รู้จัก "อากงจุน" เจ้าของฮาตาริ เศรษฐีผู้สมถะ ผู้บริจาค 900 ล้านให้ มูลนิธิรามาฯ

LIEKR:

อนุโมทนาสาธุบุญด้วยนะคะ #อากงจุน #ฮาตาริ #Hatari

    จากกรณีที่โลกโซเชียลแห่ชื่นชม นายจุน วนวิทย์ เจ้าของบริษัทผลิตพัดลมฮาตาริ บริจาคเงินจำนวน 900 ล้านบาท ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี ทำให้หลายคนอยากรู้เรื่องราวชีวิตเบื้องหลังของนายจุน ว่าเป็นคนยังไง มีที่มาที่ไปอย่างไร ถึงได้มาอยู่จุดที่บริจาคเงินมหาศาลให้แก่โรงพยาบาลได้

.

 

Sponsored Ad

 

    ล่าสุดเฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับนายจุนว่า การบริจาคเงินจำนวน 900ล้านบาท ในครั้งนี้ของอากงจุนและครอบครัว นับเป็นการบริจาคครั้งใหญ่ที่สุดให้มูลนิธิรามาธิบดี โดยมีเจตนาอยากช่วยเหลือประชาชนที่เจ็บป่วย ซึ่งก่อนหน้าทางอากงจุนและครอบครัวยังได้บริจาคทำบุญเงียบอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยไม่ออกสื่อ

 

Sponsored Ad

 

.

    ส่วนสาเหตุที่บริจาคเงินจำนวนมหาศาลนี้ เพราะอากงจุนอายุเยอะแล้ว ไม่อยากยึดติดกับอะไร ลูกหลานมักจะบอกว่า อากงจุนท่านเป็นคนสมถะ ไม่เคยใส่แบรนด์เนม ไม่มีรถสปอร์ต ไม่มีเรือยอชต์ ไม่มีเครื่องบินส่วนตัว แม้จะมีฐานะร่ำรวยมหาศาล แต่ของที่แพงที่สุดที่ติดตัวคือ นาฬิกาข้อมือราคา 2,000 บาท

 

Sponsored Ad

 

ประวัติอากงจุน

    นายจุน วนวิทย์ เกิดวันที่ 7 พฤษภาคม 2480 ปัจจุบันอากงจุนอายุ 86 ปี เรียนจบแค่ชั้น ป.2 ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ จึงไม่มีคุณวุฒิทางการศึกษา แต่ว่าด้วยความขยันหมั่นเพียร หาความรู้อยู่ตลอด ชีวิตในวัยเด็ก เริ่มทำงานเป็นลูกจ้างกวาดพื้นร้านขายข้าวสารส่งออกต่างประเทศที่ถนนสี่พระยา ตั้งแต่อายุ 12 ปี แล้วก็เปลี่ยนอาชีพตามลำดับ ได้แก่ ช่างทำทอง, ขับรถโดยสารรับจ้าง, ลูกจ้างร้านทำป้ายพลาสติก, ลูกจ้างโรงกลึง, ช่างทำแม่พิมพ์สำหรับฉีดชิ้นงานพลาสติก

    ด้วยความเคยประกอบอาชีพหลากหลาย ทำให้ตอนอายุ 28 ปี (พ.ศ. 2508) จึงสามารถทำโครงพัดลมพลาสติกขึ้นได้ ทั้งที่ยุคนั้นโครงกรอบพัดลมล้วนทำด้วยโลหะอะลูมิเนียม ก่อนที่จะเสนอขายชิ้นงานให้โรงงานผลิตพัดลมจนกลายเป็นการเปลี่ยนยุคเป็นพัดลมโครงพลาสติกเป็นต้นมา

 

Sponsored Ad

 

    หลังจากนั้นก็เรียนรู้การพันมอเตอร์ที่ไต้หวัน แล้วจึงมาผลิตพัดลมที่ใช้ชิ้นส่วนพลาสติกออกจำหน่ายเป็นของตัวเอง ตอนแรกใช้ยี่ห้อ K และยี่ห้อ TORY

    กระทั่งอายุ 52 ปี อากงจุน ผลิตพัดลมฮาตาริออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก กิจการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ขยายกิจการจากพัดลมเป็นเครื่องฟอกอากาศ เครื่องซักผ้าขนาดเล็ก แล้วก็คุ้นหูคนไทยจวบจนปัจจุบัน มีพนักงานกว่า 2,000 คน ส่งผลิตภัณฑ์วางขายทั้งไทยและต่างประเทศ มีผลประกอบการปีละ 4 พันล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดพัดลมในประเทศถึง 80% จนสามารถลดการนำเข้าพัดลมจากต่างประเทศได้เกือบทั้งหมด

ที่มา : mfurama.mahidol, @pichai_online

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ