ดูกันชัดๆ! รายได้ ส.ส.-ส.ว. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้เงินเดือนกันเท่าไร? ทำไมใครๆถึงอยากเป็น

LIEKR:

ดูกันชัดๆ! รายได้ ส.ส.-ส.ว. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้เงินเดือนกันเท่าไร? ทำไมใครๆถึงอยากเป็น

    ดูกันชัด ๆ  ส.ส.-ส.ว. และตำแหน่งการเมืองสำคัญต่าง ๆ รับทรัพย์กันขนาดไหน มีเงินเดือนเท่าไร มาจากทางไหนบ้าง 

    ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งผลคะแนนในหลายพื้นที่หักปากกาเซียนไปพอสมควร แต่ก็ทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หน้าใหม่พาเหรดเข้าสภาฯ ให้เราได้เห็นโฉมหน้ากันคร่าว ๆ บ้างแล้ว ขั้นตอนหลังจากนี้ไป พรรคการเมืองจะต้องรวบรวมเสียงในสภาฯ เพื่อเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หากได้รับคะแนนรวมเกิน 376 เสียง จึงจะก้าวขึ้นสู่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย

 

Sponsored Ad

 


ภาพจาก PKittiwongsakul / Shutterstock.com

    จะเห็นว่าทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ล้วนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ทางการเมือง กระปุกดอทคอม จึงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับข้อมูลเงินเดือน รายได้ และผลตอบแทนต่าง ๆ ของ ส.ส. ส.ว. รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง มาให้ดูกันว่าในแต่ละตำแหน่งนั้นมีค่าตอบแทนมาก-น้อยแค่ไหน ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2556 ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์รัฐสภาไทย 


เงินเดือนและค่าตอบแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 

           1. ประธานสภาผู้แทนราษฎร  

           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 75,590 บาท 
           เงินเพิ่มเดือนละ 50,000 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 125,590 บาท    
           
           2. รองประธานสภาผู้แทนราษฎร 

           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท 
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท 

           3. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท 
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท 

           4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท 
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท 

 

Sponsored Ad

 

เงินเดือนและค่าตอบแทนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 

           1. ประธานวุฒิสภา 
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 74,420 บาท 
           เงินเพิ่ม 45,500 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 119,920 บาท

        
   2. รองประธานวุฒิสภา 
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท 
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท 

           3. สมาชิกวุฒิสภา 
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท 
           เงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท    

ตำแหน่งข้าราชการการเมืองที่สำคัญ 

           1. นายกรัฐมนตรี 
           อัตราเงินเดือน 75,590 บาท 
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 50,000 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 125,590 บาท     

           2. รองนายกรัฐมนตรี 
           อัตราเงินเดือน 74,420 บาท 
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 45,500 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 119,920 บาท 

           3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง / รัฐมนตรีประจำสำนักนายก 

           อัตราเงินเดือน 73,240 บาท 
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 42,500 บาท 
           รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท 

           4. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง 
           อัตราเงินเดือน 72,060 บาท 
           เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 41,500 บาท  
           รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท  

    ทั้งนี้ ข้าราชการการเมืองที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ถ้าได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาดังกล่าวแล้ว จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการการเมืองอีก
    นอกจากเงินประจำที่ได้รับทุกเดือนแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และข้าราชการการเมืองต่าง ๆ ยังได้มีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ สิทธิเบิกค่าใช้จ่ายการเดินทาง สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเบี้ยประชุม โดยถ้าเป็นประธานประชุมกรรมาธิการได้ครั้งละ 1,500 บาท หากร่วมประชุมกรรมาธิการได้ครั้งละ 1,200 บาท ส่วนประชุมอนุกรรมาธิการได้ครั้งละ 800 บาท 

ข้อมูลและภาพจาก kapooksanook

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ