คุณคิดว่าคุณค่าของคนวัดกันที่อะไร? "กตัญญู" ไม่ใช่ "ภาระ" แต่เป็นการสร้างบุญครั้งยิ่งใหญ่

LIEKR:

คุณคิดว่าคุณค่าของคนวัดกันที่อะไร? "กตัญญู" ไม่ใช่ "ภาระ" แต่เป็นการสร้างบุญครั้งยิ่งใหญ่

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        หลายคนคงมี “ความกตัญญู” อยู่ในตัวเองด้วยกันทั้งนั้น อยู่ที่ว่า ใครจะมีมากหรือน้อยเพียงใด แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การกตัญญูกตเวทีนั้น สามารถสร้างบุญกุศลให้กับตัวเราได้มากมายเลยทีเดียว คุณคิดว่าคุณค่าของคนวัดกันที่อะไร? “กตัญญู” ภาพยนตร์ที่หลายคนกลั้นน้ำตาไม่อยู่

        ในช่วงเวลาที่เงียบที่สุด เคยมีคำถามเหล่านี้ ผุดขึ้นมาในหูบ้างไหม “ว่าชีวิตคืออะไร” “เราเกิดมาทำไม” เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายที่สุด ใกล้ตัวที่สุด แต่กลับหาคำตอบยากที่สุด เรามุ่งมั่นทำงาน เราเพียรสร้างความมั่นคงในชีวิต หลายคนออกเดินทางสุดขอบโลกตามหา “คุณค่าของตัวเอง” โดยที่ไม่รู้เลยว่า แท้จริงแล้ว คุณค่าที่เราตามหา อยู่ใกล้แค่ในบ้านเรา..

 

Sponsored Ad

 

        บางที..ชีวิตคืออะไร อาจจะไม่สำคัญเท่ากับ ชีวิตนี้เราทำเพื่อใคร มาค้นหาคำตอบกับภาพยนตร์ที่เราอยากให้ทุกคนในครอบครัวได้ดู เพื่อที่จะเข้าใจ “คุณค่า” ที่สังคมเราค่อยๆลืม

        ภายใต้ความซาบซึ้ง พล็อตเรื่อง การดำเนินเรื่องที่สะท้อนให้เห็นภาพของสังคม กับบทสรุปของเรื่องที่เราต้องกลับมาคำถามตัวเองอีกครั้ง ว่าทุกวันนี้เรามองเห็นคุณค่าที่แท้จริงในชีวิตแล้วหรือไม่

        ในสังคมที่วัดกันด้วยความเก่ง ความสามารถ แต่คุณธรรมความกตัญญูกลับดูเลือนหายไป เพราะเราต่างให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้า จนลืมไปว่ามีคนข้างหลังที่ผลักดันความสำเร็จของเราอยู่ ต้องขอบคุณเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่กระตุกให้เราคิดถึงคำว่า “กตัญญูกตเวที” ในบริบทที่มีความหมายอย่างลึกซึ้ง เพื่อสื่อสารกับคนในยุคใหม่นี้ได้มากกว่าเดิม

 

Sponsored Ad

 

        ท่ามกลางกระแสความเจริญของโลกยุคใหม่ วิวัฒนาการของโลกที่หมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทําให้มุมมอง ค่านิยม และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนวิ่งตามการใช้ชีวิตแบบสมัยนิยม (modern-ism) คํานึงถึงแต่ตัวเองกันมากขึ้น (me-ism) ให้ความสําคัญกับความเจริญทางวัตถุมากขึ้น (material-ism) ส่งผลให้วัฒนธรรมของความกตัญญู (culture of gratitude) ที่เป็นรากฐานของสังคมที่แข็งแรง ยั่งยืนตาม

        แนวคิดของสังคมตะวันออกที่เรายึดถือกันมาอย่างยาวนาน เริ่มลดบทบาทความสําคัญลง

 

Sponsored Ad

 

        “ครูประจักษ์” คือตัวละครที่สะท้อนให้เห็นว่า แท้จริงแล้วความกตัญญูกตเวที ไม่ควรเลือนหายไปจากสังคม บทบาทหนึ่งของเขาคือการเป็นครูที่ดี คอยแนะนำสั่งสอน และถ่ายทอดความรู้แก่ลูกศิษย์ ทั้งยังมีฝีมือที่หาจับตัวยาก

แต่อีกบทบาทหนึ่ง เขาคือลูกชายคนเดียวที่ต้องดูแลแม่ที่ป่วยอัลไซเมอร์ 

 

Sponsored Ad

 

        ถ้าเป็นเรา เราจะทำอย่างไร ส่งแม่ไปอยู่โรงพยาบาล? จ้างคนมาดูแล?

        บางทีครูประจักษ์ก็อยากทำอย่างนั้น แต่เขารู้ดีว่าคนที่จะดูแลแม่ได้ดีที่สุดคือตัวเขาเอง

 

Sponsored Ad

 

        ประเด็นนี้น่าสนใจ ตัวภาพยนตร์สร้างสถานการณ์ที่ลำบากให้ตัวละครครูประจักษ์ เป็นการสะท้อนภาพของสังคมปัจจุบันไม่ว่าคนเมืองหรือคนต่างจังหวัด ทุกคนล้วนแล้วแต่มีบทบาทหน้าที่ ที่ตนต้องรับผิดชอบ บางคนอาจจะลำบากมากกว่าเราด้วยซ้ำ

        แต่นั่นไม่ใช่ข้ออ้างที่เขาจะไม่ดูแลคนที่มีพระคุณมากที่สุด การดูแลพ่อแม่ จึงไม่ใช่เรื่องที่เกินความสามารถของเราทุกคน

        ส่วนใครบริหารจัดการได้ดีแค่ไหน ค่อยว่ากันไป

 

Sponsored Ad

 

        สำหรับครูประจักษ์ มันไม่ง่ายที่จะให้ใครเข้าใจเหตุผลของเขา แต่ท้ายสุดแล้ว “ความกตัญญู” ก็เสมือนเกราะคุ้มกัน ที่ทำให้เขาผ่านพ้นปัญหาไปได้

        สิ่งที่ประทับใจ คือตอนจบที่ครูประจักษ์ได้สอนบทเรียนเรื่อง “ความกตัญญูกตเวที” ต่อหน้าลูกศิษย์ของเขา นี่คือบทเรียนที่สำคัญไม่แพ้ตำราเรียน เป็นบทเรียนจากชีวิตจริง ที่สอนโดยการกระทำใช่เพียงคำพูด

น้ำตาซึมเลย

Sponsored Ad

        หลายคนบ่นว่าเหนื่อย และหมดกำลังในการเลี้ยงดูพ่อแม่ที่ชราหรือท่านป่วยการดูแลลูก สามีภรรยา บริวารทั้งหลาย ลองมองด้วยจิตที่มีกุศล การดูแลอุ้มชูเหล่านั้น เป็นการสร้างบุญที่ใหญ่มาก ทำบุญกับพ่อแม่ดีกว่าคนอื่นหรือที่ไหนทั้งสิ้น

        ในทางโลกล้วนได้รับการสรรเสริญในทางธรรมล้วนได้รับการยกย่อง ทำบุญกับลูกด้วยมิหวังผลไม่ได้คิดว่าจะได้อะไรตอบแทนเต็มบุญเลยที่ได้ทำ

        แม้แต่สัตว์เลี้ยงหรือไม่ได้เลี้ยงเราให้อาหารให้ความรักเลี้ยงดู ให้เมตตาไม่ได้หวังผลตอบแทน เพียงเห็นเขาอิ่มมีความสุข

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก <<<

จิตใจเรามีแต่สูงขึ้นๆๆๆ กิเลสไม่ดีแทรกตัวยาก

อย่ามองว่าเป็นภาระ แต่ให้มองว่า

…เรากำลังสร้างบุญที่ยิ่งใหญ่…

ข้อมูลและภาพ จาก tem2day

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ