เปิดความรู้เรื่อง "ราชินีนาถ-จักรพรรดินีนาถ" และกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการครองราชย์ของผู้หญิง

LIEKR:

เปิดความรู้เรื่อง "ราชินีนาถ-จักรพรรดินีนาถ" และกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการครองราชย์ของผู้หญิง

        เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 เฟซบุ๊ก โบราณนานมา ได้ออกมาให้ความรู้เรื่อง ราชินีนาถ - จักรพรรดินี ในบริบทของไทยและสากล ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้

        ราชินีนาถ (Queen Regnant) ตามธรรมเนียมสากลนั้น หมายถึง ราชินีที่เป็นกษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติ ด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง โดยสังเกตได้ว่า ประเทศนั้นอนุญาตให้ผู้หญิงขี้นครองราชย์ได้

 

Sponsored Ad

 

        จักรพรรดินีนาถ (Empress Regnant) คือ จักรพรรดินีที่เป็นกษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง โดยสังเกตได้ว่า ประเทศนั้นอนุญาตให้ผู้หญิงขึ้นครองราชย์

 

Sponsored Ad

 

        ราชินี (Queen Consort) และ จักรพรรดินี (Empress Consort) คือ พระอัครมเหสีของพระราชาหรือของพระจักรพรรดิเท่านั้น มิได้ครองราชย์แต่อย่างใด โดยสังเกตได้ว่า ประเทศนั้นจะไม่ให้ผู้หญิงขึ้นครองราชย์

        อย่างไรก็ตาม ตามธรรมเนียมของไทยนั้น ราชินีนาถ (Queen Regnant) คือพระราชินีผู้เคยสำเร็จราชการแทนกษัตริย์เท่านั้น มิได้ครองราชย์ด้วยพระองค์เอง เพระกฎมณเฑียรบาลระบุว่า ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะให้ราชนารีขึ้นทรงราชย์เป็น "สมเด็จพระแม่อยู่หัว"

 

Sponsored Ad

 

        ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีราชินีนาถ 2 พระองค์ คือ  สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 9 ซึ่งต่อมา ทั้ง 2 พระองค์ทรงพระอิศริยยศ คือ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง หรือ Queen Mother

Sponsored Ad

        นอกจากนี้ ทางเพจเอง ยังได้ตอบข้อสงสัยที่ว่า เหตุใดในไทยเอง ยังไม่มี สมเด็จพระแม่อยู่หัว แม้สามารถเสนอนามพระธิดาขึ้นมาได้ ซึ่งทางเพจบอกว่า ตามรัฐธรรมนูญนั้น ผู้หญิงสามารถขึ้นครองราชย์ได้ แต่ตามกฎมณเฑียรบาลนั้น  ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะให้ราชนารีขึ้นทรงราชย์เป็น "สมเด็จพระแม่อยู่หัว" ซึ่งทางแอดมินพูดถึงเพียงแค่เรื่องกฎมณเฑียรบาลเพียงอย่างเดียว

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก เฟซบุ๊ก โบราณนานมา, kapook

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ