เรื่องราวของ "พาสาน" จุดเช็คอินใหม่ของปากน้ำโพ เป็นมากกว่าจุดถ่ายรูป ที่คนต้องบอกต่อ!

LIEKR:

มีใครเคยไปมาแล้วบ้าง ขอรีวิวหน่อยยย

    เปิดแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองนครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเก๋ๆว่า "พาสาน" โดยชื่อ "พาสาน" นั้นมีที่มาจากคำว่า "ผสาน" คือ การรวมกัน แต่ "พาสาน" คือ การพาคนเข้าไปสานให้เกิดการผสมผสานกันระหว่าง คน สถานที่ และสภาพแวดล้อม

    ตัวแบบจะมีทรงคล้ายๆ กับสายน้ำที่ไหลสลับซับซ้อนกันเป็นชั้นๆ มองดูสวยงามสะดุดตา ย้อมด้วยสีน้ำตาลเพิ่มความน่าค้นหาให้มากขึ้นไปอีก

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของปากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว พาสานแห่งนี้ยังถือได้ว่าเป็นมุมถ่ายรูปที่เก๋ๆ มากๆ แนะนำให้มาถ่ายรูปเล่นกันในช่วงแดดร่มลมตก คุณจะได้รูปภาพที่ดูครีเอทไปแบบสุดๆ ไปเลย

 

Sponsored Ad

 

    นอกจาก พาสาน จะเป็นจุดชมวิวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแล้ว ยังมีสำนักงาน ห้องจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยว ลานประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิม รวมไปถึงกิจกรรมแสง สี เสียงแสดงถึงวิถีชีวิตผู้คนกับสายน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกด้วย

    นักท่องเที่ยว สามารถนั่งเรือข้ามฟากไปฝั่งพาสาน เพื่อชมพระอาทิตย์ตก สัมผัสความงดงามของต้นน้ำเจ้าพระยา วิถีชีวิตของคนริมนํ้าแห่งปากนํ้าโพ นครสวรรค์

 

Sponsored Ad

 

    แต่เชื่อเหลือเกินว่าก็ยังมีอีกหลายต่อหลายคนที่ยังไม่เคยไปสถานที่เเห่งนี้หรือเเม้เเต่คนที่เคยไปมาเเล้วมีโอกาสไปเซลฟี่ถ่ายรูปมาเเล้วก็น้อยคนนักที่จะรู้ที่มาที่ไปของ “พาสาน” แห่งนี้   วันนี้มีข้อมูลดีๆมาฝากกัน 

 

Sponsored Ad

 

พาสาน คืออะไร?
    ตอบ : พาสาน คือ ชื่อของอาคารสัญลักษณ์ต้นเเม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบกันของเเม่น้ำทั้ง 4 สาย ได้เเก่ปิง วัง ยม น่าน รวมกันเป็นเเม่น้ำเจ้าพระยา สถานที่บริเวณนี้ชาวนครสวรรค์จะเรียกกันว่า “เกาะยม”  อาคารเเห่งนี้ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 3 ไร่ 48 ตารางวา  พื้นที่บริเวณที่ใช้ก่อสร้างได้รับอนุมัติจากธนารักษ์นครสวรรค์ส่วนหนึ่ง  อีกส่วนหนึ่งได้รับบริจาคจาก น.ส.วรรณี ชัยประสิทธิ์ โดยมีข้อเเม้ว่า จะต้องสร้างรูปเคารพองค์เจ้าเเม่กวนอิมไว้ด้วย   ที่ดินอีกส่วนหนึ่งก็ได้ซื้อเพิ่มจากเงินบริจาคของประชาชนคนนครสวรรค์

 

Sponsored Ad

 

ที่ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบกันของเเม่น้ำทั้ง 4 สาย ได้เเก่ปิง วัง ยม น่าน รวมกันเป็นเเม่น้ำเจ้าพระยา สถานที่บริเวณนี้ชาวนครสวรรค์จะเรียกกันว่า “เกาะยม”

“มีความเป็นมาอย่างไร”
    ตอบ : ตั้งเเต่ประมาณ 15  ปีที่เเล้ว มีการรวมตัวกันเองของกลุ่มประชาชนในตลาดปากน้ำโพ  และตั้งชื่อว่า  “ชมรมรักษ์ต้นน้ำเจ้าพระยา”  มีเเนวคิดอยากเห็นสัญลักษณ์อะไรสักอย่างที่อยู่ตรงบริเวณต้นกำเนิดเเม่น้ำเจ้าพระยา    เพื่อเป็น สัญลักษณ์ เป็นเเหล่งท่องเที่ยว เป็นเเหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เเละวิถีชีวิตของคนริมเเม่น้ำ   เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของปากน้ำโพ  และ มีการบริจาคเงินจากคนนครสวรรค์ (ในเวลาต่อมาเงินจำนวนนี้ได้นำไปซื้อที่ดินเพิ่ม 3 แปลง เป็นเงิน 9 ล้านกว่าบาท)    นั่นถือเป็นจุดเริ่มต้น

 

Sponsored Ad

 

มีการรวมตัวกันเองของกลุ่มประชาชนในตลาดปากน้ำโพ และตั้งชื่อว่า “ชมรมรักษ์ต้นน้ำเจ้าพระยา” มีการบริจาคเงินจากคนนครสวรรค์ 

(ในเวลาต่อมาเงินจำนวนนี้ได้นำไปซื้อที่ดินเพิ่ม 3 แปลง เป็นเงิน 9 ล้านกว่าบาท)

Sponsored Ad

อาคารเป็นรูปอะไร เเละทำไมถึงต้องเป็นรูปนี้?
    ตอบ : ไปไปมามา เรื่องการสร้างสัญลักษณ์ที่จุดกำเนิดเเม่น้ำเจ้าพระยานั้น  ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ  ต้นเเม่น้ำเจ้าพระยานั้นถือเป็นสถานที่สำคัญระดับประเทศ จึงต้องมีการทำเรื่องทางเอกสารมากมาย รวมถึงต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนในประเทศไทยมีส่วนร่วม  จึงมีการระดมความคิดเเละจัดประกวดเเบบอาคาร รูปแบบ เเละชื่อของอาคารแห่งนี้ขึ้นซึ่งจัดโดย สมาคมสถาปนิกสยาม    และผลงานที่ถูกเลือก ก็คือ ผลงานของนายไกรภพ โตทับเที่ยง เเละคณะ
    ส่วนอาคารเป็นรูปอะไรนั้น  คำตอบคือ ถ้าสังเกตลักษณะจากภายนอกโดยเฉพาะด้านมุมบน จะเห็นตัวอาคารเป็นเส้นทอดยาวจากจุดเริ่มต้นมี 4 เส้น เเละจะมารวมกันเป็น 2 เส้น จากนั้นจะค่อยๆผสานรวมกันที่จุดปลายเป็นหนึ่งเดียว เสมือนวิถีของเเม่น้ำทั้งสี่  ปิง วัง ยม น่าน นั่นเอง  จากสี่เป็นสองเเล้วกลายเป็นหนึ่ง ณ ที่นี่

สังเกตลักษณะจากภายนอกโดยเฉพาะด้านมุมบน จะเห็นตัวอาคารเป็นเส้นทอดยาวจากจุดเริ่มต้นมี 4 เส้น เเละจะมารวมกันเป็น 2 เส้น 

จากนั้นจะค่อยๆผสานรวมกันที่จุดปลายเป็นหนึ่งเดียว เสมือนวิถีของเเม่น้ำทั้งสี่ ปิง วัง ยม น่าน นั่นเอง 

จากสี่เป็นสองเเล้วกลายเป็นหนึ่งที่นี่ / มีการประกวดนักออกแบบจากทั่วประเทศ

เเล้วได้เริ่มสร้างเมื่อไร?
    ตอบ : มีการเซ็นสัญญาก่อสร้าง  เมื่อวันที่  30 มีนาคม พ.ศ2559    ระหว่าง นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์พร้อมด้วยนายอนันต์ ชำนาญโลหะวาณิช  หุ้นส่วนบริษัทเจริญภัณฑ์พาณิชย์ (1984)      และมีการทำพิธีลงเสาเอกการก่อสร้างต้นเเรก เมื่อวันที่  31 พฤษภาคม 2559

ใช้งบประมาณเท่าไร  เเละงบจากไหน?  และใครประมูลการก่อสร้างได้?
    ตอบ : เรื่องงบประมาณเป็นเรื่องที่ชาวนครสวรรค์เข้าใจผิดเป็นอย่างมากเรื่องนึง  เพราะหลายคนยังคิดว่าสมควรเอางบประมาณตรงนี้ไปพัฒนาอย่างอื่นของนครสวรรค์ เเต่เเท้จริงๆเเล้วนั่นเป็นเรื่องเข้าใจผิด   งบประมาณตรงนี้เป็นงบประมาณสนับสนุนจากกรมการท่องเที่ยวจำนวน 117,600,000 บาท นั่นหมายความว่า หากไม่มีการทำโครงการนี้ เงินจำนวนนี้ก็ไม่ได้ตกเป็นของนครสวรรค์บ้านเรา   **สิ่งเดียวที่นครสวรรค์บ้านเราจะเสียหายในกรณีที่สถานที่เเห่งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ก็คือ งบประมาณในการดูเเลรักษาของเทศบาลนครนครสวรรค์นั่นเอง  เเต่ในทางกลับกันถ้าสถานที่แห่งนี้สามารถสร้างการเปลี่ยนเเปลงให้กับนครสวรรค์บ้านเราได้  นี่ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อจังหวัดเราเป็นอย่างมาก    และ    หุ้นส่วนบริษัทเจริญภัณฑ์พาณิชย์ (1984) จำกัดเป็นผู้ประมูลได้ โดยประมูลได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557   จนกระทั่งเวลาผ่านมาจนถึง พ.ศ.2559   ตามความเป็นจริงแล้วค่าใช้จ่ายหลายอย่างขยับขึ้น เช่น ค่าเหล็ก ค่าปูน ค่าวัสดุอื่นๆ  แต่ทาง นายอนันต์ ชำนาญโลหะวาณิช ยังยืนยันในราคาเดิม โดยได้กล่าวในที่งานเซ็นสัญญาว่า “โครงการนี้เป็นโครงการที่เริ่มจากคนปากน้ำโพ สร้างที่ปากน้ำโพ และยินดีที่จะสร้างด้วยคนปากน้ำโพ  บริษัทตนเองทำงานก่อสร้างมากว่า 30 ปี ไม่เคยมีโครงการไหนทำให้ตื่นเต้น ขนลุก เเละศรัทธาเท่าโครงการนี้มาก่อน เพราะฉะนั้นยืนยันไม่ขยับราคาขึ้น”

 หากเสร็จเรียบร้อยเเล้ว  พาสาน จะใช้ทำอะไรบ้าง?
    ตอบ : เมื่อแล้วเสร็จ พาสาน จะประกอบไปด้วย
    - สำนักงาน พาสาน
    - ห้องจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยว ฯลฯ
    - ส่วนควบคุมระบบอาคาร
    - จุดชมวิวทัศนียภาพ จุดกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา
    - ลานประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมองค์ใหญ่
    - แพท่าน้ำ 2 หลัง
    มีกิจกรรม แสง สี เสียง แสดงถึงวิถีชีวิตผู้คนกับสายน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    สาดส่องไปยังตัวอาคารด้วยเทคโนโลยี มัลติมีเดีย เปิด 10.00น.-20.00น.

ในฤดูน้ำหลาก อาคารเเห่งนี้จะถูกน้ำท่วมไหม?
    ตอบ : แบบสัญลักษณ์ มีการคัดเลือกกว่า 100 แบบ โดยทุกๆแบบต้องคำนึงถึงระดับน้ำที่ท่วม ปี 2554 คือประมาณ สูงกว่า 28 รทก. นั่นหมายถึงว่า แบที่ก่อสร้างมีการยกพื้นให้สูงขึ้น และน้ำจะไม่ท่วมตัวอาคาร “พา-สาน  สัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา” แน่นอน

คำว่า “พาสาน” หมายถึงอะไร?
    ตอบ : พาสาน   หมายถึงว่า “อาคารเเห่งนี้จะพาผู้คนที่ได้มาเที่ยว ได้มาเยี่ยมชมนั้น ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตของคนเเม่น้ำ   ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของปากน้ำโพ นั่นเอง”

ข้อมูลและภาพจาก sanookmthaikhaonakhonsawan