จากต้นแบบการเกล้าเกศาของ "เจ้าดารารัศมี" สู่ที่มาผมทรงอี่ปุ่น ของ "ซ้องปีบ" ในกลิ่นกาสะลอง

LIEKR:

จากต้นแบบการเกล้าเกศาของ "เจ้าดารารัศมี" สู่ที่มาผมทรงอี่ปุ่น ของ "ซ้องปีบ" ในกลิ่นกาสะลอง

        เผยที่มา ผมทรงอี่ปุ่น หรือ ผมทรงญี่ปุ่นของ ซ้องปีบ จากละครเรื่อง กลิ่นกาสะลอง ทรงผมที่เจ้าดารารัศมี ทรงได้ต้นแบบการเกล้าเกศาจาก ภริยาท่านทูตญี่ปุ่น

        เป็นลูกรักพ่อ เสื้อผ้าต้องเด่นกว่าปี้สาวแล้ว หน้าผมก็ต้องงามปะล้ำ ปะเหลือ งามจ๊าดนัก กว่าใครเพื่อนด้วย ซึ่งทรงผมที่ซ้องปีบสั่งให้สาวใช้อย่าง เหมยทำเพื่อไปงานสำคัญต่างๆ หรือเดินอวดโฉมให้หนุ่มๆ ในกาด (ตลาด) พากันตะลึงคือ “ผมทรงอี่ปุ่น”

.

        ตามที่กล่าวไปข่างต้นว่า ผมทรงอี่ปุ่น นั้นเจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา พระองค์ทรงได้รับวัฒนธรรมการเกล้าเกศานี้มาจาก ภริยาท่านทูตญี่ปุ่น ที่ติดตามสามีเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งครูณัฐฏพัฒน์สอนศิลปะ ได้บรรยายไว้ถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ โดยคุณแทน t_2539 ได้นำมาเผยแพร่ว่า

        จากญี่ปุ่นสู่ล้านนา เจ้าดารารัศมีก็ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ล้านนาของพระองค์ไว้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องถึงแม้จะมาอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว เห็นได้จากภาพถ่ายของพระองค์กับเหล่าข้าหลวงล้านนาที่ไว้ผมยาวตามประเพณี แตกต่างจากพระราชวงศ์และข้าราชสำนักตำหนักอื่นๆ ถึงแม้ในช่วงรัชกาลที่ 5 จะมีความนิยมไว้ผมยาวอย่างตะวันตกแล้วแต่ทรงผมสั้นแล้วหวีเสยไปข้างหลังที่เรียกว่าทรงดอกกระทุ่มก็ยังเป็นที่นิยมในราชสำนักฝ่ายในมากกว่า

        มีเรื่องเล่าว่า พระราชชายา เจ้าดารารัศมีได้เห็นทรงผมภริยาท่านทูตญี่ปุ่นที่ติดตามสามีเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง จึงได้นำเอาทรงผมสตรีชาวญี่ปุ่นนั้นมาเป็นต้นแบบการเกล้าพระเกศาของพระองค์ท่าน และให้ข้าหลวงพระตำหนักของพระองค์ท่านทำทรงผมญี่ปุ่นนี้ทุกคน ในพระฉายาลักษณ์นี้พระเกศายาวของพระราชชายาฯ เกล้าขึ้นโดยใช้หมอนรอง โคนผมด้านหน้ายกสูงขึ้น เรียกว่าทรง ‘อี่ปุ่น’ ด้วยได้รับแบบแผนมาจากแดนอาทิตย์อุทัย

นางสาวบุญปั๋น บุตรสาวของ พญาพิทักษ์เทวี (ตำแหน่งพระพี่เลี้ยงของเจ้าดารารัศมี) นางข้าหลวง ในเจ้าดารารัศมี

        ต่อมาผมทรงนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในแวดวงสังคมชั้นสูงยุค Edwardian และแผ่อิทธิพลมาถึงราชสำนักไทยด้วย น่าเศร้าที่ Victoria Sherrow กล่าวไว้ในหนังสือ สารานุกรมเส้นผม (Encyclopedia Of Hair) ของเธอไว้ว่า ทรงผมอลังการและการประดับประดาศีรษะให้ยิ่งใหญ่และมีน้ำหนักมากเข้าไว้ของชาวญี่ปุ่นยุคโบราณเกิดขึ้นด้วยความคิดที่ว่าเมื่อมีอะไรมากดทับบนหัว ผู้หญิงจะได้ไม่ต้องคิดอะไรมากเกินไป

.

.

.

ข้อมูลและภาพ จาก praew