เรียนฟรี! หลักสูตร "จานรักษ์โลกจากผักตบชวา" แทนจานพลาสติก จานโฟม เรียนฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย

LIEKR:

ไม่ต้องเก็บคนละ 3 ต้นแล้ว!

    เพจเฟซบุ๊กชื่อว่า Refill Station ปั๊มน้ำยา ได้โพสต์แนะนำโครงการดีๆที่น่าสนใจสำหรับหลักสูตรการทำภาชนะรักษ์โลก จากผักตบชวา ซึ่งสามารถสร้างอาชีพ ทำขายหรือให้ความรู้ต่อกลุ่มผู้ว่างงานได้ ซึ่ง กศน. อำเภอภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา จะเปิดสอนแบบฟรีๆไม่มีค่าใช้จ่าย (อ่านเพิ่มเติม : คนไทยเจ๋ง! คิดค้น "จานผักตบ" รักษ์โลก จากวัชพืชไร้ค่า แก้ปัญหากีดขวางลำน้ำ! )

    พร้อมระบุข้อความไว้ว่า...

 

Sponsored Ad

 

ใครสนใจเรียนทำงานจากใบไม้เพื่อใช้แทนจานพลาสติก จานโฟมบ้างงงงง

    ตอนนี้ทาง กศน.ตำบลไผ่ล้อม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเปิดสอนอบรมจากรักษ์โลกผักตบชวาอยู่นะครับ เปิดสอนตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2562 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. นะครับ ใครสนใจไปลองดูได้ครับน่าสนใจมาก แอดมินไปมาเมื่อวันอาทิตย์เลยเอามาแชร์ครับ เผื่อใครสนใจแต่อาจจะไม่สะดวกเดินทางไปครับ หรือใครที่อยากรู้ข้อมูลก่อนเดินทางไปครับ

    สถานที่อบรมจัดที่ ศูนย์ฝึกมีชีวิต กศน. อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือตาม google map ไปที่ 14.459333, 100.759694 หรือกดไปได้ตามลิ้งนี้ครับ https://www.google.com/…/data=!3m1!4b1!4m5!3m4!1s0x0:0x0!8m…

 

Sponsored Ad

 

    โดยสามารถลงทะเบียนหน้างานได้เลย ไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้าครับ แต่ละวันสอนเหมือนกันครับ วันเดียวก็ได้ หรืออยากเชี่ยวชาญก็ไปซ้ำหลายวันได้ครับ โดยตารางจะเป็นประมาณนี้ครับ
    - ช่วงเช้าสอนทำเส้นใยผักตบ สอนทำกระดาษ
    - เที่ยงรับประทานอาหาร
    - บ่ายสอนขึ้นรูปถ้วย จานชาม

    โครงการนี้น่าสนใจมากๆ เพราะว่าผักตบชวานั้นเป็นพืชต่างถิ่นที่โตเร็วที่สร้างปัญหามากๆ เราจึงจำเป็นต้องควบคุมและกำจัด แต่เมื่อกำจัดขึ้นมาจากน้ำแล้วก็เปป็นขยะ ทางอาจารย์จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้การกำจัดผักตบชวานั้นไม่สร้างขยะใดๆเลย คือเอาส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด จึงเกิดเป็นเครื่องที่ทางอาจารย์พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผักตบชวา และสามารถใช้กับพืชชนิดอื่นๆได้อีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    โดยที่ตัวโครงการนั้นมีหลักๆอยู่สองเครื่อง คือเครื่องตีเส้นใย ใช้จัดการตัวก้านของผักตบชวา (ถามอาจารย์มาคือสามารถใช้ร่วมกับพืชอื่นๆที่เป็นเส้นใย) โดยเมื่อนำก้านใส่เข้าไป เครื่องจะตีออกมาเป็นเส้นใย ละเอาก็เอามาตากให้แห้ง เส้นใยตรงนี้สามารถนำมาปั่นด้าย เพื่อนำไปทอผ้าต่อได้ โดยเส้นใยตรงนี้ตอนนี้มีบริษัทมารับซื้อถึงที่ กิโลละหลายร้อยเลยทีเดียว

    ส่วนเศษที่ได้จากเครื่องนี้นั้น เราจะเอาเศษผงมาอัดขึ้นรูปเป็นกระดาษได้

    ส่วนใบ ก็มีเครื่องขึ้นรูปด้วยความร้อนที่สามารถตั้งปรับเวลาได้ เพื่อขึ้นรูปออกมาเป็นจานชามจากใบไม้ธรรมชาติ ซึ่งอาจารย์ก็แนะนำว่าให้เอากระดาษที่อัดขึ้นรูปมาใช้เป็นโครงให้แข็งแรงขึ้นก่อนก็จะยิ่งดี เพราะตัวใบนั้นสามารถใส่อาหารที่เป็นน้ำได้ แต่อาจจะไม่ได้แข็งแรงมากนัก พอมารวมกันก็จะทั้งแข็งแรงและใส่น้ำได้ ^^

 

Sponsored Ad

 

    เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก และอาจารย์ทุกท่านก็พร้อมที่จะแชร์ความรู้ที่มีให้อย่างไม่ปิดบังเลย

    ต้องขอขอบคุณ กศน.ตำบลไผ่ล้อม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มากๆเลยครับที่มีงานดีดีแบบนี้ออกมา :)

เครื่องทำเส้นใยจากก้านผักตบชวา

อาจารย์สอนวิธีสะบัดก้านเข้าไปให้ได้เส้นใยที่สวยงาม

 

Sponsored Ad

 

สำหรับมือใหม่ก็อาจต้องฝึกกันนิดนึงครับ แต่อาจารย์บอกว่าทำได้กันแน่ๆครับ

 

Sponsored Ad

 

เส้นใยที่ได้มาหลังจากเครื่องตีเอามาตากแห้งครับ

.

เส้นใยพวกนี้พอตากให้แห้ง นำมาคัดแยกเพื่อส่งไปทำด้ายที่โรงงานต่อไปครับ

Sponsored Ad

จากก้านที่ไม่รู้จะทำอะไรได้บ้าง อาจารย์บอกว่านอกจากก้านผักตบชวา อื่นๆที่เป็นส้นใยก็เอามาทำได้หมดครับ

อันนี้เป็นใบผักตบชวาที่นำมาล้างตาก เพื่อเตรียมมาทำจานชามต่อไปครับ

ก็จะเห็นว่าเส้นใยที่อาจารย์กับที่เราทำก็จะแตกต่างกันนิดหน่อยครับ ตามความชำนาญ 55

ส่วนเศษนี้คือผงที่เราได้มาจากเครื่องตีเส้นใยครับ ซึ่งเราสามารถนำมาบดขึ้นรูปเป็นกระดาษต่อได้

เส้นใยตากแห้ง และแปรรูปมาเป็นเส้นด้ายเพื่อทักถอเสื้อผ้าต่อไปครับ

เส้นด้ายจากผักตบชวาที่ออกมาจากโรงงาน

มาต่อกันที่สเตชั่นทำจานชามครับ

ถ้าเป็นใบที่เล็กหน่อยเราก็เริ่มจากการทากาวแป้งเพื่อให้ได้ใบที่ใหญ่ขนาดเหมาะสมซะก่อน

ใบที่ทำได้จริงๆก็หลายหลายครับ ไม่จำเป็นต้องใบผักตบ ถ้าใครอยากลองใบอะไร อาจารย์แนะนำว่าพกติดไปลองด้วยก็ได้ครับ

เครื่องขึ้นรูปจานชาม

เมื่อวางใบบนแท่นพิมพ์และโยกขึ้นไป เครื่องก็จะให้ความร้อนเพื่อขึ้นรูป

.

ตัวเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และตั้งเวลาได้

แอดมินเพจ Refill Station ปั๊มน้ำยา  ก็ได้ชวนคุณแม่ น้องสาว (และคุณพ่อ) ไปด้วยกันครับ

ข้อมูลและภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก Refill Station ปั๊มน้ำยา

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ