เปิดข้อกฏหมาย 4 ฉบับ ในพระบรมราชโองการถอดฐานันดรศักดิ์ “เจ้าคุณพระสินีนาฏ”

LIEKR:

เปิดข้อกฏหมาย 4 ฉบับ ในพระบรมราชโองการถอดฐานันดรศักดิ์ “เจ้าคุณพระสินีนาฏ” อ้างใช้อำนาจตามความในกฎหมายรวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ

    จากกรณี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี พ้นจากตำแหน่งถอดฐานันดรศักดิ์ และยศทหาร ตลอดจนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา เนื่องจากกระทำความผิดราชสวัสดิ์ และไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ตามที่เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้ โดยได้อ้างถึงการอาศัยอำนาจตามความในกฎหมายรวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ จำนวน 8 มาตรา

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

 

Sponsored Ad

 

    - สื่อนอกแห่รายงานข่าว กษัตริย์ไทย ทรงโปรดเกล้าฯ ถอดยศเจ้าคุณพระสินีนาฏ เนื่องจากไม่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

    - เปิดข้อมูล "ราชสวัสดิ์" สาเหตุที่ทำให้ "เจ้าคุณพระสินีนาฏ" ถูกถอดยศ จนกลายเป็นข่าวใหญ่

    - ประวัติ อดีตเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี อดีตเจ้าคุณพระ ผู้ถูกถอดยศ เนื่องจากกระทำความผิดราชสวัสดิ์


อาศัยอำนาจตามข้อกฎหมายทั้งหมด ได้แก่

    - มาตรา 9 และมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 

    - มาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560

 

Sponsored Ad

 

    - มาตรา 10 มาตรา 13 และมาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560

    - มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

    

    โดยทางเว็บไซต์ บีบีซีไทย ได้เปิดข้อกฎหมายที่ปรากฏในพระบรมราชโองการฉบับนี้ ซึ่งระบุถึง “พระราชอำนาจ” และ “พระราชอัธยาศัย” ในการสถาปนาและถอดฐานันดรศักดิ์ และในการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการในพระองค์

 

Sponsored Ad

 


มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

    อยู่ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ความในมาตรา 9 ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาและถอดฐานันดรศักดิ์และพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์”

มาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

 

Sponsored Ad

 

    การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

    การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา

    อย่างไรก็ตาม ความในมาตรานี้เป็น 1 ใน 7 มาตรา ที่มีการแก้ไขตามข้อสังเกตพระราชทานที่มีขึ้นภายหลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการให้ความเห็นชอบของประชาชนในชั้นประชามติไปแล้ว โดยความในฉบับผ่านประชามติระบุว่า “การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย…”

 

Sponsored Ad

 

หนึ่งในภาพพระราชทานเมื่อ 22 ส.ค. 2562

    มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560

กฎหมายฉบับนี้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2560

 

Sponsored Ad

 

    ในมาตรา 4 ระบุว่า การจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามพระราชบัญญัตินี้

    การจัดระเบียบราชการในพระองค์และการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ และสถานภาพของข้าราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา

    ส่วนราชการในพระองค์ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด ทั้งนี้ เว้นแต่ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้หรือไม่พระราชกฤษฎีกา

    ส่วนราชการในพระองค์ส่วนราชการใดจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลให้ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย

Sponsored Ad

    บรรดากฎหมายใดที่บัญญัติถึงคำว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้หมายความรวมถึงข้าราชการในพระองค์ ทั้งนี้ เว้นแต่ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้หรือในพระราชกฤษฎีกา

ภาพจาก โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ

มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560

    มาตรา 9 ระบุว่า ในวาระเริ่มแรก การใดที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์ หรือหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ในระหว่างการดำเนินการหรือเคยได้ดำเนินการได้ตามกฎหมาย เมื่อได้โอนมาเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ยังคงดำเนินการต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยหรือมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่น

มาตรา 10 แห่ง พ.ร.ฎ. จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560

    ในมาตรานี้กำหนดให้ข้าราชการในพระองค์มี 4 ประเภท ได้แก่ องคมนตรี, ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือน, ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหาร และข้าราชการในพระองค์ฝ่ายตำรวจ

    บรรดากฎหมายใดที่บัญญัติถึงคำว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้หมายความรวมถึงข้าราชการในพระองค์ตามมาตรานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่การมีสถานภาพเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

    ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารให้มีสถานภาพเป็นทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร กฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ประมวลกฎหมายอาญาทหาร กฎหมายว่าด้วยยศทหาร กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารด้วย เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชกฤษฎีกานี้

    ข้าราชการในพระพระองค์ฝ่ายตำรวจให้มีสถานภาพเป็นข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชกฤษฎีกานี้

    การแต่งตั้งให้ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารและข้าราชการในพระองค์ฝ่ายตำรวจมียศชั้นใดหรือถอดผู้ใดออกจากชั้นยศใด ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

มาตรา 13 แห่ง พ.ร.ฎ. จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560

    กฎหมายลูกฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2560 โดยมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

    มาตรา 13 เว้นแต่ข้าราชการในพระองค์ในตําแหน่งองคมนตรี การให้ข้าราชการในพระองค์ผู้ใดปฏิบัติงานในส่วนราชการในพระองค์หน่วยใดและดํารงตําแหน่งใด รวมทั้งการโอน การย้าย และการให้พ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อการนี้จะทรงกําหนดหรือทรงมอบหมายให้ข้าราชการในพระองค์ผู้ใดเป็นผู้ลงนามในคําสั่งเกี่ยวกับการดํารงตําแหน่งของข้าราชการในพระองค์ดังกล่าวก็ได้

    ข้าราชการในพระองค์จะเป็นองคมนตรี ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือน ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหาร และข้าราชการในพระองค์ฝ่ายตํารวจ ในขณะเดียวกันมิได้

มาตรา 15 แห่ง พ.ร.ฎ. จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560

    การดําเนินการเกี่ยวกับราชการในพระองค์และการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อการนี้จะทรงกําหนดหรือทรงมอบหมายให้ข้าราชการในพระองค์ผู้ใดเป็นผู้ลงนามในหมายรับสั่งเพื่อรับผิดชอบในการนําไปปฏิบัติต่อไปก็ได้ โดยมีการดำเนินการตามวรรคแรกทั้งหมด 8 ข้อ

มาตรา 12 ของ พ.ร.บ. ยศทหาร พ.ศ. 2479

    มาตรา 12 “การถอดหรือการออกจากยศสัญญาบัตรจะกระทำได้โดยประกาศพระบรมราชโองการ”

    พ.ร.บ. ยศทหาร 2479 ตราไว้เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2479 ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เจ้าพระยายมราช พล.อ. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน

ข้อมูลและภาพจาก bbc

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ