นักวิทย์ ค้นพบวิธีย่อยสลายพลาสติกแบบใหม่ ใช้เวลาเพียงแค่ 6 วัน ด้วยแสงอาทิตย์

LIEKR:

สุดยอดไปเลยค่ะ

        อย่างที่ทราบกันดีว่าในขณะที่โลกของเรากำลังตื่นตัวกันในเรื่องของการลดใช้พลาสติกกันมากขึ้น 

        โดยหน่วยงานต่าง ๆ ต่างก็คิดค้นหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อช่วยกันลดการใช้พลาสติกให้น้อยลง รวมไปถึงแนวทางในการกำจัดขยะพลาสติกเหล่านี้ด้วย

 

Sponsored Ad

 

        และเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง ประเทศสิงคโปร์ ได้ออกมาแถลงข่าวการค้นพบวิธีย่อยสลายพลาสติกเหล่านี้ให้สั้นลงมากกว่าเดิม

        เมื่อไม่นานมานี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง ได้แถลงข่าว โดยระบุว่าวิธีการดังกล่าวสามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกที่ย่อยสลายเองไม่ได้ให้กลายมาเป็นสารเคมีสร้างประโยชน์ได้ด้วยการใช้แสงอาทิตย์

 

Sponsored Ad

 

        ศาสตราจารย์ Soo Han Sen พร้อมกับทีมนักวิทยาศาสตร์ลงแรงวิจัยกันนานกว่า 2 ปี อาศัยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อละลายพลาสติกในตัวทำละลาย ซึ่งเป็นวิธีแรกของโลกที่สามารถย่อยสลายพลาสติกภายในระยะเวลาเพียงแค่ 6 วัน จากที่เคยได้ยินกันมาว่าหากจะย่อยสลายเองได้จะต้องใช้เวลานานหลายร้อยปี ในขณะที่วิธีการเผาขยะพลาสติกเองก็จะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เนื่องจากสารเคมีจากพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศโลก

 

Sponsored Ad

 

        วิธีนี้ไม่ใช่การเผาหรือการฝังลงดิน จะช่วยลดการเผาขยะพลาสติก ลดปัญหาขยะพลาสติกลงสู่ท้องทะเล อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นที่บ่อขยะให้สามารถใช้งานได้นานขึ้นอีกด้วย

        โดยก่อนหน้านี้มีนักวิจัยหลายทีมพยายามที่จะทำลายพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตด้วยแสงอาทิตย์มาแล้ว (ชนิดที่ใช้ในขวดพลาสติก) แต่ส่วนใหญ่จะต้องใช้สารพิษโลหะหนักเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา แถมยังใช้เวลาย่อยสลายนานกว่า 6 วันอีกต่างหาก แต่ด้วยเทคนิคใหม่นี้จะใช้เวลาแค่ 6 วันเท่านั้น แถมเป็นการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาวานาเดียมราคาไม่แพงและไม่เป็นพิษด้วย

 

Sponsored Ad

 

        อย่างไรก็ตาม วิธีนี้สามารถใช้ย่อยสลายพลาสติกที่ไม่ใช่พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตเท่านั้น อย่างเช่นพวกโฟมหรือถุงพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ในส่วนของวิธีการย่อยสลาย ทีมของศาสตราจารย์ Soo อาศัยพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์เป็นตัวทำปฏิกิริยา ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกแทนที่จะเผาขยะพลาสติกประเภทนี้

        แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนพลาสติกให้กลายเป็นกรดฟอร์มิก ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นสารกันบูดหรือสารในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดได้อีก นอกจากนั้นแล้วยังสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงได้ ในยานพาหนะไฟฟ้าจำพวกรถเมล์หรือรถไฟต่าง ๆ

 

Sponsored Ad

 

        เบื้องต้นนี้วิธีการดังกล่าวสามารถย่อยสลายพลาสติกประเภท non-PET ได้ 100% ทางทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังขยายขอบเขตงานวิจัยให้มากขึ้น เนื่องจากวิธีนี้ยังห่างไกลกับการที่จะนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

        โดยพวกเขาหวังว่าจะสามารถนำเทคโนยีเดียวกันนี้ ไปใช้ย่อยสลายพลาสติกชนิดอื่น ๆ ได้ เน้นหวังผลที่ใช้พลังงานสะอาดและเร่งปฏิกิริยาย่อยสลายให้เร็วมากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก ntu.edu, phys, mothership, catdumb

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ