รู้จักประโยชน์ "หญ้าหวาน" หลัง "บิ๊กตู่" แนะให้คนไทยให้หันไปกินหญ้าหวาน

LIEKR:

ยังไงก็ไปลองหามาทานกันดูนะคะ

    จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เรื่องการรับประทานอาหารของคนไทยว่า ขอความกรุณาลดการปรุงด้วยน้ำตาลลง เพราะรสชาติค่อนข้างหวาน คนไทยติดหวานเกินไป ทำลายสุขภาพ เป็นโรคเบาหวานได้หรือเป็นโรคต่างๆ ทำให้เสียค่าจ่ายเป็นจำนวนมาก

    พร้อมระบุ ไทยเองผลิตคิดค้นผลผลิตภัณฑ์หญ้าหวานขึ้นมา ให้ไปลองดูว่าใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ และจะช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมหญ้าหวานด้วย

 

Sponsored Ad

 

    ใครที่ยังไม่รู้จัก “หญ้าหวาน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni อยู่ในวงศ์ Asteraceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ความพิเศษของหญ้าหวาน คือ ส่วนของใบให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่ความหวานนี้ไม่ก่อให้เกิดพลังงานแต่อย่างไร (0 แคลอรี/กรัม) ซึ่งชาวปารากวัยมีการใช้ใบหญ้าหวานผสมกับชาดื่มมานานกว่า 1,500 ปีแล้ว หญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูง จากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600-700 เมตร 

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ยังมีสารสกัดที่เกิดจากหญ้าหวานชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล ด้วยความพิเศษของหญ้าหวานนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ ยาสมุนไพร เครื่องดื่ม เป็นต้น

 

Sponsored Ad

 

ใบหญ้าหวาน

    มนุษย์รู้จักนำสารสกัดที่มีรสหวานจากหญ้าหวานมาบริโภคหลายศตวรรษแล้วโดยชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัย โดยนำหญ้าหวานมาผสมกับเครื่องดื่ม เช่น ชา นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังนำสารให้ความหวานมาผสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผักดอง ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เนื้อปลาบด เป็นต้น

สมุนไพรหญ้าหวาน

 

Sponsored Ad

 

    หญ้าหวานเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2550 และปลูกกันมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้มีการใช้สารสตีวิโอไซด์เพื่อการบริโภค หญ้าหวานจึงจัดอยู่ในพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง

ต้นหญ้าหวาน

    สรรพคุณของหญ้าหวาน มีสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200-300 เท่าแต่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ช่วยบำรุงตับอ่อน ช่วยเพิ่มกำลัง สมานแผลทั้งภายในและภายนอก และช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมอง

ข้อมูลและภาพจาก วิกิพีเดีย, medthai.com, khaosodsentangsedtee

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ