แม่พระของเด็กด้อยโอกาส "ครูบุญชู" สละทรัพย์สมบัติที่มี สร้างบ้านดูแลเด็ก 200 ชีวิต มากว่า 9 ปี

LIEKR:

"อย่าเอาแต่หวังได้อะไรจากสังคม..ให้คิดว่าทิ้งอะไรไว้ให้คนข้างหลังบ้าง"

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        "เด็กพิเศษ" นั้น จริงๆ แล้วพวกเขาเลือกเกิดไม่ได้ และไม่ได้ต้องการความสงสารหรือเวทนาจากสังคม แค่เพียงต้องการโอกาสในการแสดงความสามารถพร้อมเปิดใจยอมรับ และเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาเป็น ช่วยให้พวกเขาอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติเพียงแค่นี้พวกเขาก็มีความสุขมากแล้ว

        ผู้หญิงคนนี้ คือ ผู้เสียสละที่แท้จริง ทุ่มเทแรงกาย แรงใจดูแลเด็กพิเศษ โดยเปิดพื้นที่บ้านส่วนตัวของตนเองเป็นมูลนิธิแห่งนี้มานานถึง 9 ปี ทั้งที่พื้นที่บ้านออกจะกว้างขวางใช้ชีวิตอยู่กินได้อย่างสุขสบาย เพราะอะไรทำให้ครูบุญชูต้องพาตัวเองเข้ามาเหนื่อยกับเรื่องราวเหล่านี้

 

Sponsored Ad

 

        เรื่องราวของครูบุญชู ม่วงไหมทอง อดีตข้าราชการครู ที่นอกเหนือจากการเป็นครูด้วยจิตวิญญาณแล้ว ยังเป็นแม่พระผู้ให้ที่มีหัวใจเต็มเปี่ยมด้วยความรัก พร้อมทุ่มเทแรงกายแรงใจ และเสียสละทรัพยสมบัติที่มีเพื่อทำบ้านของตนเองให้เป็นดินแดนของเด็กพิการ หรือ “มูลนิธิบ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ” มายาวนานถึง 9 ปี

 

Sponsored Ad

 

        “จากเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ครึ่งในอดีตตอนนี้เรามีที่ดินทั้งหมด 9 ไร่ 2 งาน ไม่มีเงินรัฐบาลคอยช่วยเหลือ มีเพียงเงินจากสังคมช่วยเหลือเมตตาเกื้อกูลให้ดินแดนเหล่านี้เป็นดินแดนของเด็กๆ อย่างแท้จริง ครูไม่เคยมุ่งหวังว่าครูจะเอาสมบัติตรงนี้ไปทำอะไร ครูหวังเพียงแต่ให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเท่านั้นพอ

        ครูทำงานตรงนี้ด้วยหัวใจ เพราะฉะนั้นเรายืนอยู่ได้ทุกวันนี้คือความซื่อสัตย์ ความจริงใจ จึงเกิดขึ้นเป็นพลังสังคม จึงเป็นพลังให้สังคมมองเห็นเกิดพลังศรัทธาที่เด็กๆ เหล่านี้ที่อยู่ที่นี่ แล้วมาช่วยเรา”

 

Sponsored Ad

 

        จากจุดเริ่มต้นของการเปิดบ้านให้เป็นสถานดูแลเด็กพิเศษที่มีเด็กเพียง 30-40 คน จนกลายมาเป็นมูลนิธิบ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษในวันนี้ ทำให้มีเด็กพิเศษอยู่เกือบ 200 ชีวิต มีทั้งแบบอยู่ประจำและไปกลับ ซึ่งการที่เด็กแต่ละคนจะเข้ามาอยู่ที่นี่ได้ ต้องผ่านการคัดกรองของนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์เพื่อจำแนกการจัดการดูแลที่เหมาะสม

        นี่เป็นอีกเสียงบอกเล่าของ รัตติยา ม่วงไหมทอง ลูกสาวเพียงคนเดียวของครูบุญชู ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของผู้เป็นแม่ที่ได้สัมผัสชีวิตของเด็กพิเศษแต่ด้วยโรงเรียนเขาบายศรี จังหวัดชลบุรีที่ครูบุญชูสอนอยู่นั้นเปิดสอนถึงเพียงชั้น ป.6 ทำให้เกิดความห่วงใยว่าจะทำอย่างไรถึงจะให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนต่อ

 

Sponsored Ad

 

รัตติยา ม่วงไหมทอง ลูกสาวเพียงคนเดียวที่พร้อมสานงานต่อจากแม่

        “เริ่มจากที่คุณแม่เป็นคุณครูอยู่ที่โรงเรียน เป็นคุณครูสอนเด็กปกติธรรมดา และวันหนึ่งแม่ได้มีโอกาสไปอบรมเรื่องเกี่ยวกับการสอนเด็กพิเศษเพื่อที่จะเป็นโรงเรียนร่วม ก็คือเด็กปกติเรียนร่วมกับเด็กพิเศษ จุดนั้นจึงทำให้แม่ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับเด็กพิเศษ และคลุกคลีอยู่กับเด็กพิเศษ

        เด็กพิเศษที่แม่สอนจะจบถึงแค่ป.6 ซึ่งในระบบไม่สามารถรับได้แล้ว แม่จึงได้คุยกันกับผู้ปกครองว่า เราจะทำอย่างไรกับลูกๆ ของเราดี เราฝึกมาแล้วถ้าปล่อยกลับไปก็เท่ากับศูนย์ ทำให้เป็นจุดเล็กๆ เริ่มต้นเป็นบ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษขึ้นพร้อมกับผู้ปกครองที่มีน้องๆ เป็นเด็กพิเศษร่วมกันก่อตั้งเป็นบ้านหนึ่งหลัง”

 

Sponsored Ad

 

        หากถามถึงความท้อแท้ของครูผู้เสียสละคนนี้แล้วนั้นครูบอกว่าไม่มีความท้อแท้กับปัญหาที่เข้ามาแม้แต่นิดเดียว เพราะรู้สึกโชคดีมากแล้วที่มีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์กลุ่มหนึ่งให้เติบโตไปในสังคมอย่างเข้มแข็ง

        “ครูไม่เคยคิดท้อเลย แต่ครูกลับมองว่าครูโชคดีที่มีโอกาสเกิดมาแล้วได้ทำงานตรงนี้ ได้ช่วยเหลือมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ด้อยกว่าเราเยอะ และสิ่งที่ครูภูมิใจ คือครูสามารถที่ทำให้เด็กเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเองได้ในสังคม ตรงนี้คือสิ่งที่เราภูมิใจและเป็นรางวัลที่มีค่าที่สุด

 

Sponsored Ad

 

        ครูปลุกจิตสำนึกคนที่อยู่รอบตัวว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่า และประเสริฐที่สุด เราสามารถที่จะปลุกฝังหรือสามารถที่จะทำ ทำตรงนี้ได้ตราบที่เรามีลมหายใจอยู่ ครูโชคดีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้และครูโชคดีที่จะสามรถทำงานได้ตรงนี้ ครูจึงไม่เคยท้อกับการทำงานตรงนี้เพราะครูถือว่าครูโชคดีแล้วที่เจองานแบบนี้ เพราะว่าถ้าเกิดว่าครูไม่ได้เจอแบบนี้ชีวิตครูอาจจะเป็นอย่างอื่นก็ได้

        ครูจะบอกกับลูกสาวเสมอว่าคนเราเกิดมา ต า ย ไปก็เอาไปไม่ได้ สร้างบุญสร้างบารมีร่วมกันไว้ วันที่ไป จ า ก โ ล ก นี้ทิ้งอะไรไว้ให้คนข้างหลังบ้าง”

Sponsored Ad

        ปัจจุบันมีเด็กขาดโอกาสและขาดการเข้าถึงการศึกษาเป็นจำนวนมาก ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2550 พบว่ามีเด็กพิเศษในวัยเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษามากกว่าร้อยละ 81.7 หรือราวสองแสนคน และยังพบปัญหาการอยู่ร่วมกับเด็กปกติอีกด้วย 

        ความมุ่งหวังของคนเป็นครู หวังเพียงว่าบ้านหลังนี้จะสร้างอนาคตและคุณค่าให้เด็กเหล่านี้ ได้อยู่ในสังคม ได้ใช้ประโยชน์ที่เหลืออยู่ของเขาให้มากที่สุด

        “ทำอย่างไรไม่ให้สมองหยุดการพัฒนา ครูจึงคิดทุกอย่างที่จะให้บ้านหลังนี้มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับเด็กเหล่านี้ให้เด็กเหล่านี้มีคุณค่าในตัวเอง นี่คือสิ่งที่ครูมุ่งหวังที่สุด ในฐานะที่ครูเป็นแม่แล้วต้องดูแลลูกๆ ทั้งหมด ครูไม่ต้องการ ให้ลูกครูอยู่ไปวันๆ โดยที่ไม่มีจุดหมาย ครูพยายามดึงเอาส่วนที่เหลือที่เป็นส่วนดีของเขามาสร้างประโยชน์ จริงอยู่เด็กๆ อาจจะเรียนไม่ได้ เรียนไม่เข้าใจเพราะวิชาการอาจจะซับซ้อนแต่งานฝีมือแบบนี้อาจไม่ได้ใช้ความคิดมากเท่าไหร่นัก ใช้ความจำ อาศัยทำซ้ำๆ จนเกิดความเคยชิน เข้ามาทำทุกวัน แล้วเด็กก็จะมีงานทำ ได้มีความสุข สมองก็จะได้เพิ่มพัฒนาการไปเรื่อยๆ”

        และที่นี่ยังมีโรงเรียน กศน. (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) เพื่อให้เด็กพิเศษได้เรียนรู้เหมือนกับเด็กทั่วไป ให้เด็กมีโอกาสได้เรียนหนังสือได้พัฒนาตัวเองในทุกๆ ด้านเท่าที่มูลนิธิแห่งนี้จะทำได้

        “ครูต้องการให้เด็กใช้สมองตัวเองเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้เขามีโอกาสที่จะอยู่กับตัวหนังสือบ้าง เด็กเหล่านี้ยังมีศักยภาพในการที่จะเรียนได้ จึงร่วมมือกับ กศน.สัตหีบ เปิดเป็น กศน. จึงนำเด็กที่พอจะเรียนได้มาเรียน

        กรณีที่เด็กที่ไม่สามารถเรียนร่วมได้ ก็มีกิจกรรมอื่นให้ทำ มีกิจกรรมฝึกอาชีพให้ จะมีคุณแม่คุณลูกช่วยกันทำ เช่นกระปุกออมสินหลากหลายรูปแบบ กางเกงเสื้อที่บริจาคนำแปรเป็นกางเกงสำหรับคนตัวใหญ่ๆ ส่วนเศษผ้าที่เหลือก็มาทำเป็นผ้าเช็ดเท้า เราพยายามนำเอาของที่ทุกคนบริจาค และของเหลือใช้กลับมาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด”

        ไม่น่าเชื่อว่าจากเด็กที่หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระของสังคมไม่สามารถเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอะไรได้ จะสามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาได้ บางคนถึงขั้นเป็นเลิศในสิ่งที่ตนเองถนัดด้วย อย่างน้องนนท์-ศักดิ์สิทธิ์ เมืองมัจฉา วัย 21 ปี ที่เข้ามาพักอาศัยอยู่ในมูลนิธิแห่งนี้มานานถึง 3 ปี เป็นเด็กสมาธิสั้น ที่เป็นนักกีฬาโบว์ลิ่งทางปัญญา เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่9 ณ ประเทศมาเลเซีย

น้องนนท์-ศักดิ์สิทธิ์ เมืองมัจฉา นักกีฬาโบว์ลิ่งทางปัญญา

        ด้านลูกสาวเพียงคนเดียวของครูบุญชู เธอเฝ้ามองการทำงานของผู้เป็นแม่ที่ได้ทุ่มเทต่อการทำมูลนิธิตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา แม้จะขาดแคลนปัจจัยในการทำงานแต่แม่ก็ไม่เคยบ่นเคยท้อต่อสิ่งที่ทำแม้แต่น้อย

        “เอาจริงๆ นะ แม่ไม่เคยพูดอะไรเลย แต่เราอาจจะมีการคุยกันว่าแม่เดือนนี้จะไหวไหมค่าใช้จ่าเท่านี้กับรายรับที่เราได้มาเท่านี้ แม่ก็จะพูดเสมอว่าไม่เป็นไรทุกครั้ง เหมือนกับว่าไม่อยากให้เราเสียกำลังใจ แม่จะชอบพูดว่าไม่เป็นไรหรอกเดี๋ยวก็มีทางออกของมัน มันจะต้องทำได้สิ เหมือนเราตั้งใจทำดีแล้ว ก็ต้องมีแต่เรื่องดีๆ เกิดขึ้น แต่แล้วมันก็ผ่านมาได้ทุกครั้งจริงๆ”

        สำหรับอนาคตของมูลนิธิแห่งนี้หากถึงวันที่ครูบุญชูทำไม่ไหวลูกสาวเพียงคนเดียวก็พร้อมที่จะสานต่อกับงานที่แม่ได้ทำไว้ แม้จะอดห่วงไม่ได้ว่าจะดำเนินต่อไปได้แบบมั่นคงหรือไม่

        “กำลังทรัพย์ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณแม่ๆ ที่มีผู้ปกครองเป็นเด็กพิเศษที่เราร่วมกันก่อตั้งขึ้นมา เราทำเป็นผ้าป่าการกุศลขึ้นมา จัดเป็นผ้าป่าระดมทุน รวมถึงผู้ปกครองที่มีกำลังทรัพย์เยอะที่เห็นถึงความสำคัญว่าลูกเขาจะมีที่วิ่งเล่น มีที่ทำให้เกิดความสุข เขามีกำลังหลักในการบริจาคที่ดินให้กับเรามาเพิ่มเรื่อยๆ

        คือเราจะมีการจัดผ้าป่าการกุศลกันทุกปี เพื่อระดมทุนขยับขยาย ทุกๆ อย่างที่เราได้มา ก็ได้มาจากพลังความร่วมมือของทุกคน ส่วนหนึ่งมาจากที่คุณแม่ตั้งแต่แรกหลังจากนั้นก็คือมาจากการรวมกลุ่มกัน การ่วมบุญร่วมกุศลกันที่เราทำตรงนี้ขึ้นมา”

        จริงๆ เรื่องทุนถ้าในระยะสั้นที่เรามอง ด้วยความเป็นจิตใจของคนไทยในการให้ความช่วยเหลือเราไม่ห่วง แต่สิ่งที่ห่วงคือระยะยาวอีก 10 ปี ข้างหน้าเราจะยังคงอยู่ได้ไหม แล้วเราจะอยู่อย่างมีคุณภาพไหม เด็กของเราจะเติบโตเป็นอย่างไร อันนั้นคือสิ่งที่เราห่วงมากกว่า

        และอีกอย่างคือเราอยากได้บุคคลากร หรือองค์กรที่เป็นมืออาชีพ ที่มีความมั่งคงที่คอยให้คำปรึกษาหรือคอยดูแล น่าจะมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น อีกอย่างพื้นฐานเด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กพิเศษหรือเด็กปกติสามารถพัฒนาศักยภาพเขาได้ ถ้าเรามองเห็นและก็เข้าใจเขา”

        เราต้องยอมรับกันว่าในสังคมไทยยังมีเด็กกลุ่มนี้อยู่ ที่บางครั้งอาจจะขาดคนที่ดูแล หรือว่าคนที่มาทำงานที่มีความรู้ และมีใจรักในการดูแลเขาอย่างถูกต้อง เพื่อจะทำให้เด็กเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีโอกาสพัฒนา สามารถทำงานหรือมีศักยภาพในการดำรงชีวิตได้

ชมคลิป...

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ที่มา : เฟซบุ๊ก kruboonchoohome

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ