เปิดข้อแตกต่างคำว่า "พระบรมราชวงศ์" กับ "พระบรมวงศานุวงศ์" ที่คนไทยกว่าครึ่งประเทศยังเข้าใจผิด

LIEKR:

คนไทยครึ่งประเทศเข้าใจผิดมาตลอด

        หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินทั้งคำว่า “พระบรมราชวงศ์” และ “พระบรมวงศานุวงศ์” แต่เชื่อหรือไม่ว่า ปัจจุบันยังคงมีคนไทยหลายคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของสองคำนี้อยู่

        "บรมราชวงศ์" หรือ "บรมวงศ์" นับเฉพาะเจ้านายที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง หรือเชื้อสายโดยตรงกับองค์กษัตริย์ ได้แก่ พี่ น้อง ลูก ถ้าเรียกง่ายๆ คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับการปกครองในรัชสมัยนั้นๆ ซึ่งในทางแพ่งก็คือเป็นทายาท

 

Sponsored Ad

 

        อีกสิ่งที่ต้องรู้คือ คำว่า "ทูลกระหม่อม" เป็นคำใช้เรียกเจ้าฟ้าชั้นเอกเท่านั้น ดังนั้น เมื่อรวมใจความตามหลักกฎหมายและกฎมณเฑียรบาลแล้ว แปลว่าแม้ลาออกจากฐานันดรแล้ว ยังคงไม่ขาดจาก “พระบรมราชวงศ์” ในทางเทคนิค และยังสามารถกลับคืนสกุลยศเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกได้ตลอดเวลา ซึ่งใน พระราชโองการ ชี้จำเพาะแค่ “พระบรมวงศ์” เท่านั้น (ซึ่งใช้คำว่าพระบรมราชวงศ์) ไม่ใช่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

 

Sponsored Ad

 

.

        ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ หมายถึง พระประยูรญาติใหญ่น้อยทั้งหมดทุกราชสกุลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประกอบด้วย 2 คำ คือ

        - พระบรมวงศ์ (บรมวงศ์ แปลว่า วงศ์ประเสริฐ หมายถึง วงศ์ใหญ่) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็น "พระญาติที่สนิทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" อันได้แก่ เจ้านายที่มีพระยศเป็น เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ชั้นลูกหลวง ตัวอย่างพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หรือที่ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระเชษฐภคินี เป็นต้น

 

Sponsored Ad

 

        - พระอนุวงศ์ (อนุวงศ์ แปลว่า วงศ์น้อย) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็น "พระญาติห่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" อันได้แก่ เจ้านายที่มีพระยศตั้งแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ลงมาถึง หม่อมเจ้า ซึ่งหม่อมเจ้าถือเป็นพระอิสริยยศชั้นสุดท้ายในบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์

        ส่วนหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวงถือเป็นสามัญชน ไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์และมิได้จัดอยู่ในพระอนุวงศ์ แต่เรียกว่า ราชนิกุล และเป็นผู้อยู่ในราชสกุล หรือผู้เนื่องในสายราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายลงมาจากหม่อมหลวงจะมีคำนำหน้านามตามปกติสามัญคือ นาย/นางสาว และมีสร้อย ณ อยุธยา ต่อท้ายนามสกุลอันเป็นราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากฝ่ายบิดาเท่านั้น และสำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายราชสกุลจากมารดาสามารถขอใช้นามสกุลมารดาอันเป็นราชสกุลได้ แต่ห้ามเติมคำว่า ณ อยุธยา เป็นเด็ดขาด ดังนั้นจึงพึงระวังในการใช้ เพราะพระราชวงศ์จะสืบราชตระกูลทางฝ่ายหน้าเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

        สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาทิ ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2513 พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ หรือ พระองค์วรรณ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ หม่อมหลวงต่วนศรี (มนตรีกุล) วรวรรณ

 

Sponsored Ad

 

        พระบรมวงศานุวงศ์ ที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย พระนามเดิม หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระหว่างปี 2491-2492 เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กับหม่อมส้วน ไชยันต์ ณ อยุธยา

        พระบรมวงศานุวงศ์ ที่เคยดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ศาสตราจารย์พิเศษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อปี 2516 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ และหม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

 

Sponsored Ad

 

        ทั้ง 3 ท่านที่ยกมาข้างต้น เป็น พระบรมวงศานุวงศ์ ไม่ใช่ พระบรมราชวงศ์

.

ข้อมูลและภาพจาก GoodOldNameTH, วิกิพีเดีย


บทความที่คุณอาจสนใจ