ยกย่อง "ครูภูมิปัญญาไทย" ผู้ปิดทองหลังพระ ใช้ชีวิตเกษียณอุทิศตนสอนฟรีให้เด็กในหมู่บ้าน

LIEKR:

แม้จะเกษียณฯ ไปแล้ว แต่ท่านยังทุ่มเทมาสอนหนังสือฟรีให้กับเด็กนักเรียนในหมู่บ้านอย่างเต็มร้อย จนกว่าจะไม่มีแรงทำ!

        การที่คนเราจเติบโตเป็นคนดีและประสบความสำเร็จในสังคมนั้น นอกจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่แล้ว การอบรมสั่งสอนโดยครูบาอาจารย์ก็เป็นสิ่งสำคัญ บางคนดีได้เพราะครอบครัว บางคนดีได้ก็เพราะมีครูดี เชื่อว่าทุกคนคงจะมีครูในดวงใจ ครูที่ทำอะไรให้เราประทับใจ เราจะรักท่านจากก้นบึ้งของความเป็นศิษย์

        “ครูพิสูจน์ ใจเที่ยงกุล อายุ 62 ปี เป็นชาว .สุพรรณบุรี ครูที่เด็กๆ ต่างรัก และเคารพในความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ที่มีอยู่ในตัวให้กับพวกเขาอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย แม้จะเกษียณฯไปแล้วแต่ท่านยังทุ่มเทมาสอนหนังสือฟรีให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนบางลี่วิทยา อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ที่ท่านทำเพราะไม่อยากให้ความรู้มันหายไปกับตัวท่าน ในเมื่อยังมีแรงก็ต้องทำหน้าที่ครูผู้ให้อย่างเต็มร้อย ต้องส่งมอบความรู้ และสิ่งดีๆ ให้เด็กๆ ต่อไปจนกว่าจะไม่มีแรงทำ

 

Sponsored Ad

 

        “ครูพิสูจน์ บอกว่า พ่อครูเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดใหม่นพรัตน์ ส่วนแม่อาชีพทำนา ครูเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนบางลี่ (เทพสุธาประชาสรรค์) หรือโรงเรียน ส.พ.16 จากนั้นเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนแม่พระประจักษ์ แล้วสอบเข้าเรียนต่อในระดับ ป.กศ.ต้นที่วิทยาลัยครูนครปฐม กระทั่งเรียนจบ ป.กศ.สูง เลือกเรียนวิชาเอกภาษาไทย วิชาโทภาษาอังกฤษ แล้วสอบบรรจุได้เข้ารับราชการครู ตำแหน่งครู 2 โรงเรียนวัดสระสี่มุม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม สังกัด สปช. ปีการศึกษา 2521

 

Sponsored Ad

 

.

        โดยปี 32 ย้ายมาสอนที่โรงเรียนบางลี่วิทยา โรงเรียนภูมิลำเนาบ้านเกิด ที่โรงเรียนนี้ครูอยากตอบแทนที่เคยเป็นศิษย์เก่าของที่นี่ เป็นสถานที่สร้างให้ครูมีวันนี้ จึงนำความรู้ความสามารถที่มีทั้งหมดทุ่มเทด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษา และวรรณกรรมสร้างสรรค์ฝึกสอนให้กับลูกศิษย์ด้วยความรักความเป็นห่วงพวกเขา เริ่มฝึกฝนทักษะการพูด การประพันธ์ การแสดงเพลงพื้นบ้านตามที่เคยเรียนรู้มา ทุ่มเทจนพวกเขาชนะเลิศการประกวดพูดสุนทรพจน์ระดับจังหวัดในงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์หลายครั้ง ชนะเลิศการเป็นพิธีกร ได้รับรางวัลการแต่งกลอน และอ่านทำนองเสนาะมาอย่างต่อเนื่อง มันคือความสุขที่ประเมินค่ามิได้ที่ครูคนหนึ่งได้เห็นลูกศิษย์ของตัวเองก้าวขึ้นไปรับรางวัลบนเวที ภูมิใจในตัวพวกเขามาก

 

Sponsored Ad

 

        กระทั่งปี 42 มีโอกาสเข้าอบรมเพลงอีแซวกับแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ ทำให้เกิดความมั่นใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้ครูก่อตั้งคณะเพลงอีแซวขึ้นเป็นครั้งแรกในโรงเรียนบางลี่วิทยา เช่นเคยต้องทุ่มเทฝึกฝนจนเด็กเก่งเริ่มส่งออกไปแสดงเผยแพร่ และประกวดแข่งขันก็ได้รางวัลต่างๆ เสมอมา เป็นโรงเรียนที่ครองตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวดเพลงอีแซวต่อเนื่องหลายปี ที่สอนเด็กทุกอย่างคือมรดกไทยที่พวกเขาต้องช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ เพราะเป็นสิ่งมีค่ามากๆ หากไม่ทำอะไรเกรงว่าสิ่งเหล่านี้จะหายไปพร้อมกับเทคโนโลยีในยุคนี้

 

Sponsored Ad

 

        “หลังเกษียณสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาให้โอกาสมาปฏิบัติหน้าที่ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดินในโรงเรียนบางลี่วิทยา ทำหน้าที่สอนภาษาไทย และสอนภูมิปัญญาเพลงพื้นบ้าน และร่วมจัดทำโครงการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านในท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี จนได้รับรางวัลโครงการดีเด่นในการส่งเสริม และรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รับโล่ และเงินรางวัล 100,000 บาท ในฐานะเป็นที่ปรึกษาชุมนุมอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านโรงเรียนบางลี่วิทยา นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรจิตอาสาด้านเพลงพื้นบ้าน และด้านธรรมะ ถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนด้วย”

 

Sponsored Ad

 

        “ภูวนารถ จารุภูมิก นายกอบต.ต้นตาล .สองพี่น้อง .สุพรรณบุรี ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียน บางลี่วิทยา บอกว่า ครูพิสูจน์เป็นครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 8 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ปี 2560 มีผลงานเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานทั่วไป ที่ผ่านมาเป็นทั้งวิทยากรสอนเพลงพื้นบ้าน เพลงอีแซว เป็นวิทยากรประพันธ์บทร้อง และสอนเพลงพื้นบ้านแก่นักเรียน เป็นวิทยากรประพันธ์เนื้อร้อง และฝึกสอนเพลงพื้นบ้านแก่พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 เป็นวิทยากรฝึกสอนเพลงพื้นบ้านแก่ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี เป็นวิทยากรร่วมในโครงการเพาะกล้าพันธุ์เก่ง เพลงพื้นบ้านของสมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลางประเทศไทย ร่วมเป็นวิทยากรสอนธรรมะแก่สามเณรในโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ฯลฯ ท่านถือได้ว่าเป็นคนที่มีคุณค่ามากๆ ในวงการการศึกษาไทยก็ว่าได้

 

Sponsored Ad

 

        “เหยี่ยวขาว ทราบว่าผลงานของครูที่ได้รับการคัดเลือกอีกอย่างคือผลงานการแต่งเพลงเยาวชนคนดีศรีสุพรรณให้เป็นเพลงรณรงค์ประจำโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณของนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ขับร้องโดยแอ๊ด-ยืนยง โอภากุล วงคาราบาว

Sponsored Ad

.

        ว่ากันว่านับจากปี 42 ชื่อเสียง และผลงานของเพลงอีแซวซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิดของโรงเรียนบางลี่วิทยาที่ฝึกสอนควบคุมโดยครูพิสูจน์ก็โด่งดังเป็นที่ยอมรับไปทั่วทั้ง จ.สุพรรณบุรี และในต่างจังหวัด รวมถึงในกรุงเทพฯ จนได้รับรางวัลจำนวนมาก บุคคลแบบนี้แหละที่สังคมต้องการ เป็นคนสูงวัยที่ยังทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองได้มากมาย ที่สำคัญสอนให้ฟรี อยากให้วัฒนธรรม-สิ่งดีงามตกถึงมือลูกหลานไทยอย่างแท้จริง

ข้อมูลและภาพจาก dailynews

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ