พระเมตตาอันยิ่งใหญ่ของ "ร.9" ย้อนชม โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์-สาธารณสุขไทย

LIEKR:

"…ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง"

        พระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นั้นล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างแท้จริง เพราะทรงห่วงใยความเป็นอยู่ของพสกนิกรในทุกด้าน โดยไม่เคยคิดจะทอดทิ้งประชาชนไทยเลยแม้สักคนเดียว

        “…ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง…” พระราชดำรัสของรัชกาลที่ 9 ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณอันมากล้นต่อพสกนิกรชาวไทย ด้วยทรงเล็งเห็นว่ากำลังหลักของชาติบ้านเมืองก็คือประชาชนชาวไทย หากประชาชนไม่มีพละกำลังหรือมีความเสื่อมโทรมทางด้านสุขภาพ ประเทศชาติก็อาจจะอ่อนกำลังไปด้วยได้

 

Sponsored Ad

 

        และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นห่วงราษฎรที่ยากไร้ หรือราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ที่อาจเข้าถึงการแพทย์และสาธารณสุขได้ยาก จึงได้มีโครงการพระราชดำริ ในด้านการแพทย์และสาธารณสุขเกิดขึ้นมามากมาย ซึ่งวันนี้เราจะพามารู้จักโครงการพระราชดำริทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งหมด ที่รัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มเพื่อช่วยเหลือประชาชนของพระองค์กันค่ะ

 

Sponsored Ad

 

        โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน

        โครงการพระราชดำริโครงการนี้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2510 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน ประทับแรม ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พย าบาล เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนย ารักษา โ ร ค ไปยังท้องถิ่นทุรกันดารในจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีหน่วยแพทย์ของทางราชการเข้าไปถึง เพื่อให้การตรวจรักษาราษฎร โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ

 

Sponsored Ad

 


        โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน

        โครงการพระราชดำริทางด้านการแพทย์โครงการแรก ซึ่งถือกำเนิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 อันเนื่องมาจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนที่โครงการชาวเขา และทรงพบว่าราษฎรที่มารอรับเสด็จฯ เ จ็ บ ป่ ว ย กันมาก อีกทั้งยังมีความยากลำบากในการเดินทางไปรักษา ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ที่ตามเสด็จฯ ทำการตรวจรักษาประชาชนที่มีอาการเ จ็ บ ป่ ว ย โดยไม่ต้องเสียค่ารักษาใดๆ 
          นอกจากนี้ในโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ยังมีการจัดอบรมหมอหมู่บ้านนั้นๆ เพื่อช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ และรู้จักวิธีรักษาพยาบาลแผนปัจจุบันอย่างถูกต้อง รวมทั้งยังมีการอบรมให้ราษฎรรู้จักการติดต่อกับหน่วยราชการในกรณีที่อาการ บ า ด เ จ็ บ หรือความ เ จ็ บ ป่ ว ย นั้นๆ มีความรุนแรงเกินขีดจำกัด ซึ่งนับว่าเป็นโครงการพระราชดำริที่สามารถช่วยประชาชนในประเทศได้อย่างยั่งยืนจริงๆ

 

Sponsored Ad

 


        โดยจำแนกได้ว่า โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน สามารถแก้ไขได้ทั้งปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎร และแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติด้วย 


        เพราะทรงเล็งเห็นว่า การ เ จ็ บ ป่ ว ย เป็นอุปสรรคของการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะเหล่าเกษตรกรที่มักจะต้องใช้กำลังในการทำงาน ดังนั้นเมื่อได้รับการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีแล้ว ราษฎรเหล่านั้นก็จะสามารถต่อสู้กับงานหนักในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจส่วนรวมของสังคมดีขึ้นสืบไป

 

Sponsored Ad

 


        หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน

        หน่วยทันตกรรมพระราชทานก่อกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงทราบว่าทันตแพทย์มีอยู่น้อยและจะมีอยู่ตามโรงพย าบาลประจำจังหวัดเท่านั้น หรือบางจังหวัดก็ไม่มีทันตแพทย์อยู่เลย ดังนั้นพระองค์จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อรถยนต์ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือทำฟัน และมีหัวหน้าทีมทันตแพทย์คอยจัดส่งทันตแพทย์อาสาสมัครออกช่วยเหลือ บำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันแก่เด็ก นักเรียน และประชาชนที่อยู่ในท้องที่ทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า โดยได้รับความร่วมมือจากทันตแพทย์โรงพย าบาลต่างๆ ในการออกปฏิบัติการภาคสนาม

 

Sponsored Ad

 


        โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
        เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้ศึกษาและปฏิบัติส่วนพระองค์กับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาต่างๆ จนได้ผลดีแล้วจึงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน 
        โดยโครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของราษฎรที่นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งในขณะนั้นมีสถานีอนามัยเพียงแห่งเดียว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดแพทย์หมุนเวียนเข้าไปบริการตรวจรักษา พร้อมด้วยแพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพย าบาลนราธิวาส และโรงพย าบาลสุไหงโก-ลก ออกไปปฏิบัติการสัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นประจำ

Sponsored Ad


        โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

        ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์ใน พ.ศ. 2517 แพทย์ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์มาก เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ แปรพระราชฐาน ประทับที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล และความต้องการของโรงพย าบาลและหน่วยงานต่างๆ ในด้านศัลยกรรม และรวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น โดยในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์และเปลี่ยนชื่อเป็นราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย


        โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโ ร ค ภู มิ แ พ้ พระราชทาน
        โครงการพระราชดำริโครงการนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยเริ่มมาจากทรงเห็นว่ามีราษฎรจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคหู คอ จมูก และ โ ร ค ภู มิ แ พ้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดหน่วยแพทย์อาสาสมัครใน โ ร ค ดังกล่าว ผลัดกันออกไปปฏิบัติหน้าที่ประจำโรงพย าบาลประจำจังหวัดที่เสด็จฯ แปรพระราชฐาน โดยอาศัยแพทย์หู คอ จมูก อาสาสมัครจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพย าบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพย าบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงพย าบาลประจำจังหวัดนครพนม ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติราชการชุดละ 2 สัปดาห์ โดยเริ่มที่จังหวัดนราธิวาสก่อน ต่อมาก็ขยายการปฏิบัติงานไปยังจังหวัดสกลนคร และที่โรงพย าบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่


โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์
        เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล็งเห็นว่าปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขเกิดจากการที่ราษฎรไม่ได้รับการรักษาพย าบาลที่ถูกต้อง อีกทั้งยังไม่มีสถานพย าบาลอยู่ใกล้ หรือบ้างก็เกิดจากการอุปโภค-บริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์ โดยคัดเลือกคนในหมู่บ้านต่างๆ มาเข้ารับการฝึกอบรมด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การรักษา โ ร ค อย่างง่าย เพื่อให้หมอหมู่บ้านเหล่านี้สามารถช่วยเหลือประชากรในหมู่บ้านได้อย่างถูกวิธี 


โครงการอบรมปฐมพย าบาลเบื้องต้น และการช่วยคลอดฉุกเฉิน โครงการพระราชดำริ สำหรับตำรวจจราจร
        เริ่มแรกตำรวจจราจรในโครงการพระราชดำริ เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากทรงเป็นห่วงพสกนิกรในเรื่องปัญหาการจราจร จึงพระราชทานแนวทางปฏิบัติให้แก่ตำรวจเพื่อเป็นแนวคิดไปใช้ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และพระราชทานทุนจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ในการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ รถจักรยานยนต์พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก และพัฒนาบุคลากรเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาจราจรอันจะบรรเทาความเดือดร้อนของพสกนิกรได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพ ได้ผลดียิ่งขึ้น โดยโครงการนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2536 เรื่อยมา 
        แต่นอกจากปัญหาที่เกิดจากสภาพการจราจรแล้ว ยังพบความเดือดร้อนของประชาชนซึ่งต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เช่น การนำผู้ ป่ ว ย ผู้ บ า ด เ จ็ บ หญิงใกล้คลอดส่งโรงพย าบาล รวมถึงการคลอดฉุกเฉิน ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรต้องได้รับการฝึกอบรมให้เกิดทักษะ ความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับการปฐมพย าบาลเบื้องต้นและการทำคลอดฉุกเฉิน เพื่อนำไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน สำหรับการฝึกอบรม จะฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉินเบื้องต้น การช่วยชีวิตพื้นฐาน การฝึกและทดสอบปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การป้องกันการแพร่กระจาย เ ชื้ อ โ ร ค การช่วยเหลือการคลอดในสถานการณ์ต่างๆ และการดูแลทารกแรกคลอดก่อนนำส่งโรงพย าบาล

        ทั้งนี้ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ตอนหนึ่ง ซึ่งมีความว่า...
        “จึงใคร่ขอร้องให้ทุกๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริงๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลงเพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย”


ข้อมูลและภาพจาก kapook

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ