เอกชนทำ "ฟุตปาธ" ให้ประชาชน แต่อยู่ดีดีโดน กทม. สั่งรื้อออก เพราะจะทำใหม่ ด้านชาวเน็ตวิจารณ์ยับ!

LIEKR:

ชาวเน็ตสงสัย??? "สวยหรู แข็งแรงทนทานขนาดนี้ สั่งรื้อทำไม?"

        เรียกได้ว่ากำลังกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอยู่ในโลกโซเชียลบ้านเราอยู่ ณ ขณะนี้เลย กับกรณีของกทม. ที่ได้ทำการรื้อทางเท้าทางเอกชนสร้างเอาไว้เพื่อเป็นสาธารณะสมบัติให้แก่ชาว กทม. จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา

        เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเพจเฟซบุ๊ก กลุ่มคนไทยขอทวงคืนทางเท้า ได้ทำการโพสต์เรื่องราวดังกล่าว โดยมีแคปชันว่า…

 

Sponsored Ad

 

        ไม่รู้ว่า กทม.มี “แซ่รื้อ” หรืออย่างไร ทำไมรื้อทางเท้าสร้างใหม่ได้ทุกปี ขนาดว่าทางเท้าดีๆ ไม่ผุ ไม่พัง ใช้วัสดุสวยงาม แข็งแรง ทนทาน แบบหน้าโรงแรม JW MARRIOTT ตรงแถวนานา ก็ยังไม่รอดต่อการรื้อ

        เอกชนรึก็อุตส่าห์ทำให้เป็นสาธารณะสมบัติแก่ชาว กทม. แต่สุดท้ายก็เป็นอย่างที่เห็นในภาพ ทุบเหี้ยน!!!

        บอกเลยว่าฟุตบาทตรงนั้นใช้ของอย่างดี แน่น ไม่ปริแตก และแข็งแรงแบบนั้นมานานหลายปี แต่ไม่รู้ว่าผีอะไรดลใจให้ กทม. ทุบทำทิ้งทั้งๆ ที่มันยังดีอยู่

 

Sponsored Ad

 

        เชื่อเลยว่า เดี๋ยว กทม. มันจะเอาแผนปูแบบโง่ๆ ห่วยๆ ที่เราเห็นๆ กันมาใส่แทน และทำแบบหลวมๆ ลวกๆ ข้างล่างอัดทรายง่ายๆ เดินแล้วน้ำกระเด็นดีดเต็มตีนแบบเดิมชัวร์ เพราะแถวนานาที่เพิ่งทำไปก็ห่วยไม่แพ้ทุกที่ที่ทำมาก่อนหน้า

        เขตคลองเตย และ กทม. ต้องมีคำอธิบายในเรื่องนี้ ว่าทางเท้าที่มันก็ยังดีๆ อยู่จะรื้อทำไม??”

ภาพก่อนและหลังรื้อฟุตปาธที่เป็นประเด็น

        โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากชาวเน็ตเป็นจำนวนมาก หลายคนต่างก็เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันไปต่างๆ นานา

.

 

Sponsored Ad

 

.

 

        หลังจากที่กลายเป็นประเด็นให้ชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์กันไปได้ไม่นาน รองผู้อำนวยการสำนักการโยธาของกทม. (หน่วยงานที่รับผิดชอบการรื้อฟุตปาธดังกล่าว) ได้ออกมาเปิดเผยกับทางโพสต์ทูเดย์ว่า…

 

Sponsored Ad

 

        โครงการดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงทางเท้า ตั้งแต่ทางรถไฟไปจนถึงแยกอโศก ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อทำให้ดีขึ้นและทำให้เหมือนกันตลอดทั้งสาย

        ส่วนประเด็นที่ถูกชาวเน็ตวิจารณ์ว่าทางเท้าที่เอกชนทำก็แข็งแรงดีอยู่แล้ว จะไปรื้อออกทำไม? ทางด้าน รอง ผอ. กล่าวว่า ท่านเองก็ไม่แน่ใจว่าที่เอกชนสร้างนั้นจะแข็งแรงแค่ไหน แต่ของ กทม. จะดำเนินการก่อสร้างตามแบบมาตรฐาน มั่นใจเรื่องความแข็งแรงได้อย่างแน่นอน

ภาพทางเท้าก่อนถูกรื้อ

        นอกจากนี้ยังมีประเด็นในเรื่องของการดูแลและการซ่อมบำรุง โดยระบุว่าหากในอนาคตทางเท้าเกิดเสียหายขึ้นมาแล้วเอกชนไม่ซ่อมแซม ทางกทม. เองก็จะไม่มีอุปกรณ์หรือกระเบื้องชนิดเดียวกันมาซ่อมให้เหมือนเดิม ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องรื้อ และทำให้เหมือนกันทั้งหมดนั่นเอง

ข้อมูลและภาพ จาก catdumb / posttoday

บทความที่คุณอาจสนใจ