ย้อนเส้นทางความสำเร็จ "ทัพนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง" จากรุ่นสู่รุ่น ในเวทีชิงแชมป์โลก

LIEKR:

เราผ่านกันมาแล้ว 3 รุ่น ต้องบอกเลยว่าเส้นทางของทัพนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทยไม่ง่ายจริง ๆ มาดูกันค่ะว่าที่ผ่านมาเราขึ้นไปอยู่ที่อันดับเท่าไหร่ในศึก #วอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก และปีนี้เราจะทำลายสถิตินั้นได้มั้ย

        จบลงเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับศึกวอลเลย์บอล เนชั่นส์ ลีก 2022 โดยสาว ๆ ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของ "โค้ชด่วน" ดนัย ศรีวัชรเมธากุล ก็สามารถผ่านเข้าไปได้ถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ทำให้อันดับโลกของทีมชาติไทยพุ่งขึ้นมาถึง 5 อันดับ

        [อ่านข่าว : ส่องอันดับโลกล่าสุดของ "ทีมชาติไทย" หลังพ่ายให้เจ้าภาพ "ตุรกี" ตกรอบเนชันส์ ลีก 2022]

 

Sponsored Ad

 

        โดยรายการต่อไปที่สาว ๆ ทีมชาติไทยจะต้องไปแข่งขันคือรายการที่ใหญ่ที่สุดของวอลเลย์บอลนั่นคือ "วอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก" โดยเป็นเวทีระดับโลกที่นักวอลเลย์บอลทั้งหญิงและชายต่างอยากเข้าไปแข่งขันกันทั้งนั้น

 

Sponsored Ad

 

        โดยทีมชาติไทยสามารถผ่านเข้าไปเล่นวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกในมี 1998 ที่ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การนำทีมของ "โค้ชอ๊อต" เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร ที่พาทัพนักกีฬาวอลเลย์บอลสาวไทย โดยตอนนั้นทีมชาติไทยได้จบที่อันดับ 15 จากทั้งหมด 16 ทีม จากการลงสนามแข่ง 3 นัด และแพ้ทั้ง 3 นัด และเก็บไม่ได้เลยแม้แต่เซตเดียว

        ต่อมาปี 2002 โค้ชอ๊อดได้ส่งทีมที่มีผู้เล่นผสมระหว่างเด็ก ๆ รุ่นใหม่และดาวนักตบรุ่นพี่ลงสนามที่ประกอบไปด้วย แอนณา ไภยจินดา, พัชรี แสงเมือง, ศรัญญา ศรีสาคร, วรรณา บัวแก้ว, อัมพร หญ้าผา และปลื้มจิตร์ ถินขาว โดยปีนั้นทัพลูกยางสาวไทยจบการแข่งขันด้วยอันดับที่ 20 จากทั้งหมด 24 ทีม จากการลงสนามแข่ง 5 นัด แพ้ 4 นัด และชนะ 1 นัด รวมถึงเก็บเซตมาจากจีนได้อีก 1 เซตด้วย และนี่ถือเป็นชัยชนะครั้งแรกบนเวทีชิงแชมป์โลกของทัพลูกยางสาวไทยเลยก็ว่าได้

 

Sponsored Ad

 

        ต่อมาปี 2006 โค้ชอ๊อตก็ได้มีการหานักกีฬาวอลเลย์บอลหน้าใหม่ผ่านโครงการ "ดรีมทีม" เพื่อมาทดแทนดาวตบรุ่นพี่ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปีนั้นสาว ๆ ลูกยางไทยไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกไปแข่งขันได้

 

Sponsored Ad

 

        ก่อนที่ทัพลูกยางสาวไทยจะสามารถกลับเข้าไปแข่งขันในเวลาทีชิงแชมป์โลกได้อีกครั้งในปี 2010 โดยปีนี้โค้ชอ๊อดได้ส่ง ปลื้มจิตร์ ถินขาว, วิลาวัลย์ อภิญญาพงษ์, นุศรา ต้อมคำ, อรอุมา สิทธิรักษ์, มลิกา กันทอง, ปิยะนุช แป้นน้อย รวมถึง หัตถยา บำรุงสุข ที่เพิ่งโค่นทีมชาติจีนไปได้ในศึกแชมป์เอเชีย ปี 2009 จนผงาดถึงเป็นแชมป์ปีดังกล่าวได้ ส่วนในการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกปี 2010 ทีมชาติไทยถูกจับไปอยู่ร่วมสายกับทีมระดับโลกอย่าง สหรัฐอเมริกา, บราซิล, อิตาลี, คิวบา และเยอรมนี โดยปีนั้นทีมชาติไทยได้จบที่อันดับ 13 จากทั้งหมด 24 ทีม โดยปีนี้ถือว่าเป็นอันดับที่ดีที่สุดในตอนนั้นเลยก็ว่าได้

 

Sponsored Ad

 

        จนกระทั่งต่อมาปี 2014 โดยปีนี้ทางสมาคมวอลเลย์บอลไทยจำเป็นจะต้องแบ่งนักกีฬาออกเป็น 2 ทีมเนื่องจากปีนี้มีโปรแกรมการแข่งขันคาบเกี่ยวกันระหว่าง "ชิงชิงแชมป์โลก" และ "เอเชียนเกมส์" โดยโค้ชอ๊อดได้รับหน้าที่คุมทัพนักกีฬาวอลเลย์บอลไปแข่งรายการชิงแชมป์โลก โดยประกอบไปด้วย พรพรรณ เกิดปราชญน์ (กัปตันทีม), อัจฉราพร คงยศ, โสรยา พรหมหล้า, ชัชชุอร โมกศรี ที่ขณะนั้นอายุเพียงแค่ 15 ปี โดยมีรุ่นพี่อย่าง วรรณา บัวแก้ว ไปช่วยประคองทีม โดยปีนั้นทัพลูกยางสาวไทยก็จบด้วยอันดับที่ 17 จากทั้งหมด 24 ทีม ส่วนทัพนักกีฬาที่ไปแข่งเอเชียเกมส์นั้นสามารถอีคว้าเหรียญทองแดงประวัติศาสตร์มาครองได้สำเร็จ

 

Sponsored Ad

 

        จนกระทั่งต่อมาปี 2018 "โค้ชด่วน" ดนัย ศรีวัชรเมธากุล ได้เข้ามาทำหน้าที่แทน "โค้ชอ๊อต" เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร ที่ประกาศอำลาทีมชาติ หลังจบเวิลด์กรังปรีซ์ 2016 รอบสุดท้าย โดยปีนั้นทัพนักกีฬาวอลเลย์บอลของไทยที่ประกอบไปด้วย ปิยะนุช แป้นน้อย, พรพรรณ เกิดปราชญ์, ทัดดาว นึกแจ้ง, ปลื้มจิตร์ ถินขาว, อรอุมา สิทธิรักษ์, วัชรียา นวลแจ่ม, วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์, นุศรา ต้อมคำ, ชิตพร กำลังมาก, มลิกา กันทอง, พิมพิชยา ก๊กรัมย์, อัจฉราพร คงยศ, ชัชชุอร โมกศรี และ สุพัตรา ไพโรจน์ ก็สามารถผ่านเข้าสู่รอบที่ 2 (รอบ 16 ทีมสุดท้าย) และจบที่อันดับที่ 13 

Sponsored Ad

        จนกระทั่งล่าสุดศึกวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก 2022 กำลังจะเริ่มขึ้นในวันที่ 23 กันยายน ที่จะถึงนี้ ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศโปแลนด์ 

        โดยปีนี้ทัพลูกยางสาวไทยอยู่ร่วมสายกับเจ้าภาพร่วมอย่างโปแลนด์, ตุรกี, โดมินิกัน, เกาหลีใต้ และโครเอเชีย

        อย่างไรก็ตามอย่าลืมเป็นกำลังใจให้กับทัพนักกีฬาวอลเลย์บอลกันด้วยนะคะ

บทความที่คุณอาจสนใจ