ผู้เชี่ยวชาญเตือน 4 พฤติกรรมเด็กเสี่ยงถูกตามใจมากเกินไป เกิน 6 ขวบจะแก้ลำบาก!

LIEKR:

พฤติกรรมของเด็กเกิดจากการเลี้ยงดูทั้งนั้น!

        เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลง การเลี้ยงดูและพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็กก็เปลี่ยนไปตามกัน ต้องยอมรับว่าในสมัยก่อนเด็กส่วนใหญ่อยู่ในกรอบระเบียบมากกว่าปัจจุบัน พ่อแม่หลายคนก็เกิดปมเล็ก ๆ ในจิตใจที่ตนเองในสมัยก่อนไม่ได้อยู่อย่างสบาย จึงมักเลี้ยงดูลูกและตามใจลูกทุกอย่างอยู่เสมอ ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนผู้ปกครองถึงพฤติกรรม 4 อย่างของเด็กที่ควรให้ความสำคัญ เพราะหากปล่อยไว้เกินกว่า 6 ขวบจะแก้ไขได้ยาก

1. ชอบต่อรอง (แบบมีเงื่อนไข)

 

Sponsored Ad

 

        เช่น “ถ้าจะให้หนูทำการบ้าน ต้องให้เงินค่าขนมหนูก่อน” หรือ “ถ้าไม่ให้ดูโทรทัศน์ ต้องซื้อของเล่นให้หนู”

        ถึงแม้ว่าการเรียนเป็นหน้าที่ของเด็ก หรือ การให้ดูโทรทัศน์หรือเล่นแท็บเล็ตในช่วงเวลาจำกัดก็เพื่อสุขภาพของตัวเด็กเอง แต่ก็ไม่วายที่จะโดนเอ่ยปากพูดเงื่อนไขแลกเปลี่ยนไปเสียทุกเรื่อง พฤติกรรมเช่นนี้มักเกิดจากตัวพ่อแม่เด็กเอง ที่มักเสนอเงื่อนไขให้เด็กบ่อยครั้ง จนทำให้เด็กจดจำและติดเป็นนิสัย จึงควรเริ่มที่ผู้ใหญ่เองที่ต้องเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเด็กใหม่ โดยสื่อสารให้เด็กรู้ว่าการทำการบ้านนั้นเป็นหน้าที่ของเด็กทุกคน ไม่ใช่ทำเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่เด็กอยากได้ ไม่เช่นนั้นแล้วเด็กก็จะเข้าใจผิดไปตลอดว่า ต้องทำการบ้านเพื่อพ่อแม่ไม่ใช่เพื่อตัวเอง และยังส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ระยะยาวของเด็กอีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

2. การตอบโต้ผู้ใหญ่ด้วยความรุนแรง

        เช่น เด็กมีพฤติกรรมดุด่า ต่อว่า หรือแม้กระทั่งทุบตีผู้ใหญ่ทุกครั้ง เมื่อมีเรื่องราวที่ไม่สบอารมณ์เข้ามา

        อันที่จริงในช่วงเวลาหนึ่ง เด็กทุกคนจะมีพฤติกรรมนี้ได้ เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ดี ไม่สามารถเก็บความดีใจ เสียใจ หรือโกรธได้ดีพอเท่าผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงแสดงออกมาทันทีผ่านสีหน้า วาจา หรือแม้กระทั่งทุบตีให้เห็น พฤติกรรมเช่นนี้จำเป็นต้องแก้ไขในทันที การปล่อยให้เด็กมีพฤติกรรมเช่นนี้ไปตลอด โดยที่คิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรเป็นเรื่องที่ผิดมาก เพราะเมื่อเวลาผ่านไปนานจนติดเป็นนิสัยแล้วจะแก้ไขได้ยาก ดังนั้นเด็กที่ต่อว่าผู้ใหญ่ในช่วงวัย 3-4 ปียังพอเข้าใจได้ แต่หากปล่อยเกินช่วงอายุนี้ อาจกลายเป็นเพราะพ่อแม่รังแกฉันแทน เพราะไม่ได้อบรมสั่งสอนลูกให้เข้าใจอย่างถูกต้องตั้งแต่ยังเล็ก ดังเช่นข่าวเด็กวัย 11 ปีทุบตีคนในตลาดจนปรากฎเป็นข่าวดังก็มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ

 

Sponsored Ad

 

3. ตัวเองคือจุดศูนย์กลาง

        หากมีขนมอร่อยอยู่ตรงหน้า เด็กจะแบ่งให้คุณบางส่วน หรือเก็บไว้เองคนเดียว ?

        ผู้ใหญ่สมัยนี้เวลามีอาหารอร่อยก็มักจะให้เด็กทานก่อนเสมอ ตัวเองค่อยกินเท่าที่เหลือก็พอ นี่อาจเป็นการแสดงความรักอย่างหนึ่ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาจส่งผลเสียต่อเด็กได้ เนื่องจากเด็กอาจถูกตามใจจนกลายเป็นมีนิสัยเห็นแก่ตัวได้ เมื่อมีอาหารอร่อยหรืออะไรดี ๆ เข้ามาก็จะเก็บไว้คนเดียว ไม่แบ่งให้ใครเลย หากยังไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อเติบโตขึ้นเด็กเหล่านี้ก็จะไม่คิดถึงพ่อแม่ หรือครอบครัวเลย อาจเริ่มต้นด้วยการสอนเด็กให้รู้จักคิดถึง และเข้าใจความรู้สึกคนอื่นบ้าง หรือรู้จักแบ่งขนมให้คนในครอบครัวทานตั้งแต่ยังเด็กก็ได้

 

Sponsored Ad

 

4. ทำตัวไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ

        เช่น วิ่งเล่นในรถไฟหรือบนเครื่องบิน พูดเสียงดังในโรงภาพยนตร์ ขว้างอาหารเละเทะในร้านอาหาร เป็นต้น

        พฤติกรรมเช่นนี้มักสร้างความเดือดร้อน อันตราย และก่อความความรำคาญให้แก่ผู้คนที่อยู่รอบข้าง การอ้างว่าเด็กก็เป็นแบบนี้อาจไม่ถูกต้องนัก ถึงแม้ว่าการที่เด็กรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจใช่ แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องโทษผู้ปกครองที่ไม่ยอมอบรมสั่งสอนลูกให้รู้จักการปฏิบัติตนในที่สาธารณะด้วย การสอนให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นเรื่องจำเป็น ควรมีมารยาท และคำนึงถึงผู้อื่นด้วย หากเด็กยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ปล่อยให้ติดจนเป็นนิสัย เมื่อโตขึ้นอาจไปสร้างความเสียหายที่ร้ายแรงต่อตัวเด็กเองและผู้อื่นตามมาได้ และในช่วงวัย 3-6 ขวบ ถือเป็นช่วงเวลาการอบรมสั่งสอนที่เหมาะสมที่สุดในการให้เด็กเข้าใจเรื่องการใช้ชีวิตในสังคมเบื้องต้น

        จะเห็นได้ว่าการหากเราอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยให้ข้อมูลอย่างถูกต้องเป็นเรื่องจำเป็น เพราะเมื่อเด็กเมื่อโตขึ้นก็จะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้ ส่งผลดีทั้งต่อตัวเด็กเองและพ่อแม่ด้วย

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ