จาก "วัชพืชไร้ค่า" สู่สมบัติล้ำค่าของคนไทย พระมหากรุณาธิคุณ "ร.๙" เพื่อไทยทั้งประเทศ!

LIEKR:

'หญ้าแฝก' วัชพืชที่ไร้ค่าที่ 'ร.๙' ทรงพลิกดินโทรม สู่สมบัติล้ำค่าของคนไทย!

        เชื่อว่าคนไทยทุกคนล้วนตระหนักถึงพระราชกรณียกิจมากมายหลายโครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่พระองค์ทรงคิดและลงมือทำไว้ให้หลายโครงการ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบเรื่องราวอย่างลึกซึ้งถึงพระราชกรณียกิจสำคัญๆ เหล่านี้

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน อันเนื่องมาจากฝนตกหนัก และน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง ทำให้ผิวดินถูกกัดเซาะจนสูญเสียความอุดมสม­บูรณ์ เป็นเหตุให้ดินพังทลาย ส่งผลเสียหายต่อพื้นที่ทำการเกษตร จึงทรงศึกษาศักยภาพของ หญ้าแฝก ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะ­ล้างพังทลายของหน้าดิน และช่วยรักษาความชุ่มชื้นของน้ำใต้ดินไว้

 

Sponsored Ad

 

           หญ้าแฝก เป็นพืชพื้นบ้านที่ทำหน้าที่เสมือนกำแพงธร­รมชาติที่มีชีวิต ช่วยชะลอการไหลของน้ำ และแรงปะทะของลม คอยกักกั้นตะกอนดิน ไม่ให้หน้าดินพังทลาย ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาปลูกโดยไม่ต้องดูแลม­ากนัก อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าจ่าย

 

Sponsored Ad

 

          สถาบัน international erosion control association หรือ IECA ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล international merit award และธนาคารโลก ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลรากหญ้าชุบสำริด แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณ และพระปรีชาสามารถในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุร­ักษ์ดินและน้ำ

          นับตั้งแต่ พ.ศ. 2534 มาจนถึงปัจจุบัน ผลสำเร็จของโครงการพระราชดำริเรื่อง หญ้าแฝก ไดพลิกฟื้นคืนชีวิตให้กับแผ่นดิน นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์อีก­ครั้ง วันนี้หญ้าแฝกจึงมิได้เป็นเพียงต้นหญ้าที่­ไร้ค่า แต่เป็น ต้นหญ้ามหัศจรรย์ ที่มีอเนกอนันต์ต่อผืนแผ่นดินไทย

 

Sponsored Ad

 

        รัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน จึงทรงศึกษา “หญ้าแฝก” พืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

หญ้าแฝก วัชพืชที่ไร้ค่า ที่รัชกาลที่ 9 ทรงนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างน่าอัศจรรย์

 

Sponsored Ad

 

        จากสภาพปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรลดลง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน จึงทรงศึกษา “หญ้าแฝก” พืชพื้นบ้านของไทย

        ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่ายๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่นๆ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับ “หญ้าแฝก” ขึ้นในที่สุด

 

Sponsored Ad

 

ดังพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงกล่าวเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2546

        “ให้ใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม ดำเนินการขยายพันธุ์ ทำให้มีกล้าหญ้าแฝกเพียงพอ ที่สำคัญต้องไม่ลืมหน้าที่ของหญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ ดินและน้ำ และเพื่อการรักษาดิน ให้ทุกหน่วยงานราชการที่มีศักยภาพในการขยายพันธุ์ ให้ความร่วมมือกับกรมพัฒนาที่ดิน ในการผลิตกล้าหญ้าแฝก และแจกจ่ายกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เพียงพอ”

 

Sponsored Ad

 

สำหรับ “หญ้าแฝก” มีวัตถุประสงค์ของการปลูกหลายกรณีด้วยกัน

        ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา

Sponsored Ad

        การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นา ตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำลำคลองเพื่อกรองตะกอนดิน การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง

        โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดานทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น

        จากผลงานซึ่งเป็นที่ประจักษ์ ทำให้ International Erosion Control Association( IECA) ได้มีมติถวายรางวัล The International Erosion Control Association’s International Merit Award

        แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก <<<

ข้อมูลและภาพจาก taibann

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ