"เพราะไทยคือเจ้าแห่งรังสีและนิวเคลียร์ในอาเซียน" อีกหนึ่งก้าวสำคัญของประเทศไทย

LIEKR:

"เพราะไทยคือเจ้าแห่งรังสีและนิวเคลียร์ในอาเซียน" อีกหนึ่งก้าวสำคัญของประเทศไทย

    เฟซบุ๊ก Patiparn Nikulkarn ได้โพสต์ข้อความ เกี่ยวกับ กฟผ. ได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ส่งวิศวกรไปดูงานจากประเทศจีนในการการสร้าง เตา Tokamak สำหรับวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ( อ่านเพิ่มเติม : สุดล้ำ ! พี่จีนสร้าง "ดวงอาทิตย์เทียม" ลั่นร้อนกว่าดวงอาทิตย์จริง 6 เท่า )

    โดยผู้โพสต์ระบุไว้ว่า จากข่าวล่าสุดที่มีเขียนเกี่ยวกับเรื่องที่ กฟผ. ได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ในการส่งวิศวกรไปดูงานและเตรียมรับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากประเทศจีนในการการสร้าง เตา Tokamak สำหรับวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งให้พลังงานในปริมาณที่สูงมากกว่านิวเคีลยร์ปฏิกิริยาฟิชชั่น และทาง กฟผ. เองก็วางแผนไว้ว่าในอนาคตจะใช้พลังงานตัวนี้ที่ถือเป็นพลังงานสะอาดในการขับเคลื่อนความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ อีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องไปที่จีน ไม่ไปที่ ITER ซึ่งอยู่ในฝรั่งเศสล่ะ ไปจีนจะได้อะไรเยอะงั้นหรอ ดังนั้นจึงจะขออธิบายถึงการพัฒนานิวเคลียร์ฟิวชั่นแบบของจีนแบบเบื้องต้น

    จีนเป็น 1 ไม่กี่ประเทศบนโลกที่มีความสามารถในการวิจัยและพัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่น โดยครั้งแรกที่มีวิจัยคือในช่วงปี 1950 โดยสถาบันวิจัยพลังงานอะตอมมิค (Institute of Atomic Energy : IAE) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง และหลังจากนั้นก็ได้มีการตั้งสถาบันวิจัยขึ้นอีกหลายแห่ง โดยสถานที่ที่สำคัญได้แก่ สถาบันฟิกส์ตะวันตกเฉียงใต้ที่มีที่ตั้งอยู่ที่เมืองเฉิงตู ซึ่งได้มีการเริ่มทดลองด้วยเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็กในรุ่น HL-1M Tokamak ที่เริ่มเดินเครื่องเพื่อการวิจัยมาตั้งแต่ปี 1984 และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของวงการนิวเคลียร์ฟิวชั่นในประเทศจีน

 

Sponsored Ad

 

    และจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อจีนโดยได้รับเตาปฏิกรณ์ฟิวชั่นแบบ Tokamak รุ่น T-7 สำหรับการวิจัยมาจาก โซเวียต ซึ่งเป็นมรดกสำคัญที่ทำให้จีนมีความสามารถในการพัฒนาเตาปฏิกรณ์ฟิวชั่นต่อมาได้จนถึงปัจจุบัน เพราะจีนได้นำเอาเตาปฏิกรณ์รุ่น T-7 มาทำการลอกแบบและสร้างขั้นมาใหม่ในชื่อ HT-7 โดยที่มี H เข้าไปด้านหน้าก็มาจากชื่อนักวิจัยคนสำคัญของจีนคือ Songtao Wu ที่แกเป็นอดีตนักวิจัยของ ITER ที่เคยทำโครงการของ ITER มาอย่างยาวนาน และ H ก็คือ Hefei หรือก็คือเมืองที่แกเกิดนั่นเองแหละครับ

 

Sponsored Ad

 

    และต่อมาจีนก็ได้ส่งทีมงานเข้ามาร่วมทีมพัฒนาเตาปฏิกรณ์ร่วมกับ ITER เพิ่มเติมในช่วงหลังอีกจนถึงปัจจุบัน และหลังจากที่จีนได้สร้างเตาปฏิกรณ์รุ่น HT-7 ขึ้นมาก็ได้มีการพัฒนาต่อเป็นรุ่น HT-7U ซึ่งอัพเกรดความสามารถของตัว Superconductor ให้มีประสิทธิสูงขึ้น

    ซึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดคือทางจีนเองนั้นก็มีความสามารถในการพัฒนาเตาปฏิกรณ์ของตัวเองที่สูงมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่มีราคาไม่แพงในการเข้าไปเรียนรู้ และรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์ฟิวชั่นจากจีนนั่นเอง

 

Sponsored Ad

 

    และที่กล่าวมาทั้งหมดก็ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างยิ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และพลังงานของไทยอย่างยิ่ง และยังทำให้ไทยเข้าใกล้วิทยาการขั้นสูงของโลกไปอีก 1 ส่วนด้วย หลังจากที่เรามีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นอยู่ที่สำนักปรมาณูเพื่อสันติอยู่ 1 เตาอยู่แล้ว ซึ่ง 1 เตาเล็กๆนั่นก็เพียงพอที่จะสร้างและวิจัยผลิตภัณฑ์จากรังสีมากมาย และสร้างนักวิจัยด้านรังสีและนิวเคลียร์ให้กับประเทศมานักต่อนักแล้วนั่นเอง

    สุดท้ายนี้ก็เพียงแต่หวังว่าในอนาคต ประเทศไทยจะสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดอย่างนิวเคลียร์ได้ง่ายกว่านี้ จึงขอเป็น 1 เสียงที่สนับสนุนให้ พรบ.นิวเคลียร์ ของประเทศไทยผ่านการอนุมัติด้วยเถอะครับ

.

.

ข้อมูลและภาพจาก Patiparn Nikulkarn

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ