เปิดชีวิต "อนุทิน" เป็นทั้งนักบิน-วิศวกร-จิตอาสา เจ้าสัวมากบารมี ว่าที่นายกฯ คนต่อไป?

LIEKR:

"เสี่ยหนู" ว่าที่นายกฯ คนต่อไป?

        วินาทีนี้ สปอตไลท์การเมืองสาดส่องมายัง “ภูมิใจไทย” พรรคการเมืองขนาดกลางที่มีกำลังต่อรองทางการเมืองสูงที่สุด เพราะมีคอนเนกชั่นครบทุกขั้วทั่วทั้งกระดานการเมือง โดยมี “เสี่ยหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล (อายุ 52 ปี) นั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรค ทว่าชื่อนี้มีแต่ความไม่ธรรมดา พร้อมด้วยที่มามากบารมี บุคลิกไร้ศัตรู...

        หากใครจะดูแคลน “ตัวแปร” นี้ เห็นจะผิดถนัด เพราะพรรคภูมิใจไทยของ “เสี่ยหนู” ก็เคยสร้างปรากฏการณ์การเมืองมาแล้ว จนหลายคนหงายเงิบ แถมเสี่ยหนูเองก็ไม่ใช่คนหน่อมแน้มโนเนม หากไม่เชื่อ มาไล่เรียงเส้นทางชีวิตของผู้ชายชื่อ “หนู” ที่ดูๆ แล้วคงไม่หนูดั่งชื่อ

 

Sponsored Ad

 

เสี่ยหนู - ธนาธร

        อนุทิน คนนี้มีหลายบทบาท เขาเป็นได้ทั้งวิศวกร นักบิน และอาสาสมัครช่วยชีวิต ส่วนการทำงานในช่วงแรกของ “อนุทิน” นั้น วนเวียนอยู่ในอาชีพที่ร่ำเรียนมา เขาเป็นวิศวกรในบริษัทเอกชนหลายแห่ง รวมทั้งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจของผู้เป็นพ่อ 

 

Sponsored Ad

 

.

        ส่วนผู้เป็นพ่อของเขาคือ “ชวรัตน์ ชาญวีรกูล” ผู้ก่อตั้งบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

        ตามครรลองของเมืองไทยที่เจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ จะเข้ามาเป็นนายทุนให้กับพรรคการเมือง จนในที่สุดนายทุน(บางคน) ก็จะได้มีบทบาทในพรรค หรือแม้กระทั่ง โดดเด่นโด่งเด้งเข้าไปเป็นนักการเมืองเสียเอง

 

Sponsored Ad

 

เส้นทางการเมือง "อนุทิน"

        อนุทิน ก้าวเข้าสู่เส้นทางทางการเมืองครั้งแรก จากการผลักดันของผู้เป็นพ่อ โดยในปี 2539 อนุทิน ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร โดยช่วงนั้น ผู้เป็นพ่อของอนุทิน นั่งรัฐมนตรีช่วยคลัง สมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ โดยมาในโควตาของพรรคชาติพัฒนา

        จนมาปี 2544 ในรัฐบาลไทยรักไทย ของ(อดีต)นายกฯ “ทักษิณ ชินวัตร” อนุทินได้เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และได้เป็นกรรมการที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

 

Sponsored Ad

 

.

        จากนั้น ยังมีบทบาทอยู่อีกหลายกระทรวง กระทั่งหมดหน้าที่ไป เพราะรัฐบาลทักษิณถูกยึดอำนาจจาก คปค. เมื่อ 19 กันยายน 2549 และต้องติดล็อกอยู่ในบ้านเลขที่ 111(ใช้เรียกอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จำนวน 111 คน ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี) เพราะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีตั้งแต่ 30 พฤษภาคม 2550

        จากพรรคไทยรักไทย มาเป็นพรรคพลังประชาชน แต่ก็ถูกยุบอีก การเมืองเต็มไปด้วยดราม่ามากมาย ระหว่างนั้น ส.ส.ในพรรคไทยรักไทย และพลังประชาชน แตกก๊วนแตกกอ แยกหน่อออกไปมาก

 

Sponsored Ad

 

จับมือเพื่อนรัก เนวิน แยกวง

        โดยเฉพาะ อนุทิน กับเพื่อนรัก “เนวิน” และ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ก็แยกมาตั้งวงใหม่ โดยใช้ชื่อ “พรรคภูมิใจไทย” ซึ่งอนุทินถึงกับออกปากว่า "ตนกับเนวินนั้น เรียกว่า หอบหิ้วกันมาสร้างพรรคด้วยกันเลย"

        เมื่อเข้าปี 2551 พรรคภูมิใจไทย ก็พลิกมายืนขั้วตรงข้ามรัฐบาล จนกลายเป็นที่มาของวาทกรรมทางการเมืองที่ว่า “ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร” ยกมือให้ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้นั่งเก้าอี้นายกฯ โดย “ปู่จิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้เป็นพ่อของอนุทิน ได้เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมานอนกอด

 

Sponsored Ad

 

ซ้าย-ชวรัตน์ ชาญวีรกูล

        พอเข้าปี 2554 คนไทยมีรัฐบาลพรรคเพื่อไทย นำโดย นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงทำให้พรรคภูมิใจไทย ตกไปอยู่ที่นั่งฝ่ายค้าน โดย อนุทิน ที่เพิ่งจะหลุดออกมาจากการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ได้กลับมานั่งเก้าอี้พรรคภูมิใจไทยอีกครั้ง

        ส่วนเนวิน หันไปสนใจเรื่องฟุตบอล และทุ่มเทให้ทีมฟุตบอลบ้านเกิดบุรีรัมย์ แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่า การตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ ในพรรค อนุทินต้องหันมาปรึกษาหัวชนกันกับเนวินแทบทั้งสิ้น

Sponsored Ad

        วันเวลาผันผ่าน กระทั่ง ทหารเข้ามายึดอำนาจ ชื่อของ “อนุทิน” จึงเงียบหายไปพักใหญ่ แต่ก็ยังจะพอมีสัมภาษณ์กับสื่อบ้างประปราย จนปี่กลองการเมืองภายใต้รัฐบาล คสช. เริ่มโหมโรง บทบาทของเขากลับมาเฉิดฉายอีกครั้ง! พรรคภูมิใจไทย ในเที่ยวนี้ มาแรงเปรี้ยงปร้างสอย ส.ส.ทะลุ 51 ที่นั่ง กลายเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะก้าวเท้าไปอยู่ฝั่งไหน ฝ่ายนั้นได้เป็นรัฐบาล!

จุดยืน อนุทิน ก่อนเลือกตั้ง

        ไม่นานมานี้ อนุทิน เคยพูดถึง คสช. เอาไว้ ก่อนที่จะมีการแปลงร่างจาก “คสช.” เป็น “พลังประชารัฐ” ว่า “ถือว่าภารกิจของ คสช.สมบูรณ์แล้ว เปลี่ยนถ่ายกลับไปสู่ประชาธิปไตย เพราะมันเหมือนปลาคนละน้ำ เอาปลาน้ำเค็มมาอยู่น้ำจืด เอาปลาน้ำจืดมาอยู่น้ำเค็ม สักพักก็ดิ้นตายหงายท้อง เพราะเป็นคนละระบบ ดังนั้น ควรทำอย่างไรให้การเปลี่ยนถ่ายคล่องที่สุด หากสุดท้ายการเมืองกลับมาห่วยแตก แสดงว่า ประชาชนคือผู้ตัดสิน แก้ปัญหาประเทศไม่ใช่กองทัพหรือทหาร”

.

        ส่วนการเมืองหลังเลือกตั้งนั้น อนุทิน มองว่า “สิ่งสำคัญหลังเลือกตั้ง คือ ต้องมีคนกลาง คนที่เคารพกติกา ซึ่งพรรคภูมิใจไทยคือผู้ที่จะทำแบบนั้น แต่สถานการณ์การเมืองที่ยังหาจุดดีลทางการเมืองไม่ได้ อาจมีปัญหาเกิดขึ้น พรรคภูมิใจไทยขอเป็นประตูหนีไฟ และมาสเตอร์คีย์ เพื่อพาทุกคนไปสู่ทางออก”

        อย่างไรก็ดี การจัดทัพเพื่อเตรียมเลือกตั้งในช่วงที่ผ่านมานี้ ความอึกทึกครึกโครมอาจจะอยู่ที่ “พลังดูด” แต่คนที่จับกระแสความเคลื่อนไหวแบบเกาะติดและมองทะลุ ต่างจะรู้ว่า “ตัวหลักในหลายจังหวัด” ตัดสินใจประกาศใส่เสื้อ “ภูมิใจไทย” ด้วยความมั่นอกมั่นใจในทิศทางที่ “อนุทิน ชาญวีรกุล” กระซิบบอกแบบลับเฉพาะ

ด้วยเหตุนี้เอง สมรภูมิการเมืองวินาทีนี้ 
“อนุทิน ชาญวีรกูล” จึงเป็นชื่อที่คนไทยต้องจำไว้ให้ดี...

ข้อมูลและภาพ จาก thairath

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ