มีเงินเดือนแค่ 9,000 บาท แต่มีเงินเก็บ! บางคนเงินเดือนเป็นแสน แต่เป็นหนี้! สาเหตุก็เพราะ...

LIEKR:

นี่เป็นเรื่องจริงในสังคมไทยเลยค่ะ

        เป็นเรื่องจริงที่สะท้อนสังคมคนทำงานในสมัยนี้ ย้อนกลับมาคิดว่าทำไมหลายคนถึงดิ้นรนมาทำงานในเมืองหลวงกันนัก คิดว่าจะได้เงินเดือนเยอะกว่าที่ทำงานต่างจังหวัดอีกจริงๆ หรือ? เพจดังชื่อว่า "เก็บกะตาง" ได้เผยข้อมูลสะท้อนสังคมไว้ดังนี้

        "...คนที่ทำงานที่บ้านเกิดของตัวเองที่มีเงินเดือนน้อยนิด 8,000- 9,000 บาท แต่มีเงินเก็บเหลือเดือนละ 3,000 บาทเลยทีเดียว"

 

Sponsored Ad

 

ภาพประกอบบทความ

        และในขณะที่คนที่ทำงานในกรุงเทพ แม้ว่าจะได้เงินเดือนเยอะกว่า 2-3 เท่า 18,000 ถึง 30,000 แต่เมื่อถึงสิ้นเดือนกับไม่มีเงินเก็บเลย อีกทั้งยังเป็นหนี้บัตรเครดิต เป็นหนี้นอกระบบ และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมานั่นก็คือค่าครองชีพที่สูง ค่าใช้จ่ายในกรุงเทพมาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ทำงานกรุงเทพฯ ไม่ค่อยจะมีเงินเก็บสักเท่าไหร่

 

Sponsored Ad

 

ภาพประกอบบทความ

        คนหลายคนที่อยู่ในกรุงเทพไม่มีเงินเก็บเพราะว่าค่าใช้จ่ายเยอะมาก ไหนจะค่าจอดรถ จอดรถที่ไหนจะต้องเสียตังค์ทุกที ค่าที่พัก ค่าสังสรรค์ เป็นหนี้บัตรเครดิต ทำตัวสุรุ่ยสุร่าย ซึ่งการใช้เงินแบบนี้จะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาตามมาทีหลังอย่างแน่นอน ดังนั้นเราควรที่จะเตรียมตัวรับมือกับปัญหาเหล่านี้ถ้าหากเรา หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

        1. ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของครอบครัว

        ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของครอบครัว การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเชื่อได้ว่าหลายคนคงเคยได้ยิน หรือเคยทำมาบ้างแล้ว

 

Sponsored Ad

 

        โดยการทำบัญชีรายรับรายจ่ายสามารถศึกษาได้จากหนังสือ หรือตามเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับครอบครัวของตน การทำบัญชีควรทำเป็นประจำทุกวัน อย่าผัดวันประกันพรุ่งเพราะอาจทำให้คุณหลงลืมค่าใช้จ่ายบางอย่างอาจทำให้การทำบัญชีผิดพลาดได้ ทั้งนี้อาจทำกระดานเล็ก ๆ ไว้เขียนค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำไว้เพื่อเตือนตนเองแบ่งเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น

 

ภาพประกอบบทความ

 

Sponsored Ad

 

        2. ออมเงินเพื่ออนาคตที่ดี

        ออมเงินเพื่ออนาคตที่ดี การออมเงินด้วยการทำบัญชีเงินฝากถือได้ว่ามีประสิทธิภาพมากเพราะจะทำให้เราจัดการเงินอย่างเป็นระบบไม่ทำให้เกิดการสับสน โดยการทำบัญชีเงินฝากควรแบ่งเป็น 3 บัญชี คือ บัญชีค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน บัญชีเพื่อการลงทุนและบัญชีการออม ควรแบ่งเงินในสัดส่วนที่พอเหมาะสำหรับฝากทั้ง 3 บัญชี

        3. วางแผนอนาคตให้ลูก

        วางแผนอนาคตให้ลูก ครอบครัวไหนที่มีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นย่อมต้องอยากให้ลูกมีอนาคตที่ดี การวางแผนอนาคตให้กับลูกต้องใช้เงินจำนวนมาก เช่น ค่ากิน ค่ารักษาพยาบาล หากลูกเจ็บป่วย ค่าเทอมที่ต้องจ่าย เป็นต้น การคำนวณและเก็บออมเงินไว้ก่อนย่อมส่งผลดีต่อตัวคุณเองไม่ลำบากในภายหลังและส่งผลต่ออนาคตที่ดีของลูกอีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

ภาพประกอบบทความ

        4. ตัดใจจากของฟุ่มเฟือย

        ตัดใจจากของฟุ่มเฟือย หากคุณต้องการมีค่าใช้จ่ายที่เพียงพอต่อสมาชิกในบ้านและมีเงินเก็บเพื่ออนาคตที่ดี การตัดใจการค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยต่าง ๆ สามารถทำให้เงินของคุณเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องทำงานหนักเพื่อเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น เพียงแค่ใช้เงินเท่าที่มีอยู่แต่ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือยออกไป ไม่ว่าจะเป็น ค่าเครื่องสำอางราคาแพงอาจมีการกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องสำอางไว้และห้ามใช้จ่ายเกินกว่าที่กำหนด หรือสิ่งของบางอย่าง หากเกิดการชำรุดบางครั้งการซ่อมแซมอาจทำให้ประหยัดเงินมากกว่าการซื้อใหม่ก็เป็นได้

 

Sponsored Ad

 

ภาพประกอบบทความ

        การออมเงินไม่ยากอย่างที่คิด แต่หลายๆ คนก็คงคิดในใจว่า “ก็พูดง่ายนิ มันทำยากนะ รายละเอียดมันเยอะ” ใช่ครับ มันอาจจะยากหน่อย แต่ถ้าเราค่อยๆ ทำทีละอย่าง ทำแบบที่กล่าวมาไปเรื่อยๆ ผมคิดว่ามันได้ผลดีเลยนะครับ ลองทำดูครับ ทีละนิดทีละหน่อย แล้วคุณจะประสบความสำเร็จกับการเก็บออมเงิน

ภาพประกอบบทความ


ข้อมูลและภาพจาก teeneethailand2

บทความที่คุณอาจสนใจ