มีคนถาม "หลวงปู่มั่น" ว่า ท่านถือศีลเพียงข้อเดียวใช่ไหม? ท่านตอบว่า "ใช่" พร้อมเผยเหตุผลที่ต้องกราบสาธุ!

LIEKR:

จริงดังที่ท่านว่าไว้ค่ะ...

        ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์ ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องมีศีลห้าบริบูรณ์ ศีลห้าจึงเป็นศีลของมนุษย์ มีคำถามถามว่า “มีใครรักษาศีลห้าได้ครบถ้วนตลอดชีวิตบ้าง?” โปรดยกมือขึ้น จะเห็นได้ว่าไม่มีคนยกมือ นี่ก็แสดงว่าลำพังแต่ศีลเพียงห้าข้อก็รักษากันไว้ไม่ได้เสียแล้ว!

        พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ให้รักษาใจตัวเดียว ดังในสมัยพุทธกาล ภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๕๐๐ รูปผู้บวชใหม่ เมื่อบวชแล้วได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพื่อขอลาสิกขา โดยกล่าวว่า ศีลของภิกษุมากเหลือเกิน ปฏิบัติไม่ไหว จึงขอลาสิกขา พระพุทธองค์จึงให้ภิกษุรูปนั้นรักษาศีลเพียงข้อเดียว คือให้รักษาใจ พระภิกษุรูปนั้นจึงรับถือศีลข้อเดียวจนได้สำเร็จอริยบุคคล

 

Sponsored Ad

 

        หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตอบคำถามที่ว่า “ทราบว่าท่านรักษาศีลเพียงข้อเดียว มิได้รักษาทั้ง ๒๒๗ ข้อ เหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่ไหม?”

        หลวงปู่ฯ ตอบว่า “ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว คือใจ อาตมารักษาใจ ไม่ให้คิดพูดทำในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่ทรงบัญญัติไว้จะเป็น๒๒๗ ข้อ หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อทรงบัญญัติห้าม อาตมาก็ใจเย็นว่าตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗ หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิด จะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกาย วาจา อย่างเข้มงวดกวดขันมาตลอด นับแต่เริ่มอุปสมบท ฯลฯ”

 

Sponsored Ad

 

        ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างใจถึงก่อน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ!!!!……

        -ใจดี ทุกอย่างดีตามไปทั้งหมด!!!!

        -ใจชั่ว ทุกอย่างชั่วตามไปหมดเหมือนกัน!!!!

        ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราเป็นผู้กำหนดในปัจจุบัน อดีต อนาคตไม่ต้องสนใจ เพราะอะไร?

        เพราะอดีตและอนาคต ก็คือ ผลจากปัจจุบัน นั่นเอง!!!!!

        กลิ่นศีลหอมทวนลม หอมกลิ่นดอกไม้ที่ นับถือ

 

Sponsored Ad

 

        หอมแต่ตามลมลือ กลับย้อนหอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ ศีลสัตย์ นี้นา

        หอมสุดหอมสะท้อน ทั่วใกล้ไกลถึง

        ทำอย่างไรจึงจะรักษาศีล ๕ ตลอดชีวิตได้?

        การรักษาศีล คือ การมีเจตนางดเว้นจากการทำความชั่ว ดังคำพุทธพจน์รับรองว่า “เจตนาหัง ภิกขะเว สีลัง วะทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นนั่นแหละคือ ศีล”

 

Sponsored Ad

 

        การงดเว้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ

        ๑. สมาทานวิรัติ คือ การงดเว้นด้วยการสมาทาน เช่น สมาทานศีลกับพระ

        ๒. สัมปัตตวิรัติ คือ การงดเว้นเมื่อมีเหตุบังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าแม้ไม่สมาทาน แต่เมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่จะผิดศีลและตั้งใจงดเว้นขึ้นในขณะนั้น ถือว่าเป็นศีลเพราะตั้งใจงดเว้นเอาเอง

        ๓. สมุจเฉทวิรัติ คือ การงดเว้นโดยเด็ดขาด นั่นคือศีลของพระอริยะบุคคลซึ่งเป็นโลกุตตระศีล เป็นศีลขั้นสูง เช่น พระโสดาบันรักษาสิกขาบท๕ หรือศีล ๕ นี้ได้ตลอดชีวิต เป็นศีลที่รักษาได้โดยอัตโนมัติคืองดเว้นโดยเด็ดขาด โดยไม่ต้องสมาทานและไม่ต้องตั้งเจตนา

 

Sponsored Ad

 

        ศีลนี้ หากใครรักษาดีแล้ว ย่อมอำนวยประโยชน์แก่ผู้นั้นมากมายเป็นประโยชน์ในชาตินี้ คือ มีความเย็นใจไม่เดือดร้อนเพราะเป็นผู้มีศีล ประโยชน์ในชาติหน้า

        พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงสรุปผลของศีลไว้ ๓ ประการว่า

        -สีเลนะสุคะติง ยันติ บุคคลจะไปสู่สุคติได้ก็เพราะศีล

        -สีเลนะโภคะ สัมปะทา บุคคลจะมีโภคะได้ก็เพราะศีล

        -สีเลนะ นิพพุติง ยันติบุคคลจะบรรลุพระนิพพานได้ก็เพราะศีล

        ธรรมเทศนา โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 


ข้อมูลและภาพจาก siamnews

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ