เบื่อไหม "อ่างล้างจานตัน-น้ำไหลช้า" มาดู 10 วิธีแก้แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องง้อช่าง!

LIEKR:

อ่างล้างจานตัน น้ำไหลช้าใช่มั้ย? 10 วิธีแก้แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องง้อช่าง

        เวลาวันหยุดหรือใกล้ช่วงเทศกาลต่างๆ การทำความสะอาดบ้านคงเป็นสิ่งที่หลายๆ ครอบครัวต้องทำ และอ่างล้างจานในห้องครัวคงเป็นจุดที่ทำความสะอาดยากที่สุด ถ้ายิ่งเจอปัญหาอ่างล้างจานตัน ก็คงเป็นปัญหาที่ทำให้หงุดหงิดใจได้เลยก็ว่าได้ มาดู 10 วิธีแก้ปัญหาอ่างล้างจานตันแบบง่ายๆ และไม่ต้องเรียกช่าง

▼เบกกิ้งโซดา เกลือและน้ำส้มสายชู

 

Sponsored Ad

 

        บางครั้งการสะสมของน้ำมันอาจทำให้ท่อน้ำอุดตันได้ ก่อนจะเริ่มทำความสะอาด ให้เทน้ำร้อนลงไปในท่อเพื่อช่วยให้น้ำมันอ่อนตัวลง จากนั้นทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

ขั้นตอน

        - นำเบกกิ้งโซดาประมาณ ½ ถ้วยตวงและเกลือ ¼ ถ้วยตวงมาผสมกัน เทลงไปในท่อ

        - จากนั้นต้มน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวงให้เดือด นำไปเทลงในท่อแล้วปิดท่อโดยทันทีเพื่อไม่ให้มีฟองไหลออกมา

        - ทิ้งไว้ 15 ถึง 30 นาที จากนั้นเทน้ำร้อนลงไปในท่อก็เป็นอันเสร็จ

▼เกลือและน้ำร้อน

 

Sponsored Ad

 

        หากการอุดตันในท่อเพิ่งเกิดได้ไม่นานสถานการณ์ยังไม่ร้ายแรง คุณสามารถเลือกใช้วิธีที่เรียบง่ายนี้ก็ได้

ขั้นตอน 

        - เทเกลือ ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อ จากนั้นเทน้ำร้อนลงไปในท่อตาม ระวังอย่าให้น้ำกระเด็นใส่คน

        - เปิดก๊อกน้ำล้างท่อน้ำตาม หากรู้สึกยังไม่สะอาดก็ทำซ้ำอีกครั้ง

▼น้ำส้มสายชูและเบกกิ้งโซดา

 

Sponsored Ad

 

        น้ำส้มสายชูและเบกกิ้งโซดาเป็นของที่ดีที่สุดในการล้างท่อน้ำอุดตัน และก็เป็นของใช้ใกล้ตัวที่มีอยู่ในห้องครัว

ขั้นตอน 

        - เทน้ำร้อนลงไปในท่อ จากนั้นเทเบกกิ้งโซดา 1 ถ้วยตวงลงไป ทิ้งไว้สักพัก

        - จากนั้นนำน้ำร้อนและน้ำส้มสายชูในอัตราส่วน 1:1 มาผสมกัน แล้วเทลงในท่อให้ไปผสมกับเบกกิ้งโซดา

        - หาอะไรมาปิดท่อให้ดี ทิ้งไว้สักพัก และใช้น้ำร้อนล้างอีกครั้ง

▼ยาอัลคา-เซลท์เซอร์

 

Sponsored Ad

 

        แม้ว่ามันจะเป็นยารักษาโรคกระเพาะชนิดหนึ่ง แต่ก็สามารถใช้ในการล้างท่อน้ำอุดตันได้

ขั้นตอน 

        - เทยาอัลคา-เซลท์เซอร์ 2 ซองลงในท่อ แล้วเทน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวงลงไป

        - จากนั้นเทน้ำร้อนตามลงไปในท่ออีก ก็สามารถแก้ไขปัญหาท่อน้ำอุดตันได้แล้ว หากจำเป็นให้ทำซ้ำขั้นตอนดังกล่าวอีกครั้ง

▼โซดาไฟ

 

Sponsored Ad

 

        ความสามารถในการละลายที่มีประสิทธิภาพของโซดาไฟ สามารถช่วยแก้ปัญหาการอุดตันจากเส้นผมและเศษขยะต่างๆ ได้

ขั้นตอน 

         -ใส่น้ำ 3 ลิตรในถัง จากนั้นเทโซดาไฟ 750 มิลลิลิตรลงไป ผสมให้เข้ากัน อย่าให้มือโดนน้ำส่วนผสมนี้นะ

        - เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีให้รอจนกว่าน้ำจะเริ่มอุ่นและมีเสียง เมื่อได้ที่แล้วให้เทลงในท่อทั้งหมด ทิ้งไว้ 20 นาที

        - จากนั้นเทน้ำร้อนลงไปล้างท่ออีกครั้งก็เป็นอันเสร็จ

▼ทำความสะอาดท่อน้ำแบบ P-trap

 

Sponsored Ad

 

        ส่วนนี้เป็นจุดที่จัดการยาก เพราะจุดนี้มักจะมีเศษอาหาร น้ำมัน และสิ่งสกปรกมากมายสะสมอยู่ วิธีทำความสะอาดมีดังนี้:

ขั้นตอน 

        - ขั้นแรกเตรียมน้ำร้อนหนึ่งถัง ถอดฝาครอบของท่อออก คุณก็จะเห็นสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ข้างใน

        - หลังจากใส่ถุงมือและนำสิ่งสกปรกออกมา ใช้น้ำร้อนช่วยล้างทำความสะอาดเพื่อละลายน้ำมันที่สะสมในท่อให้ออก

        - เมื่อเสร็จแล้วใส่ฝาครอบกลับไปที่เดิมก็เป็นอันเสร็จ

▼สายทะลวงท่อน้ำอุดตัน

Sponsored Ad

        หากไม่อยากเสียเวลากับการแก้ปัญหาท่อน้ำอุดตัน เราแนะนำให้ลองใช้สปริงทะลวงท่อหรือที่เรียกกันว่างูเหล็ก ให้สอดเข้าไปในท่อที่อุดตัน เมื่อเจอกับสิ่งที่อุดตันท่อแล้วก็ใช้งูเหล็กทะลวงเข้าไปพร้อมกับเปิดน้ำทิ้งไล่สิ่งอุดตันตามไปด้วย

▼ไม้แขวนเสื้อใช้ทะลวงท่อ

        หากคุณสามารถมองเห็นเศษขยะที่อุดตันอยู่ในท่อได้ ให้นำไม้แขวนเสื้อมาคลายออกให้เป็นลวดยาวๆ งอปลายขึ้นเล็กน้อยเพื่อทำเป็นหัวตะขอเกี่ยว จากนั้นนำลวดด้านที่มีหัวเกี่ยวหย่อนลงไปในท่อเพื่อเกี่ยวเศษขยะที่อุดตันท่อขึ้นมา

▼ใช้ที่ปั๊มส้วมช่วย

        วิธีการแก้ไขปัญหาท่อน้ำอุดตันที่ง่ายที่สุดก็คือการใช้ที่ปั๊มส้วม แต่จะให้ดีต้องปั๊มด้วยวิธีที่ถูกต้องโดยการครอบที่ปั๊มลงไปที่ปากท่อ นำผ้าเปียกมาคลุมไว้รอบๆ ที่ปั๊มแล้วทำการปั๊มขึ้น-ลงประมาณ 6-10 ครั้งเพื่อดึงเอาสิ่งที่อุดตันอยู่ในท่อขึ้นมา

▼เครื่องดูดฝุ่นดูดหมดทุกสิ่งอุดตัน

        ถ้าที่บ้านมีเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถใช้ทำงานได้ทั้งพื้นที่เปียกและพื้นที่แห้ง แนะนำให้เปิดระบบการทำงานเครื่องดูดฝุ่นให้เป็นแบบเปียก จากนั้นเปิดน้ำหล่อท่อเอาไว้แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นจ่อลงไปที่ปากท่อแล้วดูดสิ่งอุดตันท่อออกมาให้หมด

        ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาท่อน้ำอุดตันที่เราเห็นบ่อย คุณว่าวิธีใดจะใช้ง่ายและได้ผลดีที่สุด

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ