เพจหมอเวร ทำภาพเปรียบเทียบ "สายตาปกติ-สายตามีปัญหา" สุดชัดเจน ได้สาระเต็มๆ

LIEKR:

"เพจหมอเวร" ทำภาพเปรียบเทียบ "สายตาปกติ-สายตามีปัญหา" ได้สาระสุดๆ แถมทำเอาชาวเน็ตหลงรัก

    แต่ละคนมีปัญหาสายตาไม่เหมือนกัน คนที่มีสายตาปกติหลายคนก็คงเคยสงสัยว่า การที่สายตาไม่ปกตินั้นมันเป็นอย่างไร ถึงแม้จะถามจากเพื่อนที่ใส่แว่นก็แล้ว หรือนำแว่นของเพื่อนมาใส่ก็แล้ว มันก็ยังไม่เห็นภาพอยู่ดี

    นั่นทำให้เพจเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า หมอเวร ได้ทำการไขข้อสงสัยนี้ด้วยการทำภาพ นำภาพของคนสายตาปกติมาเทียบกับอาการไม่ปกติของสายตา พร้อมกับอธิบายอาการ ซึ่งบอกได้เลยว่าได้สาระกันไปเต็มๆ แต่นอกจากสาระที่เพจนำเสนอแล้ว สิ่งที่หลายคนเลือกกดเข้ามาอ่านคงจะหนีไม่พ้น “ภาพ” ที่ทางเพจได้ใช้พยาบาลสุดน่ารักจาก โรงพยาบาลสินแพทย์ มาเป็นนางแบบ ที่ดูแล้วสบายตาและดีต่อใจสุดๆ 

 

Sponsored Ad

 

    1. สายตาสั้น

    “สายตาสั้นก็จะมีการมองเห็นที่แตกต่างกันนะ ถ้าสั้นมากภาพอาจจะเบลอทั้งหน้าจอเลย แต่ถ้าสั้นไม่เยอะมาก ก็จะเห็นประมาณในรูปนี้แหละเวลามองใกล้ๆ จะชัดแต่มองไกลๆ จะเบลอ”

 

Sponsored Ad

 

    2. สายตายาว

    “อันนี้ก็ตรงข้ามกับสายตาสั้นนี่แหละ มองภาพระยะใกล้ๆ ไม่ชัด แต่มองไกลกลับชัดเจนดี”

    3. ตาเหล่ (ตาเข)

 

Sponsored Ad

 

    “คนที่มีอาการตาเหล่หรือตาเข ถ้าช่วงตายังปรับตัวไม่ได้จะมองเห็นเป็นภาพซ้อนหรือเบลอๆ แต่พอนานไปสมองจะปรับตัว ค่อยๆ ตัดการรับสัญญาณของตาที่ผิดปกติออก”

    “ทำให้ตาข้างที่เบี้ยวมองไม่เห็น และใช้การมองหลักๆจากตาอีกข้างที่ปกติแทน ทำให้การมองเห็นจึงชัดเจนมากขึ้น (แต่อาจกะระยะได้ไม่ค่อยดีนัก)”

    “คนตาเหล่หรือตาเขบางประเภท อาจมีการผิดปกติแค่การมองเห็นทางลักษณะภายนอกเท่านั้น แต่การมองเห็นของคนไข้อาจจะชัดเจนตามปกติได้ด้วย”

    4. สายตาเอียง

 

Sponsored Ad

 

    “คนที่สายตาเอียงนี่บางรายใกล้ก็ไม่ชัด/ไกลก็ไม่ชัด ทำให้ภาพที่มองเห็นอาจเบลอทั้งหมดแบบในรูปนี้ หรือบางรายอาจเห็นภาพซ้อนกันเล็กๆ เหมือนกรณีคนตาเขก็ได้”

    “ทั้งนี้บางรายที่มีอาการสายตา อาจมีสายตาสั้นหรือสายตายาวแฝงร่วมด้วย ทำให้การมองเห็นยิ่งแย่ลงไปอีกนั่นเอง”

    5. ต้อหิน (นานจนประสาทตามีปัญหา)

 

Sponsored Ad

 

    “คนที่เป็นต้อหินมักมีปัจจัยเสี่ยงจากหลายๆ สาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นต้อหินมาก่อน รวมถึงอาจเกิดจากมีความดันลูกในตาสูง เป็นต้น”

    “การมองเห็นของคนเป็นต้อกรณีทิ้งไว้นาน มักจะมองเห็นชัดแต่บริเวณกึ่งกลางของภาพนั่นเอง”

    6. ตามัวจากต้อกระจก

 

Sponsored Ad

 

    “การมองเห็นของคนเป็นต้อกระจก มักจะเห็นเป็นภาพขุ่นมัว บางรายอาจมีอาการตาแพ้แสงจ้าควบคู่กันด้วย เห็นได้ชัดจากเวลาขับรถกลางคืน ตาของคนกลุ่มนี้จะสู้แสงไฟรถที่สวนมาไม่ได้เลยนั่นเอง”

    7. ประสาทตาลอกในเบาหวาน

Sponsored Ad

    “หลายคนคงได้ยินกันบ่อยๆ กับคำว่า “เบาหวานขึ้นตา” นั่นแหละคือการของคนเป็นเลย เบื้องต้นอาจจะเริ่มมีอาการตามัวลง บางรายหากมีการปริแตกของเส้นเลือดในตา ก็ทำให้มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา จนทำให้เห็นเป็นจุดดำลอยฟุ้งกระจายในดวงตาได้”

    “วิธีสังเกตง่ายๆ ของคนเป็นโรคนี้คือ เวลามองท้องฟ้าจะเห็นเส้นตัวหนอนดำๆ นี้วิ่งอยู่ทั่วหน้าจอภาพเลย และตัวหนอนนี้จะคอยวิ่งตามการกรอกตาอยู่ตลอดเวลา”

    “แต่ทั้งนี้ใช่ว่าจะต้องเป็นเบาหวานกันทุกคนหรอกนะ บางคนใช้สายตามากๆ จากการอ่านหนังสือ หรือการมองจอนานๆ ก็อาจจะมีเส้นตัวหนอนวิ่งขึ้นมาได้บ้าง อันนั้นอาจเป็นแค่อาการวุ้นลูกตามีปัญหาเฉยๆ ก็ได้ ไม่ถึงกับเป็นเบาหวานหรอกนะ”

    8. ตาบอดสี

    “อาการตาบอดสีจริงๆ แล้วมีหลายประเภท (แต่อันนี้แค่ยกตัวอย่างมาให้ดู เป็นหนึ่งในอาการตาบอดสีชนิดรุนแรงนะ) ปกติแล้วเราจะจำแนกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน”

    1.แบบ Anomalous Trichromacy  ประเภทนี้จะมีการรับรู้สีที่ผิดเพี้ยนไป กรณีนี้จะแยกย่อยเป็นอีก 3 แบบคือ 

    A. มองเห็นสีเขียวไม่ชัด อาการคือแยกแยะสีแดง สีเขียว สีน้ำตาล สีส้ม และสีเหลืองไม่ออก
    B. มองเห็นสีเขียวกับแดงเป็นสีเดียวกัน รวมถึงมองเห็นสีน้ำเงินและม่วงเป็นสีเดียวกันด้วย
    C. มองเห็นสีเหล่านี้เป็นสีเดียวกัน สีน้ำเงิน-เหลือง, ม่วง-แดง, เขียว-น้ำเงิน และผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมองเห็นโลกทั่วไปเป็นสีแดง ชมพู ดำ ขาว เทา เขียวขุ่นด้วย


    2. แบบ Dichromacy ประเภทนี้จะมีการรับรู้สีแบบสีใดสีหนึ่งหายไปเลย แบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน”

    “A. มองเห็นสีแดง = สีดำ,
    มองเห็นสีเขียวเข้ม / ส้มเข้ม / แดงเข้ม = สีน้ำตาลเข้ม
    มองเห็นสีแดง / ม่วง / ชมพูเข้ม = สีน้ำเงิน
    มองเห็นสีส้ม = สีเขียว”

    “B. มองเห็นสีชมพู / เทา = สีเขียวอมฟ้า
    มองเห็นสีส้มเข้ม / แดงเข้ม = สีน้ำตาลเข้ม
    มองเห็นสีแสง / ชมพูเข้ม / ม่วง = สีน้ำเงิน
    มองเห็นสีส้ม = สีเขียว”


    3. แบบ Monochromacy

    กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่ตาไม่สามารถเห็นสีใดๆ ได้เลย นอกจากสีขาว – เทา – ดำ ถือเป็นกลุ่มที่ภาวะตาบอดสีรุนแรงที่สุดหน่ะนะ”

    9. และอาการสุดท้าย “ความรักบังตา”

    “อาการของผู้ป่วยคือ เวลาไม่อยากเห็นสิ่งใด เขาก็จะมองข้ามสิ่งนั้นไปอัตโนมัติ…ซึ่งอันนี้ไม่ได้เป็นปัญหาที่สายตา แต่เป็นที่นิสัยส่วนตัว”

โพสต์ต้นทางจากเพจ หมอเวร

     เท่านี้หลายคนก็คงหายสงสัยแล้วว่ามุมมองของคนมีอาการผิดปกติทางสายตานั้นเป็นอย่างไรแล้วค่ะ

ที่มา : หมอเวร

บทความที่คุณอาจสนใจ