เปิดชีวิต "3 หญิงไทย" ใน 3 ประเทศ ที่ผันตัวเองเป็น "แม่บ้านฝรั่ง" ทำยูทูปจนมีผู้ติดตามล้นหลาม

LIEKR:

ชีวิตแม่บ้านไทยในต่างแดน..

        ความเป็นอยู่ของคนไทยในต่างแดนมักเป็นที่สนใจของคนไทยในประเทศและในโลกออนไลน์ แต่ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารของคนไกลบ้านทำได้สะดวกขึ้น หญิงไทยเหล่านี้ได้ผันตัวเอง มาเป็น "ยูทิวบ์เบอร์" เล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวในต่างแดน ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวัน การปรับตัว การทำอาหาร การปลูกผักสวนครัว ไปจนถึงการสอนภาษา

        เบื้องหลังวิดีโอต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ถูกอกถูกใจนั้น ล้วนมีที่มาที่ไป และเหตุผลในการเป็นยูทิวบ์เบอร์ที่ต่างกัน แต่ความรู้สึกที่จับต้องได้จากสิ่งที่พวกเธอสะท้อนออกมาคือ "ความสุข" ที่หาได้ หากไม่หยุดพัฒนาตัวเอง

 

Sponsored Ad

 

        เปิดประสบการณ์ 3 หญิงไทยใน 3 ประเทศ ที่ผันตัวเองเป็น "แม่บ้านยูทิวบ์" จนมีผู้ติดตามล้นหลาม

"กินไปไทยหรั่ง" จุดเริ่มต้นของยายนาง

 

Sponsored Ad

 

        คนทั่วไปคงรู้สึกเขินอายหากมีคนมานั่งจ้องเวลากินอาหาร แต่หากคนกินมองไม่เห็นคนดูเหล่านั้นมีเพียงอีกฝ่ายที่ได้แต่มอง แต่สัมผัสไม่ได้ล่ะ

        สาวชาวอเมริกันผู้ทำเงินล้านจากโชว์กินจุทางยูทิวบ์

        หนูน้อยยูทิวบ์เบอร์วัย 7 ขวบ รีวิวของเล่น ทำเงินกว่า 700 ล้านบาท กวาดรายได้สูงสุดบนยูทิวบ์ปีนี้

        zbing z. ทำความรู้จักเกมแคสเตอร์ที่มีผู้ติดตามกว่า 6 ล้านคน

        วิดีโอในช่องยูทิวบ์ กินไปไทยหรั่ง ตอนที่ "ยายนาง" ชวนลูกสาวลูกชายมานั่งกินส้มตำปูสด กับเนื้ออบ ที่โพสต์มาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้มีคนดูกว่า 2.2 ล้านคน แต่นั่นก็ไม่เท่ากับตอนที่เธอโชว์วิธีกะเทาะเปลือกหอยนางรมยักษ์และนั่งกินกับเครื่องเคียงและส้มตำแซ่บ ๆ มีคนดู 3 ล้านกว่าคน แม้จะเพิ่งโพสต์ไปเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้เอง

 

Sponsored Ad

 

        คลิปนั้น ยายนางหรือจันทร์เพ็ญ ค็อบบอก รู้สึกเผ็ดจนซี๊ดปาก เชื่อว่าคนนับล้านที่นั่งดูคงน้ำลายสอพอกัน

กินไปไทยหรั่งกินไปไทยหรั่ง

        จันทร์เพ็ญ เกิดที่ขอนแก่น โตที่อุดรธานี และตามครอบครัวไปอยู่ที่พัทยา ด้วยมุมมองการใช้ชีวิตที่ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ทำให้แม่บ้านธรรมดาอย่างเธอ กลายเป็นบุคคลที่มีผู้ติดตามทางเฟซบุ๊กกว่า 1 ล้านคน

        ในปี 2539 ยายนางพบรักกับสามีชาวเดนมาร์กและย้ายไปอยู่ที่นั่น ก่อนหน้านั้นเธอมีลูกชายกับสามีเก่าชาวไทยที่เสียชีวิตไปแล้วด้วยโรคมะเร็งสมอง

 

Sponsored Ad

 

        ตอนย้ายมาเดนมาร์กใหม่ ๆ ยายนางต้องเรียนภาษาตามข้อกำหนดของรัฐบาล แต่เธอยังเลือกสอบเทียบเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษา ม.3 ของที่นั่น เวลานั้นเธอตั้งท้องลูกสาวด้วย

        มีเขยฝรั่ง ใช่ตกถังข้าวสารเสมอ

        หมู่เกาะแฟโร เกาะสวรรค์ของเจ้าสาวจากแดนไกล

        การเรียนภาษาที่ใช้เวลา 2-3 ปี กับภาระเลี้ยงดูลูกสาว ทำให้ยายนางไม่มีเวลาหารายได้ด้วยตัวเอง ขณะที่ยังต้องจุนเจือครอบครัวทางเมืองไทยและลูกจากสามีคนแรก บวกกับความไม่เข้าใจกันในเรื่องวัฒนธรรม ทำให้ชีวิตคู่ของเธอกับสามีจึงต้องจบลงหลังอยู่กันได้เพียง 3 ปี

 

Sponsored Ad

 

"ยายนาง" จากคลิป "กลับไทยไปไหว้แม่"

ขวนขวายเพื่อสร้างอนาคตใหม่

        ก่อนย้ายไปเดนมาร์ก ยายนางประสบอุบัติเหตุร้ายแรงทำให้กระดูกคอกระทบกระเทือนอย่างหนัก จนทำงานหนักไม่ได้เหมือนปกติ หน่วยงานจัดหางานที่นั่นรับรู้ข้อจำกัดนี้

 

Sponsored Ad

 

        "ปัญหาสุขภาพของยายนี่แหละ ทำให้ได้ไปฝึกงานในหลายที่ ไปเริ่มต้นใหม่ตลอดเวลา ได้รู้จักคนนั้นคนนี้ เลยทำให้ยายไม่กลัวคน ไม่อาย กล้าพูด เลยมีส่วนผลักดันให้เรามีทุกวันนี้"

        ความเป็นคนใฝ่รู้ ยายนางไปเรียนเป็นผู้ช่วยนักโภชนาการนาน 2 ปี แต่เพราะปัญหาสุขภาพทำให้ไม่มีโอกาสทำงานในโรงครัวของโรงพยาบาลหรือโรงเรียนได้อย่างที่หวัง

        หลายปีผ่านไป ยายนางพบรักอีกครั้งกับสามีที่เป็นนักโปรแกรมเมอร์ชาวเดนมาร์ก

"ยายนาง" และสามีชาวเดนมาร์ก

Sponsored Ad

        ฟุกกี้ สาวไทยแถวหน้าแห่งวงการ Influencer marketing สวีเดน

        ได้คุ้มเสียไหม เมื่อยูทิวเบอร์สายห่ามคิดโชว์อะไรแผลง ๆ

จุดเริ่มต้นของการเป็นยูทิวบ์เบอร์

        เมื่อกลับมาเป็นแม่บ้านเต็มตัว ยูทิวบ์ไม่เพียงเป็นเพื่อนคลายเหงา โดยเฉพาะช่องทำอาหาร แต่กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เธอเปิดวิดีโอตัวแรกเมื่อปี 2558

        "ช่วงว่างงานนี่แหละที่ทำให้ได้หันมาดูยูทิวบ์ เห็นคนทำอาหารหลาย ๆ คน เช่น แม่แหม่ม (เจ้าของช่องยูทิวบ์)ที่ญี่ปุ่น เห็นเขาเป็นคนไทย เราก็น่าจะทำได้เหมือนกัน มีสิ่งที่อยากบอกเหมือนกัน แต่ไม่เคยรู้ว่ายูทิวบ์ได้เงิน (หัวเราะ)"

        วิดีโอของยายนางจะเน้นพูดคุยในสิ่งที่ถนัด อย่างการประยุกต์วัตถุดิบเพื่อปรุงอาหารไทยในต่างแดน การทานอาหารพร้อมพูดคุยเรื่องทั่วไป การพาชมบรรยากาศของเดนมาร์ก ไปจนถึงวิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ

        ช่องยูทิวบ์ "กินไปไทยหรั่ง" จะมีการสอนทำอาหารและการกินอาหารไทยและต่างชาติหลากหลาย พร้อมทั้งคำบรรยายภาษาอังกฤษด้วย

        "เรียนรู้มาจากฝรั่งคนหนึ่งว่าถ้าอยากให้โลกจำ คุณต้องทำอะไรก็ได้ที่ไม่เหมือนคนอื่น บอกตัวตนเราให้ดูฉันว่าฉันอยู่นี่นะ แล้วหลังจากนั้นคอนเทนต์อื่น ๆ ค่อยตามมา ก็เลยกินก๋วยเตี๋ยวชามยักษ์ โลกก็เลยจำเลยค่ะ (หัวเราะ)"

        ยายนางเริ่มฝึกฝนการตัดต่อแบบง่าย ๆ ศึกษาระบบเสียงเพื่อเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม เรียนรู้จากช่องที่ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันเธอใช้กล้องดิจิตอลถ่ายคลิปเพื่อให้คนดูได้ชมวิดีโอที่กระชับ และมีคุณภาพ จากเดิมที่ถ่ายทำด้วยกล้องโทรศัพท์

        "ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบแล้วจะทำได้ทุกวัน ให้ความรู้ ไม่ต้องคิดว่าทำคลิปแล้วจะต้องได้เงินเท่านั้นเท่านี้ ให้คิดว่าคนดูได้อะไรดี ๆ จากเรา แล้วเงินก็จะตามมาเอง"

        "พี่ติ๋ว" เล่าว่าจุดเด่นของช่องยูทิวบ์ "สาวกาฬสินธุ์ คือ นอกจากการทำอาหารและกินโชว์แล้ว ยังพาไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ด้วย

พี่ติ๋ว สาวกาฬสินธุ์ ช่อง "kalasingirl"

        "สวัสดีค่า สวัสดีค่า สวัสดีพี่น้องป้องปาย" "พี่ติ๋ว" สำราญ ภูลายยาว (แบ็คโทล) เจ้าของช่องยูทิวบ์ Kalasingirl หรือ สาวกาฬสินธุ์ ทักทายแฟน ๆ ด้วยถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความหมาย "เปรียบเหมือนต้นไผ่ลำหนึ่งที่มีต้นจรดปลาย คล้ายกับว่าเราสวัสดีตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่"

        หากพูดถึงยูทิวบ์ถือได้ว่าพี่ติ๋วยังเป็นน้องใหม่ มีผู้ติดตามเพียงกว่าหมื่นคน แต่ในเพจทางเฟซบุ๊กที่ชื่อสาวกาฬสินธุ์พลัดถิ่นไกลบ้าน พี่ติ๋วถือว่าไม่น้อยหน้า มีคนติดตามเกือบ 5 แสนคน คลิป "ทำ" และ "ทาน" อาหารของเธอมีคนแชร์และแสดงความเห็นหลายพันครั้งในแต่ละโพสต์

        ก่อนพบรักกับบรูโน่ สามีคนปัจจุบัน ที่กลายมาเป็นกำลังสำคัญและนำพี่ติ๋วเข้าสู่โลกโซเชียลมีเดีย เธอเคยผ่านการมีครอบครัวกับสามีชาวไทยและสวิส และมีลูกสองคน ปัจจุบันมีลูกสาวกับบรูโน่หนึ่งคน ที่เอฟซีของเธอได้เห็นหน้าอยู่เป็นประจำ

        "บรูโน่" สามีของ "พี่ติ๋ว" ซึ่งเป็นผู้จุดประกายให้เธอทำช่องยูทิวบ์ เขายังสามารถพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว

เพราะเหงาจึงเข้าครัว

        พี่ติ๋วอาศัยอยู่ที่กรุงเบิร์น เคยทำงานทั้งในสวนสัตว์ และร้านอาหารไทยที่เธอไม่ใช่เชฟของร้าน แม้ฝีมือ ทำอาหารไม่เป็นรองใคร โดยเฉพาะอาหารไทยที่ได้เรียนรู้จากแม่ของอดีตสามีชาวไทย แต่อาหารที่เธอทำโชว์ทางโซเชียลฯ เป็นอาหารถิ่นบ้านเกิดเป็นส่วนใหญ่

        "พี่ติ๋วมีเพื่อนเยอะมาก และจัดปาร์ตี้ทุกอาทิตย์ เล็บไม่เคยได้งอกเพราะมัวแต่ทำกับข้าว น้อง ๆ ที่รู้จักบอกว่าทำไปเพื่ออะไรไม่สงสารแฟนเหรอ มัวแต่ปาร์ตี้ เลยบอกบรูโน่ว่าจะทำตัวใหม่ ไม่ทำเหมือนเดิมแล้ว"

        หากคนเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง แต่ขาด "แรงสนับสนุน" ของคนในครอบครัวก็ดูจะเป็นเรื่องยาก แต่บรูโน่ช่วยเหลือเต็มที่และเริ่มเปิดเพจสาวกาฬสินธุ์ฯ ให้ทางเฟซบุ๊ก

        บรูโน่บอกบีบีซีไทยว่าเห็นภรรยามีความสุขก็ดีใจ เพราะลูก ๆ ต่างมีกิจกรรมของตัวเอง การทำคลิปเผยแพร่ทางเฟซบุ๊กและยูทิวบ์ ทำให้พี่ติ๋วคลายเหงา ส่วนเขาก็รับหน้าที่ผู้จัดการส่วนตัวและเป็นแอดมินให้กับเพจ

        เนื้อหาในคลิปวิดีโอที่พี่ติ๋วและสามีต้องการถ่ายทอดเป็นเรื่องการใช้ชีวิตในต่างแดนทั้งการกิน การอยู่ และยังพาไปชมสถานที่ท่องเที่ยว ที่หลายคนอาจไม่มีโอกาสได้ไปด้วยตัวเอง

ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับการพัฒนา

        "แต่พี่รู้สึกว่าการทำวิดีโอกับข้าวลงไม่มากเท่ากับไลฟ์สดกิน คนดูเยอะมาก เหมือนเราได้คุยกับเขาไง เขาถามมาตอบไป" แต่บางเมนูที่ทำก็มีเสียงตอบรับล้นหลาม "ขนมจีนน้ำยาป่าตกใจ แชร์กันเท่าไหร่ มันเยอะมาก ทำแหนมค่ะมีคนดูสี่ล้านกว่า สี่พันห้าพันแชร์ ข้าวมันไก่ แล้ววันนี้บรูโน่ลงคลิปน้ำเงี้ยว คือเมนูเราไม่ซ้ำซาก เหมือนเรากินกับข้าวเราเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เราเอาเมนูนั้นลง ไม่ซ้ำซาก"

        นี่น่าจะเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับความสำเร็จ ของการผลิตเนื้อหาในโลกออนไลน์ ที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ผลิตกับผู้ชม มากกว่า "พูดให้ฟัง" คือ "ฟังเขาพูด" โดยหลาย ๆ วิดีโอของพี่ติ๋วก็เกิดจากคำแนะนำของผู้ชมว่าอยากเห็นอะไร

        "พี่คิดว่าคนเอเชียชอบแบบนี้ (กินให้ดู) มีไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น อินโดฯ มาเลเซีย เยอะมาก เขาชอบดูเรากิน แม้จะไม่เข้าใจว่าเราทำอาหารอะไร แต่บรูโน่จะคอยบอกว่าสิ่งที่กินคืออะไร พี่ไม่เก่งอังกฤษ ตอบได้นิดหน่อย แต่อ่านลึก ๆ ไม่ได้ ภาษาเยอรมันพอได้ พูดผิดบรูโน่ก็ชอบเบรกภรรยา"

        เมื่อรับฟังแล้วสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป คือ การพัฒนาตัวเอง พี่ติ๋วให้ความสำคัญกับการดูผลงานของคนอื่น ๆ เพื่อปรับปรุงจุดด้อยของตัวเอง

        "เห็นอย่างคลิปคนไหนกินน่ากลัว เราจะไปดูเมนต์ว่าทำไงให้คนชอบ บางคนบอกว่าไม่ให้เกียรติสามี เป็นจุดขาย นั่นเป็นเรื่องของเขา แต่เรามีลูกครอบครัว ทำแบบนั้นไม่ได้ เราดูคนที่เขาไลฟ์พูดเรื่องอะไรบ้าง เราไม่ได้เลียนแบบมา เราดูเมนต์เอามาปรับปรุงตัวเราอย่างไร"

        เมื่อเริ่มมีชื่อเสียง สิ่งที่จะตามมานอกจากความชื่นชอบของคนดู ก็คือเหล่าเจ้าของสินค้า ที่ต่างสนใจใช้บริการ "รีวิว"

        "มีคนติดต่อมาเยอะมากให้ขายของสิบกว่าเจ้าแต่เราไม่ทำ เขาให้เรารีวิวปลาร้า และครีมต่าง ๆ ขนมแห้ง เส้น น้ำพริกไตปลา สุดท้ายมีปลาร้าสับ"

        แต่พี่ติ๋วเลือกที่จะปฏิเสธทั้งหมด ด้วยมองว่าจะทำให้ทำงานยากขึ้น ทั้งมีข้อจำกัดเรื่องภาษี หากมีการเรียกภาษีการขายย้อนหลังก็จะยิ่งยุ่งยาก สู้ไปคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะผลิตเนื้อหาถูกใจผู้ชมแบบเดิมดีกว่า

        เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งสำคัญที่จะทำให้พี่ติ๋วสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาเอาใจเหล่าเอฟซีได้อย่างไม่รู้จักเหนื่อย ก็คือกำลังใจที่ได้รับตอบแทนกลับมานั้นเอง

        "แฟนคลับทั้งในไทยและสวิตเซอร์แลนด์เยอะมาก คนไทยขอถ่ายรูปเยอะมาก ชวนมานั่งดื่มนิดหน่อยถามไถ่เป็นเพื่อนกันเลย ทุกคนดีใจขอบคุณเรา ไม่มีใครทำให้ดู เป็นความสุขมากที่เราได้รับความขอบคุณมา เราดีใจแล้ว"

"เมียฝรั่งชนบท ยายต๊ะ 555"กับยายต๊ะ

        "สวัสดีจ้า มาแล้วจ้ะมาแล้วจ้ะ" เสียง "ยายต๊ะ"เจื้อยแจ้วผ่านวิดีโอทางยูทิวบ์ส่งตรงจากเยอรมนีถึงแฟน ๆ ในไทยและทั่วโลก

        สุพาน วิคเตอร์ อดีตแม่ค้าขายของในตลาด ชาว อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ เพิ่งรู้จักโลกโซเชียลหลังเปลี่ยนโทรศัพท์เครื่องเก่าเป็น "สมาร์ทโฟน" ที่เธอเริ่มใช้ถ่ายวิดีโอและส่งผ่านไลน์แอปพลิเคชัน จากบ้านที่อยู่ไม่ห่างจากเมืองไลป์ซิกกลับไปให้ครอบครัวที่ศรีสะเกษได้ดู

        "ที่บ้านเมืองไทยเขาให้แลกโทรศัพท์ ได้แบบสมาร์ทโฟนมา และสมัครเน็ตให้ พอกลับมาเยอรมันยายก็ถ่ายคลิปส่งให้ทางบ้านที่ศรีสะเกษดูทางไลน์ แต่ส่งวิดีโอได้นิดเดียว เลยหาทางทำไปมั่ว ๆ จู่ ๆ ไปลงยูทิวบ์ได้ยังไงก็ไม่รู้"

        วันนี้ช่องยูทิวบ์"เมียฝรั่งชนบท ยายต๊ะ 555" มียอดผู้ติดตามกว่า 1 แสน 9 หมื่นคน

        อย่างไรก็ตาม "ความมั่ว" คงไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้ยายต๊ะสามารถครองใจชาวเน็ตได้ถึงเพียงนี้ แต่ "ความเป็นธรรมชาติ"ที่ถ่ายทอดผ่านวิดีโอต่างหาก ที่เอาผู้ชมได้อยู่หมัด

        "มันเป็นชีวิตประจำวันของเรา เข้าสวนเราถ่ายไปให้เอฟซีดู พอยายไปเที่ยวคนไม่ค่อยดู แต่พอเข้าสวนแล้วคนดู"

        วิดีโอชม "สวนผักไทย" ที่ปลูกไว้กินเองที่บ้านแม้จะอยู่ไกลถึงเยอรมนี แต่ยายต๊ะสามารถดึงคนดูให้ไปร่วมเด็ดพริกเก็บผักกับเธอ ทำให้วิดีโอมีกลิ่นอายชนบทไทยแฝงอยู่อย่างมีเสน่ห์

        บางวันเธอจะปูแผ่นพลาสติก นั่งกรอง "แอปเปิ้ลไซเดอร์" จากหม้ออะลูมิเนียม ขณะที่ฉากหลังคือพื้นคอนกรีตและดอกไม้ดอกหญ้า

        "ปัจจุบันทำเองทุกอย่าง ถ่ายลงยูทิวบ์แปะไปเลย เราเอาวิดีโอมาต่อ ๆ กันเป็นอย่างเดียว ไมรู้จักตัด จบแค่ ป.6 ภูมิใจตัวเองที่ทำได้"

        เสียงซื่อ ๆ ของเธออาจช่วยยืนยันได้ว่า คนในโลกออนไลน์ทุกวันนี้อาจพอใจความเป็นธรรมชาติ มากกว่าเทคนิคหวือหวาของการตัดต่อ หรือเนื้อหาสวยหรูที่ถูกปรุงแต่ง

รายได้ของครอบครัว

        "มีเอฟซีถามมา ทำได้เงินไหม โอ๊ยได้เงินอะไร ได้แค่ค่าชาร์จแบต ตอนนี้รายได้ดีกว่าที่คิด ดีกว่าแต่ก่อนไม่มีรายได้อะไรเลย แฟนก็ไม่ใช่เงินเดือนเยอะ แต่เราอยู่แบบพอเพียงสบาย ๆ" ยายต๊ะเล่าข้ามรายละเอียดเรื่องตัวเลขรายได้ไปอย่างขำ ๆ บอกเพียงว่าแต่ละเดือนไม่เท่ากัน

        "ยายเข้าสวนเก็บผักก็ถ่ายคลิปไว้ วันหนึ่งก็เข้าสวนไม่ได้ไปไหน ดีอย่างยูทิวบ์เราถ่ายได้โหลดได้ เวลาเรากินก็ถ่ายได้ ได้เงินต่างหาก มันดีจริง ๆ นะสำหรับคนเก่งจริง ๆ สำหรับยายพอใจทำได้แค่นี้ จะว่าถือเป็นอาชีพก็ได้นะ"


จาก "เอฟซี" สู่ "เพื่อน"

        ก่อนเริ่มชีวิตใหม่กับสามีชาวเยอรมัน ยายต๊ะเคยผ่านชีวิตแต่งงานกับสามีชาวไทย และมีลูกสาวด้วยกันคนหนึ่ง

        ตอนเด็ก ๆ เธอและพี่น้องรวมสามคนล้วนขี้อาย เธอเล่า ยายต๊ะเองไม่เคยมีเพื่อนสนิท แม้มาอยู่เยอรมนีนานถึงสิบปีก็ยังไม่เคยมีเพื่อน แต่หลังจากคนได้เห็นวิดีโอที่เธอโพสต์ทั้งทางเฟซบุ๊กและยูทิวบ์ ความอายกลายเป็นส่วนเกินในชีวิตไปแล้ว

        "เขาจะบอกว่ายายต๊ะใช่ไหม บางทีก็ได้ยินเสียง สวัสดีจ้ะมาแล้วจ้ะ ก็รู้สึกบอกไม่ถูกว่า เรามาถึงขนาดนี้แล้วเหรอ คนไม่เคยไปไหนมาไหน ก่อนยายมาเยอรมันเป็นแม่ค้าขายขนมหวาน (ออก) จากบ้านก็ไปตลาดเท่านั้น อยู่แต่ตรงนั้นไม่ได้ออกไปไหน"

        ทุกวันนี้ยายต๊ะ "ไม่เคยเหงา เราทำให้ทุกข์ก็ทุกข์ ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเอง"

ข้อมูลและภาพ จาก bbcthailand

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ