คำพูดสุดท้ายที่ขอไว้ "ถ้าหากวันหนึ่งผมเป็นอะไรไป ฝากแม่ผมด้วยนะครับ" ทำน้ำตาไหลเลย !

LIEKR:

คำพูดสุดท้ายที่ขอไว้ "ถ้าหากวันหนึ่งผมเป็นอะไรไป ฝากแม่ผมด้วยนะครับ" ทำน้ำตาไหลเลย !

        คำพูดพลทหารก่อนสละชีพจากเหตุไม่สงบทางภาคใต้ จงหลับให้สบายเถิด“ผู้กองม่อน”สานต่อภารกิจสุดซึ้งกว่า 5 ปี เสียสละช่วยเหลือดูแลแม่พลทหารอย่างดี ด้วยความรักและผูกพันจนกลายเป็นแม่ลูกกันจริงๆ

        คำโบราณที่ว่า “เอาลูกเขามาเลี้ยง อย่าเมี่ยงเขามาอม” ความหมายคือเอาลูกของคนอื่นมาเลี้ยงเป็นลูกเป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้ ส่วนการเอาแม่คนอื่นมาเป็นแม่ตัวเองยังหาคำเปรียบเปรยไม่ได้ 

 

Sponsored Ad

 

        แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงในพื้นที่ จ.เลย เป็นเรื่องราวความดีงามที่ทุกคนในสังคมควรรับรู้ และควรยกย่องกับภารกิจที่สุดจะประทับใจของทหารนายหนึ่งคือ ร.อ.สุรกุล ดีปราศัย หรือม่อนหรือภูมิ ทหารฝ่ายการเงิน สังกัด ร.8 พัน.1 จ.เลย

 

Sponsored Ad

 

        ต้นเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นจากบุคคล 2 คนคือ พ.ท.วรวุฒิ สำราญ อดีต ผบ.ร.8 พัน 1 ค่ายศรีสองรัก จ.เลย ปัจจุบันตำแหน่ง พ.อ.เป็นรองเสนาธิการ รักษาราชการเสนาธิการ กองพลทหารราบที่ 3 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จ.อุดรธานี และ ดร.สุภาวดี สำราญ หรืออาจารย์เก๋ ภรรยา พ.อ.วรวุฒิ อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ม.ราชภัฏเลย เล่าประสบการณ์ที่น่าชื่นชมกับผู้ใต้บังคับบัญชาที่เสียสละความสุขส่วนตัวไปทำงานที่ไม่มีในตารางการทำงานเป็นเวลาถึง 5 ปี

        ดร.สุภาวดี บอกว่า เมื่อปี 55 พลทหารสำรวย สุพรรณเมือง กำลังพล ร.8.พัน 1 ค่ายศรีสองรัก สมัครเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ร้อย ร.8034 ฉก.ปัตตานี 21 เนื่องจากมีรายได้พิเศษ สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวที่มีฐานะยากจน พลฯสำรวยเป็นกำลังสำคัญเพียงคนเดียว กระทั่งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 57 เกิดเหตุคนร้ายยิงจุดตรวจ ชรบ.บ้านปลักใหญ่ หมู่.9 ต.ปากล่อ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พร้อมกับลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปช่วยเหลือ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีผู้สูญเสีย 4 นาย หนึ่งในนั้นคือพลทหารสำรวย

 

Sponsored Ad

 

        “หลังเกิดเหตุ พ.ท.วรวุฒิ บอกกับเก๋ว่า “เราต้องหาทางเยียวยาให้มากกว่าที่ทางกองทัพบกให้ตามระเบียบ เนื่องจากเห็นแม่พลฯสำรวยยังตกอยู่ในอาการโศกเศร้าเสียใจจากการจากไปของลูกชายที่เป็นที่รัก มีอาการซึมเศร้าตลอดเวลา ไม่ทานข้าวหลายวัน จึงมอบหมายให้ ร.ต.สุรกุล ยศขณะนั้น นายทหารฝ่ายการเงิน ร.8 พัน.1 ที่เพิ่งมาบรรจุใหม่ ให้เข้าไปช่วยดูแลน.ส.เจ้า สุพรรณเมือง แม่ของพลฯสำรวย วีรบุรุษผู้กล้าที่ อ.ผาขาว จ.เลย สักระยะหนึ่งจนกว่าอาการจะดีขึ้น”

 

Sponsored Ad

 

        “ดร.เก๋” บอกต่อว่า ที่สามี และตัวเองเลือกหมวดม่อน เพราะสังเกตว่าเป็นคนอัธยาศัยดี ประนีประนอมจึงให้ประกบคอยปลอบใจดูแลอย่างดี จนเกินหน้าที่เกินคำสั่งที่ได้รับมอบหมายคือเดินทางไป-กลับ 160 ก.ม.ดูแลทั้งเช้า-เย็น กระทั่งแม่พลฯสำรวยกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม เริ่มพูดคุยได้ สามีเลยเปรยไปว่า “อย่างนั้นเอ็งก็ไปเป็นลูกแม่เค้าเลยสิ”

        กระทั่ง ร.อ.สุรกุลเข้าไปช่วย ทำไร่ ทำนา ปลูกผัก รับจ้างหารายได้เข้าบ้าน ทำมากกว่าลูกจริงเสียอีก เป็นผู้จัดการทุกสิ่งทุกอย่าง ดูแลเรื่องเงินที่ทางกองทัพบกเยียวยามาให้ โดยไม่ให้ญาติเข้ามายุ่งเกี่ยว ติดต่อไถ่ถอนที่ดินที่สามีเลิกร้างกันไปนำไปขายฝากกับนายทุนในอำเภอผาขาว จนสามารถสร้างบ้านหลังใหม่บนที่ดินเดิม ภารกิจ 5 ปีสำหรับการที่เสียสละเข้าไปช่วยเหลือจนกลายเป็นแม่ลูกกันจริง ๆ อย่างไรก็ตามยังมีหน่วยงานยื่นมือช่วยเหลืออีกหลายแห่ง เช่น อำเภอผาขาว กองทัพบก เทศบาลตำบลโนนปอแดง มูลนิธิฯ ที่สำคัญคือ พ.อ. วรวุฒิ ที่ช่วยด้านการเงิน และดำเนินการทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนจบ

 

Sponsored Ad

 

        ทั้งนี้ “ผู้กองม่อน”เขียนถึงความภาคภูมิใจ หลังทำหน้าที่กว่า 5 ปี ในฐานะลูกบุญธรรม โดยยกประโยคคำพูดของพลฯสำรวยที่กล่าวไว้กับเพื่อนทหารที่ประจำการอยู่ที่ จ.ปัตตานีว่า “ถ้าหากวันหนึ่งผมเป็นอะไรไป ผมฝากแม่ผมด้วยนะครับ” ในสมุดบันทึกถึงเรื่องราวที่ผ่านมาว่า “เกือบ 7 ปีที่ผมย้ายมาประจำที่จังหวัดเลย ปีแรก ๆ คำบอกเล่าของกำลังพลที่รอดชีวิตกลับมาจากภาคใต้ ถึงบทสนทนาของเขากับพลทหารนายหนึ่ง

        เมื่อครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันชายแดนอยู่ด้วยกันนั้น เป็นคำสั้น ๆ ง่าย ๆ ที่สามารถแทรกซึมเข้าไปในดวงใจของผมได้อย่างประหลาด กระทั่งสิ้นเสียงระเบิดในกลางดึกครานั้น เจ้าของประโยคกินใจประโยคนี้ก็มอบลมหายใจคืนสู่แผ่นดินไปในที่สุด และเหมือนมีวาสนาต่อกัน ผมได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้คอยดูแล-เยียวยาสภาพจิตใจในช่วงแรก ๆแก่มารดาวีรบุรุษที่กำลังโศกเศร้าขีดสุด”

 

Sponsored Ad

 

        “แม่ผู้ที่จิตใจบอบสลาย ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในเพิงพักเก่าหลังป่าอ้อย เพิงผุๆที่แม่เรียกว่าบ้าน ท่ามกลางป่าอ้อยรกทึบ เพียงได้เห็นเป็นครั้งแรกแม้แต่ผู้ชายหนุ่มแน่นอย่างผมก็รู้สึกกลัว แต่แม่ก็อยู่มาได้ แต่ในวันที่หัวใจแม่บุบสลายแบบนี้ชีวิตแม่ก็สุดแสนจะเปราะบางมิต่างอะไรกับบ้านหลังนั้น ระยะทางไปกลับ 160 กิโลเมตรจากค่ายจนถึงบ้านแม่ ผมเดินทางมาดูแลท่านแทบจะทุกวัน ว่างเว้นไปก็ไม่เคยเกินสามวัน ความช่วยเหลือต่างๆทั้งจากกองทัพบก ประชาชนที่ทราบข่าว และกำลังใจจากสังคมต่าง ๆ บวกระยะเวลาที่ผ่านมาอย่างเหมาะสม คุณแม่เข้มแข็งขึ้น ทั้งกาย และใจ แต่ท่านก็ยังไม่สามารถฟังเพลง ทบ.2 ลูกอีสาน ได้จนจบเพลง”

Sponsored Ad

        “จวบจนปัจจุบันนี้ บ้านหลังใหม่ที่แข็งแรงปลอดภัยของแม่ก็สำเร็จแล้ว ที่ดินที่แม่เคยสูญเสียไป เราก็เอากลับคืนมาให้แล้ว สุขภาพที่อ่อนแอของแม่เราก็ช่วยเยียวยารักษาจนแข็งแรงแล้ว สิทธิอันพึงมีต่าง ๆ

        แม่เราก็ดูแลให้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เราไม่รู้หรอกนะว่าประโยคที่สั่งเสียไว้นายสั่งใครมา แต่เราก็ยินดี และเต็มใจที่จะทำให้นาย เราในที่นี้หาได้หมายถึงฉันเพียงคนเดียวไม่ หากแต่หมายถึงเราทุกคน ทหารทุกคน ประชาชนทุกคน เอาเป็นว่าทุก ๆ คนในประเทศไทยนี้แหละ เราจะไม่ทอดทิ้งแม่ของนาย พลทหารสำรวยพลีชีพที่ปัตตานีไปตั้งแต่ผมยศร้อยตรี จนบัดนี้ผมจะพันตรีละ จนต้นมเหสักข์ของผู้บังคับบัญชาที่ปลูกไว้เมื่อคราวขึ้นบ้านใหม่เติบโตสูงใหญ่ขนาดนี้ละ แต่แม่ของนายก็ยังอยู่กับเรานะ ไม่ต้องห่วงเลย…..#สำรวย สุพรรณเมือง”

ขอบคุณข้อมูลจาก : เดลินิวส์

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ