต้สะพาน สู่พ่อค้าแซนด์วิช ขวัญใจคนใช้ถนนเกษตร-นวมินทร์ “ต้น” หรือ “ทิน บุญมี” ชายพิการผู้ไม่คิดแพ้โชคชะตา แม้ชีวิตเกิดมามีน้อยกว่าคนอื่นแต่ก็สู้จนสำเร็จ และยังมีจิตใจเอื้อเฟื้อแบ่งปันสู่สังคม

        “แจกแซนด์วิชฟรีในวันเกิดครับ” ป้ายข้อความของพ่อค้าหนุ่มพิการหนีบไม้ค้ำยืนมอบแซนด์วิชถึงมือกลางถนน 4 แยกเกษตร-นวมินทร์ ท่ามกลางองศาแดดแผดเผ่าและรถราที่วิ่งไปมากวัดไกวได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวชมในโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก

 

Sponsored Ad

 

        “ต้น” หรือ “ทิน บุญมี” คือชายพิการใจดีในภาพนั้นที่โพสต์ทูเดย์เราลงพื้นที่ไปสอบถามต้นสายปลายเหตุที่ออกมาทำย่อมมีมากกว่าภายใต้ประโยค “ผมอยากตอบแทนลูกค้าที่อุดหนุน” หลังเรื่องราวถูกเปิดเผยลงอินเทอร์เน็ต และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ที่ชายคนนี้ไม่ใช่เพียงทำดีครั้งแรกเพื่อหวังดัง หากแต่ในทุกๆ วันลมหายใจเขาออกของเขานั้นทำดีเสมอมาตลอดระยะเวลา 40 ปี (อ่านเพิ่มเติม : นับถือใจ! ชายเดิยแจกแซนด์วิชฟรี เนื่องในวันเกิด แม้ต้นทุนไม่เท่ากัน แต่ยังเอื้อเฟื้อ นึกถึงเพื่อนมนุษย์)

 

Sponsored Ad

 

        เด็กชายวัย 3 ขวบ ที่อยู่ในสภาพขาลีบ เดินไม่ได้ ยิ่งทำให้คนรู้สึกสงสารได้ง่าย ในช่วงนั้น "ต้น" และแม่ ขอทานได้เงินไม่ต่ำกว่าวันละ 500 บาท และยึดอาชีพนั้นมาตลอดจนเวลาผ่านไปร่วมยี่สิบปี ก่อนที่ผู้เป็นแม่จะได้ทำงานเป็นแม่บ้านในสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งนายจ้างก็เอ็นดู พาแม่และต้นไปทำบัตรต่างด้าว เพื่อจะได้ทำงานอยู่ในเมืองไทยได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ทว่า... ต้น ก็ยังคงนั่งขอทานตามสะพานลอยเหมือนเดิม เพราะเห็นว่าตัวเองพิการ คงไม่สามารถไปทำงานอื่นได้

        ตลอดยี่สิบปีที่หนุ่มพิการตระเวนขอทาน สิ่งหนึ่งที่เขาจะทำเสมอทุกครั้งจนเป็นนิสัยติดตัวไปแล้วก็คือ เมื่อมีผู้ใจบุญโยนเหรียญลงขันให้ต้น ต้นจะหยิบเหรียญด้านที่มีในหลวงขึ้นมา และขอบคุณทุกครั้งที่ได้อาศัยอยู่ในแผ่นดินของท่าน และทำให้เขาได้มีเงินเลี้ยงครอบครัว 

 

Sponsored Ad

 

        จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น "ต้น" คิดได้ว่าควรจะหาอาชีพอื่นทำสักที เพราะการนั่งแบมือขอเงินจากผู้อื่นเช่นนี้เป็นอาชีพที่ไร้ซึ่งศักดิ์ศรี เขาจึงพยายามเก็บเงิน แต่ทว่าการต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัวหลายชีวิตนั้น ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทำให้เขาไม่สามารถเก็บเงินถึงหลักพันได้เสียที และเขาก็ได้อธิษฐานทุกคืนในขณะที่ก้มลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า หากมีใครสักคนให้เงินเขามาทำทุน เขาสัญญาว่าจะเลิกเป็นขอทานอย่างเด็ดขาด และจะหันไปประกอบอาชีพที่มีศักดิ์ศรีมากกว่านี้ โดยไม่กลับมาประกอบอาชีพขอทานอีก

 

Sponsored Ad

 

        และแล้วโอกาสของ "ต้น" ก็มาถึง เมื่อวันหนึ่ง ขณะที่ "ต้น" กำลังคลานขอเงินอยู่ที่สี่แยกไฟแดง "พี่เจี๊ยบ" ชายผู้ใจดีที่เคยให้เงินเขาอยู่เสมอ ๆ ได้เอ่ยปากถามเขาด้วยความเป็นห่วงว่า "น้อง...เหนื่อยไหม...น้อง...อายไหม...ถ้าพี่จะให้เงินน้อง น้องสัญญาได้ไหมว่าจะเลิก"... หลังจากคำถามนั้นสิ้นสุดลง "ต้น" ได้ตอบตกลงอย่างไม่ต้องคิดว่า "เลิกครับ" เพราะนั่นเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจไว้อยู่แล้ว 

        "วันนั้นพี่เจี๊ยบให้เงินผมสองพัน ผมก้มลงกราบเท้าพี่เขาวันนั้นเลย ตลอดชีวิตที่ขอทานมา ไม่เคยมีใครพูดดี ๆ หรือถามเขาว่าเหนื่อยไหมแบบนี้มาก่อนเลย มีแต่พี่เจี๊ยบคนนี้คนเดียว นับตั้งแต่นั้น ผมก็ไม่ใช่เด็กขอทานอีกต่อไปแล้ว" ต้น เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงสะอึกสะอื้น และร้องไห้กับความซาบซึ้งใจที่มีให้กับพี่เจี๊ยบ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า พี่เจี๊ยบผู้ใจดีคนนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งต้นก็ไม่เคยลืมบุญคุณ ยังได้ไปรับศพพี่เจี๊ยบด้วย

 

Sponsored Ad

 

        หลังจากได้เงินสองพันมาแล้ว ต้น ก็นำเงินนั้นไปลงทุนซื้อน้ำส้มขวดมาขายตามสี่แยกไฟแดงแทนการคลานขอทานที่เขาทำมาตลอดยี่สิบกว่าปี จากเงินสองพันบาทวันนั้น ได้เปลี่ยนชีวิตที่อยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรีของต้น ให้สามารถลุกขึ้นยืนและพูดได้เต็มปากว่า "ผมเป็นพ่อค้าครับ" 


        เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ "ต้น" ได้จากการขายน้ำส้ม และเริ่มเพิ่มไปขายแซนด์วิชด้วย เขาจะมอบให้แม่ทั้งหมด ส่วนเงินที่ลูกค้าให้มาโดยไม่เอาเงินทอนนั้น "ต้น" จะมอบให้ภรรยาเพื่อไว้ใช้จ่าย และเลี้ยงดูลูกที่ทำให้ "ต้น" หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งทุกครั้งที่ได้เล่นกับแก้วตาดวงใจคนนี้

 

Sponsored Ad

 

        ก่อนจะออกจากบ้าน สิ่งหนึ่งที่ "ต้น" ทำเป็นประจำก็คือ การก้มลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เพื่อขอให้พระองค์ช่วยคุ้มครองให้เขากลับมาถึงบ้านอย่างปลอดภัย และยังกราบภาพลูกชายคนโตที่เสียชีวิตไปแล้วให้ช่วยคุ้มครองพ่อคนนี้ด้วย

        แม้บางวันต้องตากแดด ตากฝนอยู่นานสองนานกว่าจะขายหมด แต่ "ต้น" ก็รู้สึกภูมิใจที่ตัวเองได้ทำมาหากินอย่างสุจริต และกอบกู้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเองคืนมาจากอดีต 

Sponsored Ad

        "อาชีพเดิมที่เป็นขอทาน ทำให้ผมอาย ได้เงินมาก็ไม่มีความสุข แต่พอผมได้มาขายของ ผมมีความสุขมากกว่า เพราะผมดูเหมือนตัวเองมีราคาขึ้นนิดนึงครับ แม้จะเหนื่อยจะท้อก็ไม่เคยคิดจะกลับไปเป็นขอทานเหมือนเดิม" ต้น ให้คำมั่น


          อย่างไรก็ตาม ในวันอาทิตย์ที่ "ต้น" ไม่ได้ออกมาขายน้ำส้ม เขาก็ไม่ได้นอนเล่นอยู่ที่บ้าน หากแต่ออกมาพายเรือเก็บขวดไปชั่งกิโลขาย หารายได้พิเศษเข้าบ้านอีกทาง พอซื้อข้าวทานได้มื้อหนึ่งก็ทำให้หนุ่มสู้ชีวิตคนนี้มีรอยยิ้มแล้ว


          เรื่องราวชีวิตของ "ต้น" อดีตขอทานผู้ซึ่งพยายามถีบตัวเองให้ขึ้นมาจากจุดต่ำสุดแฝงไว้ด้วยแง่คิดมากมาย สิ่งที่สำคัญก็คือ ทำให้เราได้เห็นความพยายามของมนุษย์คนหนึ่ง ที่พยายามสร้างคุณค่าในชีวิตให้กับตัวเอง แม้เขาจะมีร่างกายไม่ครบ 32 แต่ก็ตั้งใจแน่วแน่ที่จะเลิกงอมืองอเท้า หันมาประกอบอาชีพสุจริตเลี้ยงตัวเอง และเขาก็ทำมันได้สำเร็จจริง ๆ...


ข้อมูลและภาพจาก kapook, posttoday

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ