LIEKR:
หากนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นการก่อกำเนิดขึ้นมาของเซ็นทรัลกรุ๊ป ภายใต้การนำของ “เจ็งนี่เตียง” หรือ “เตียง แซ่เจ็ง” ชาวจีนไหหลำที่อพยพเข้ามาสร้างรกรากในไทย ตั้งแต่ปี 2470 ซึ่งตั้งต้นอาชีพจากกิจการร้านกาแฟ และร้านขายของชำเล็กๆ ในฝั่งธนบุรี ก่อนจะข้ามฟากมาเปิด “ห้างเซ็นทรัลเทรดดิ้ง” ในปี 2490 ขายหนังสือ และสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
Sponsored Ad
ในปี 2493 เตียง เริ่มเปลี่ยนนามสกุลจากเดิม ที่ใช้ "แซ่เจ็ง" มาเป็น "จิราธิวัฒน์” ซึ่งความหมายของคำว่า "จิราธิวัฒน์" มาจากคำ 3 คำ คือ "จิระ" หมายถึง ยืนนาน "อธิ" หมายถึง ความยิ่งใหญ่ และ "วัฒน์" คือ วัฒนา เมื่อนำมารวมกันแล้ว จะหมายถึง ตระกูลที่มีความยิ่งใหญ่วัฒนาอย่างยาวนาน
จริงและยิ่งใหญ่ตามความหมายของนามสกุล...นิตยสารชื่อดัง ฟอร์บส เปิดเผยถึงความมั่งคั่งของ 50 อภิมหาเศรษฐีไทย โดยข้อมูลเมื่อปี 2564 พบว่า อันดับที่ 5 จาก 50 กลุ่มบุคคลที่รวยที่สุดในเมืองไทย คือ “ตระกูลจิราธิวัฒน์” แห่งกลุ่มเซ็นทรัล โดยมีทรัพย์สินประมาณ 1.16 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3.86 แสนล้านบาท
Sponsored Ad
ณ ขณะนี้ ทายาทจิราธิวัฒน์ เดินทางมาถึงรุ่นที่ 4 รวมแล้วกว่า 2 ร้อยชีวิต ลูกหลานในตระกูลยังใช้ชีวิตรวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ กระจายอยู่ใน 4 บ้านหลักๆ คือ บ้านศาลาแดง(บ้านดั้งเดิมเจ้าสัวเตียง), บ้านพหลโยธิน, บ้านสาธร พารค์เพลส และคอนโดบนถนนสาทร ซึ่งมีรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 อยู่รวมกันถึง 32 ครอบครัว
Sponsored Ad
ลูกหลานมากมายหลายร้อยชีวิตถึงเพียงนี้ ทรัพย์สินกองโตเท่าภูเขา แต่เหล่าทายาทไม่เคยมีข้อครหาวิวาทแย่งชิงทรัพย์สินให้ด่างพร้อย พวกเขาดูแลจัดการกันอย่างไร ทีมข่าวเจาะประเด็น ไล่เรียงเข้าใจง่ายๆ ที่นี่ที่เดียว...
1. ครอบครัวจิราธิวัฒน์ ใช้ระบบ “คณะกรรมการ” ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องของครอบครัวและเรื่องธุรกิจ ซึ่งที่มาของคณะกรรมการจะต้องโปร่งใส และเป็นที่ยอมรับของครอบครัว
2. ในระบบคณะกรรมการ พ่อ-แม่ หรือพี่ใหญ่ ยังคงกุมอำนาจตัดสินใจสูงสุด เพราะถือเป็นการให้เกียรติผู้อาวุโสที่ก่อตั้งธุรกิจมาช้านาน
Sponsored Ad
3. ตระกูลจิราธิวัฒน์ มี “สภาครอบครัว” ซึ่งมีหน้าที่จัดการสารพัดเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น ดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกในด้านต่างๆ, ดูแลระเบียบและการให้สวัสดิการแก่สมาชิก, บริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัว (กงสี) รวมทั้งกำหนดผลประโยชน์สำหรับผู้ที่เกิดมาอยู่ใต้ร่มตระกูลนี้
4. สภาครอบครัวจิราธิวัฒน์จะยังคงมีสภาเดียวเสมอไป แม้ตระกูลจะแตกแขนงออกไปมีลูกมีหลานอีกหลายสายครอบครัวแล้วก็ตาม
5. ตระกูลจิราธิวัฒน์ แบ่งแยกเรื่องธุรกิจกับครอบครัวอย่างชัดเจน โดยเรื่องธุรกิจให้ไปที่บอร์ดใหญ่ ส่วนเรื่องครอบครัวให้มาที่สภาครอบครัว
Sponsored Ad
6. คนตระกูลจิราธิวัฒน์ จะมีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งสำหรับสมาชิกรุ่นเด็กก็คือ ทุกช่วงปิดเทอม ลูกหลานทุกคนจะต้องเข้ามาทำงานในกิจการของครอบครัว เช่น ขายน้ำ, ขายอาหาร, คิดเงิน เพราะผู้ใหญ่ในตระกูล มองว่าการเริ่มทำงานตั้งแต่เล็ก ช่วยสร้างความคุ้นเคยกับบริษัทและเพื่อนร่วมงาน ฉะนั้น เมื่อเรียนจบก็จะสามารถทำงานได้ทันทีไม่มีติดขัด
7. ห้ามไม่ให้คนในตระกูลทำธุรกิจที่แข่งกับครอบครัว และห้ามไม่ให้ทำธุรกิจที่ต้องมาพึ่งพิงบริษัทของครอบครัว หากไม่กระทำตามจะมีบทลงโทษ คือ เอาสมาชิกคนนั้นออกจากบริษัทครอบครัว, ถูกตัดคะแนน, เป็นแกะดำของครอบครัว เป็นต้น
Sponsored Ad
8. สำหรับคนในตระกูลจิราธิวัฒน์ ทายาทที่ทำงานให้กับบริษัทจะได้เงินเดือน และเงินปันผล ถ้าผลงานดีได้โบนัส แต่ไม่ได้หุ้นเพิ่ม ส่วนคนที่ไม่ได้ทำงาน จะได้เฉพาะเงินปันผลเท่านั้น
9. สมาชิกในตระกูลจิราธิวัฒน์ จะมีสิทธิ์ในกงสี โดยเฉพาะในเรื่องค่าการศึกษา, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าที่อยู่อาศัย, ค่างานศพ, ค่างานแต่ง เป็นต้น แต่ผู้ที่จะได้รับสิทธิ์นี้ จะต้องมีความประพฤติดี และไม่เคยทำให้วงศ์ตระกูลด่างพร้อย โดยมีสภาครอบครัวเป็นผู้ดูแลจัดการ
Sponsored Ad
10. ห้ามไม่ให้พี่น้องในตระกูลจิราธิวัฒน์ขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่น และขายหุ้นได้เฉพาะกับคนภายในครอบครัวกันเองเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของ "การบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวของตระกูลจิราธิวัฒน์" ยังมีอีกมากมาย และมีสาระสำคัญอีกหลายประการ ซึ่งเป็นต้นทางของการสร้างกิจการครอบครัวให้ประสบความสำเร็จ โดยยังรักษาความเป็นครอบครัวที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ได้...
ชมคลิปที่เกียวข้องเพิ่มเติม ครอบครัวกลมกล่อม แพร์ - พีช - พาย
คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิก <<<
ที่มา : thairath ,AMARIN TV